ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
ปัจจัย, พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน, พนักงานก่อสร้างบทคัดย่อ
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาบริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในคนงานก่อสร้าง จำนวน 180 คน ระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2561 แบบสอบถามถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านการทำงานก่อสร้าง ความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ทัศนคติด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง และพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Chi-square Test ผลการศึกษาพบว่า เป็นเพศชาย ร้อยละ 65.60 มีอายุ 40-50 ปี ร้อยละ 38.90 อายุเฉลี่ย 45.910± 9.07 ปี สถานภาพสมรส ร้อยละ 73.30 ระดับการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 63.90 ทำงานเฉลี่ย 8.49 ± 5.51 ปี มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างอยู่ในระดับดี และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน คือ การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยในการทำงาน ( X2 = 4.116, p-value = 0.042 ) และความรู้ทางด้านความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้าง ( X2= 6.005, p-value = 0.014 ) การส่งเสริมให้ผู้ประกอบอาชีพก่อสร้างได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้ด้านความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการทำงานที่เหมาะสม และป้องกันการประสบอันตรายจากการทำงานและการสูญเสียให้น้อยลง
References
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. แรงหนุนจากภาครัฐดัน SME ก่อสร้างสดใส. เข้าถึงได้ที่ https://www.kasikornbank.com/th/business/sme/KSMEKnowledge/article/KSME Analysis/Documents/GovernmentSupport.pdf, เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2561.
นิรัติศัย ทุมวงษา. ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง. เข้าถึงได้ที่https://www.krungsri.com/bank/.../IO_Construction_Contractor_2017_TH.aspx, เข้าถึงเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2561.
บริษัท ไชยเจริญเทค จำกัด. การก่อสร้าง ความหมายประเภท และการแบ่งงานก่อสร้าง 2561. เข้าถึงได้ที่ https://www.chi.co.th/article/article-1201/, เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2561.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การประมวลข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างไตรมาสที่ 2 ปี 2560. เข้าถึงได้ที่ www.nso.go.th/ด้านเศรษฐกิจ/สาขาอุตสาหกรรม/ประมวลพื้นที่การก่อสร้าง/ประเทศไทย, เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2561.
อนามัย (ธีรวิโรจน์) เทศกะทึก. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2553
สำนักงานโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. สถานการณ์โรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ปี 2559, เข้าถึงได้ที่ http://envocc.ddc.moph.go.th/uploads/situation/01_envocc_situation_59.pdf, เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2561.
กองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม. สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2554-2558 จำแนกตามประเภทกิจการ, เข้าถึงได้ที่ http://www.sso.go.th/wpr/category.jsp?cat=8018, เข้าถึงเมื่อ 7 เมษายน 2560.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจอุตสาหกรรมก่อสร้างในปี 2557. เข้าถึงได้ที่ service.nso.go.th/nso/nsopublish/service/contsIndustry/constIndusBangkokFull57.pdf, เข้าถึงเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2561.
จตุพร ร้อยภัย. การเกิดอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยบูรพา อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต].ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2553
นภาพร วงศ์วิวัฒนนุกิจ. การบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของคนงานก่อสร้าง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2553
นินนาท อ่อนหวาน. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานของผู้ใช้แรงงานก่อสร้างในบริษัทรับเหมาในจังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, 2548
อโนทัย วิริยะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยของคนงานโรงงานทำแผ่นรองรับสินค้าจากไม้ยางพาราในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา, 2551
ระเบียบวาระแห่งชาติ แรงงานปลอดภัยและสุขภาพดี. ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง. เข้าถึงได้ที่ 10 http://www.oshthai.org/index.php?option=com_content&view, เข้าถึงเมื่อ 6 มีนาคม 2561.
คมสันต์ ธงชัย, สุพรรณี ศรีอำพร, ภาณี ฤทธิ์มาก และ สุพจน์ คำสะอาด. การจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของคนงานก่อสร้างในเขตเทศบาลเมืองจังวัดอุบลราชธานี. โครงการทุนสนับสนุนวิจัยของสถาบันวิจัยและพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
มธุริน เถยีรประภากุล. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมความปลอดภัยของพนกังานหน่วยงาน ผลิตโอเลฟินส์ 1 บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) สาขาที่ 2 โรงโอเลฟินส์ ไอ – หนึ่ง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต] สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2555
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.