ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ จากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลเมืองวารินชำราบ

ผู้แต่ง

  • สุนทรี ศรีเที่ยง

คำสำคัญ:

ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุ, สาธารณภัย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเชื่อด้านสุขภาพและระดับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเทศบาลเมืองวารินชำราบ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้ Pearson’s Correlation Coefficient ที่ระดับความเชื่อมัน 95% ผลการวิจัย พบว่า เจ้าหน้าที่ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยส่วนใหญ่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ร้อยละ 56.25 จบการศึกษาระดับอนุปริญญา / ปวส. ร้อยละ 59.38 มีสถานภาพสมรส ร้อยละ 71.88 และทำงานมากกว่า 5 ปีขึ้นไป ร้อยละ 78.13 ระดับความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับเชื่อมาก ( X = 2.63, S.D = 0.51) ระดับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( X = 2.42, S.D = 0.62) และพบว่าระดับการศึกษามีความพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.521, p-value = 0.002)

References

วัฒกานต์ ลาภสาร. วิทยาการสาธารณภัย. [อินเทอร์เน็ต]. 2557 [เข้าถึงเมื่อ 2 ก.พ. 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://msjo.net/categoryblog/244-ser.html

Malki, A.L. and Saedy, M. H. Effect of fire smoke on some biochemical parameters in firefighters of Saudi Arabia.J Occup Med Toxicol2008; Available at https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2615434/, accessed Dec 11, 2018. 3. วัชระ ปานชื่น. ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานของอาสาสมัครมูลนิธิร่วมกตัญญูในเขตกรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม; [อินเทอร์เน็ต]. 2552. [เข้าถึงเมื่อ 5 ก.พ. 2561 ] เข้าถึงได้จาก: http://newtdc.thailis.or.th

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ. 2556.

ซารีฟะห์ เจ๊ะแว. ปัจจัยคัดสรรตามแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยในการป้องกันอุบัติเหตุของนักศึกษาสถาบันพลศึกษา วิทยาเขตยะลา.[วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์;2560.

Blumenthal, M. Dimensions of the Traffic Safety Problem. SAE Technical Paper 670011, 1967; Available at https://www.sae.org/publications/technical-papers/content/670011, accessed May 15, 2019.

พวงแก้ว กิจธรรม. จิตวิทยากลุ่มเกสตัลท์กับการเรียนการสอน. [อินเทอร์เน็ต]. 2556. [เข้าถึงเมื่อ 10 พ.ย. 2561] เข้าถึงได้จาก: http://www.tddf.or.th/uploadedfiles/2013-12-07__302__.doc

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14