การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวัสดุดูดซับในการลดความสั่นสะเทือน ของพนักงานที่ใช้เครื่องบล็อกลมในอู่ซ่อมรถยนต์ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
ความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน, เครื่องบล็อกลม, วัสดุดูดซับความสั่นสะเทือนบทคัดย่อ
การศึกษาแบบกึ่งทดลองนี้ (Quasi-Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขนในกลุ่มพนักงานอู่ซ่อมรถยนต์ที่ใช้เครื่องบล็อกลม จำนวน 30 คนในอำเภอเมืองจังหวัดพะเยา และเปรียบเทียบระดับความสั่นสะเทือนที่พนักงานได้รับสัมผัสในขณะปฏิบัติงานโดยใช้วัสดุดูดซับ และไม่ใช้วัสดุดูดซับความสั่นสะเทือน (มือเปล่า) ผลการศึกษา พบว่า ระดับความสั่นสะเทือนเมื่อไม่ใช้วัสดุดูดซับ (มือเปล่า) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3 m/s² มีค่าเกินมาตรฐาน ISO5349 Exposure Action Value (2.5 m/s2) ผลการเปรียบเทียบระดับความสั่นสะเทือนเมื่อใช้วัสดุดูดซับความสั่นสะเทือน 4 ชนิด กับการไม่ใช้วัสดุดูดซับ (มือเปล่า) โดย paired t-test พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) โดยระดับความสั่นสะเทือนเมื่อมีการใช้วัสดุดูดซับความสั่นสะเทือน 4 ชนิด คือ ถุงมือยางบิวทิล ถุงมือโฟมยาง ปลอกหุ้มยางบิวทิล และปลอกหุ้มโฟมยาง มีค่าเฉลี่ย 2.13, 2.05, 2.39 และ 2.30 m/s² ซึ่งถุงมือโฟมยาง สามารถลดระดับความสั่นสะเทือนได้มากที่สุด (2.05 m/s²) นอกจากนี้ยังพบว่าพนักงานมีความพึงพอใจในการใช้ปลอกหุ้มยางบิวทิลมากที่สุด รองลงมา คือ ปลอกหุ้มโฟมยาง และถุงมือยางบิวทิล
References
ณฐินี โล่พัฒนานนท์. (2558). การผลิตแผ่นฉนวนกันความร้อนจากโฟมยางธรรมชาติผสมเอทิลีนไวนิลอะซีเตท. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จาก http://www.p2s.psu.ac.th/index.php/psu-resarch/2014-09-09-02-01-15/34-2015-07-02-02-53-52
มารุต ตำหนักโพธิ. (2560). กลุ่มอาการผิดปกติจากความสั่นสะเทือนเฉพาะมือและแขน ในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ บทความฟื้นฟูวิชาการ. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย.7 (3), 292-301.
Anirban C, Akshay D, Akash B, Vipul R, Sudhir G. Experimental Vibration Analysis of Isolator Material on Hand-Handle Interface for CHOPSAW Machine. Science Direct, 5, 5438–5444.
International Organization for Standardization (ISO), Mechanical vibration-Measurement andevaluation of human exposure to hand-transmitted vibration. ISO 5349-1 (2001).
Shamsul BMT, Nor MY,Anita AR, Dayana MSN, Mansour A. The prevalence of hand arm vibration syndrome among automobile assembly workers. Malaysian Journal of Public Health Medicine, 16, 128-136.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.