การประเมินการสัมผัสสารโทลูอีนของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง

ผู้แต่ง

  • อุมากร ธงสันเทียะ

คำสำคัญ:

พนักงานเติมน้ำมัน, พนักงานคิดเงิน, การสัมผัสโทลูอีน, อาการแสดง

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการสัมผัสสารโทลูอีนของพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทำการศึกษาในกลุ่มพนักงานสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงพื้นที่จังหวัดขอนแก่น จำนวน 192 คน เก็บข้อมูลลักษณะทั่วไปการปฏิบัติงาน และข้อมูลด้านอาการแสดงจากการสัมผัสสารโทลูอีนด้วยแบบสัมภาษณ์เก็บตัวอย่างอากาศเพื่อตรวจวัดระดับความเข้มข้นของสารโทลูอีนในบรรยากาศการทำงานและวิเคราะห์ด้วยเครื่อง GC-FID และเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังเลิกงานเพื่อหาระดับกรดฮิบพูริค (hippuric acid) วิเคราะห์ด้วยเครื่อง HPLC-UV ผลการศึกษาพบว่าจากจำนวนพนักงานเติมน้ำมันจำนวน 158 คน (82.29%) และพนักงานคิดเงินจำนวน 34 คน (17.71%) อาการแสดงที่พบมากที่สุดในกลุ่มพนักงานเติมน้ำมัน คือ อาการปวดศีรษะ (48.42%) และพนักงานคิดเงินพบอาการระคายเคืองผิวหนังสูงที่สุด (63.16%) ความเข้มข้นของสารโทลูอีนในบรรยากาศการทำงานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 40.30+66.66 ppb ค่าเฉลี่ยของ hippuric aid เท่ากับ 422.71 + 977.97 mg/g Cr พบว่าพนักงานจำนวน 6 คน (3.13%) มีค่าเกินกว่าค่าดัชนีทางชีวภาพของระดับกรดฮิปพูริค (1600 mg/g Cr) เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่มสัมผัสสารโทลูอีนในบรรยากาศความเข้มข้นน้อยกว่า 50 ppb กับกลุ่มสัมผัสที่ 50 ppb ขึ้นไป พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติของระดับ hippuric acid ในพนักงานคิดเงิน ดังนั้นการสัมผัสสารโทลูอีนในกลุ่มพนักงานคิดเงินมีอาการแสดงที่มีความจำเพาะต่อการสัมผัส ซึ่งสอดคล้องกับการสัมผัสสารโทลูอีนที่ระดับความเข้มข้นสูงขึ้นค่า hippuric acid ในกลุ่มพนักงานคิดเงินที่สูงขึ้นตามไปด้วย จึงควรมีการเฝ้าระวังสุขภาพในกลุ่มพนักงานคิดเงินที่จะต้องนั่งทำงานประจำที่และต้องทำงานในบู๊ทพื้นที่อากาศไม่ถ่ายเท

References

Healthcarethai. โรคพิษโทลูอีน และการป้องกัน. เข้าถึงได้ที่ http://www.healthcarethai.com/โรคพิษโทลูอีน, เข้าถึงเมื่อ 25 เมษายน 2562.

Agency for toxic substances & disease registry. (2015). Public Health Statement for Toluene. Available athttps://www.atsdr.cdc.gov/phs/phs. asp?id=159&tid=29,

accessed Mar 7, 2019.

Tipler, A. The Determination of Benzene and Toluene in Finished Gasoline Containing Ethanol Using the PerkinElmer Clarus 680 GC with Swafer Technology. Perkin-Elmer, Inc. 940 Winter Street Waltham, MA 02451 USA, 2010.

Dossing M, Aelum JB, Hansen SH, Lundovist GR, Andersen NT. Urinary hippuric acid and orthocresol excretion in man during experimental exposure to toluene. Br J Ind Med1983; 40: 470-3.

ACGIH. TLVs and BEIs Based on the Documentation of the Threshold Limit Values for Chemical Substances and Physical Agents & Biological Exposure Indices. Cincinnati, Ohio, USA. 2019.

LofA, Hjelm EW, Colmsjo A, Lundmark B-O, Norstrom A, Sato A. Toxicokinetics of toluene and urinary excretion of hippuric acid after human exposure to 2H8-toluene. Br J Ind Med 1993; 50: 55-9.

Jalai A, Rawezani Z, Ebrahim K. Urinary Trans, Trans-Muconic Acid is not a reliable Biomarker for Low-level Environmental and Occupational Benzene Exposure. SHAW 2017; 8: 220-5.

IARC. 1982. Some industrial chemicals and dyestuffs. IARC Monogr Eval Carcinog Risk Chem Hum, 29: 1–398. PMID: 6957379.

Tunsaringkarn T, Siriwong W, Rungsiyothin A, Nopparatbundit S. Occupational Exposure of Gasoline Station Workers to BTEX Compounds in Bangkok, Thailand. Int J Occup Environ Med2012;3:117-25.

Kasemy SA, Kamel GM, Abdel-Rasoul GM, Ismail AA. Environmental and Health Effects of Benzene Exposure among Egyptian Taxi Drivers. J Environ Public Health2019, Article ID 7078024, 6 pages.

Chimplee T, Taneepanichskul N. Benzene and toluene exposure in relation to their health effects among sky-train station guards in Bangkok, Thailand. J Health Res2015; 29: 177-84.

Decharat S. Hippuric acid levels in paint workers at steel furniture manufacturers in Thailand. SHAW 2014;5(4): 227–33.

Sadegh Hazrati, Roohollah Rostami, Mehdi Fazlzadeh, Farhad Pourfarzi. Benzene, toluene, ethylbenzene and xylene concentrations in atmospheric ambient air of

gasoline and CNG refueling stations. Air Qual. Atmos 2016; 9(4): 403-9.

Hosaini PN, Khan MF, Mustaffa NIH, Amil N, Mohamad N, Jaafar SA, et al. Concentration and source apportionment of volatile organic compounds (VOCs) in the ambient air of Kuala Lumpur, Malaysia. Nat Hazards 2017;85: 437–52. DOI 10.1007/s11069-016-2575-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14