การรับรู้ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ และความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ในพนักงานอุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษ

ผู้แต่ง

  • จุรีภรณ์ แก้วจันดา

คำสำคัญ:

ความรู้สึกไม่สบาย, การยศาสตร์, การประเมินความเสี่ยง, การรายงานด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างโดยการรายงานด้วยตนเองด้านความรู้สึกไม่สบายของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและแบบประเมินทางด้านการยศาสตร์โดยใช้เทคนิค RULA, REBA และ ROSA ตามความเหมาะสมของพนักงานการผลิตจำนวน 157 คน ผลการศึกษาพบว่า พนักงานมีระดับความรู้สึกไม่สบายของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อส่วนใหญ่คือรู้สึกไม่สบายระดับเล็กน้อยร้อยละ 47.29 รองลงมารู้สึกไม่สบายระดับปานกลางร้อยละ 6.9 และ 3 ตำแหน่งแรกที่พบ ได้แก่ คอ ร้อยละ 66.24 หลังส่วนล่าง ร้อยละ 64.33 ไหล่ร้อยละ 62.42 ส่วนผลประเมินความเสี่ยงทางด้านการยศาสตร์ด้วยเครื่องมือจากการสังเกตการทำงานทั้ง 3 วิธี พบว่าจากการใช้ RULA ซึ่งใช้ในพนักงานของกระบวนการผลิตส่วนใหญ่มีความเสี่ยงระดับปานกลางและระดับสูงเท่ากันร้อยละ 30.4 รองลงมาคือระดับสูงมาก ร้อยละ 21.7 จากการใช้ REBA ส่วนใหญ่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูงมาก ร้อยละ 56.4 รองลงมาคือระดับสูง ร้อยละ 41.8 และ ROSA ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินพนักงานที่ทำงานสำนักงานในสายการผลิต พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 77.3 รองลงมาคือระดับสูง ร้อยละ 22.7 จากข้อมูลสรุปได้ว่า การรับรู้ระดับความรู้สึกไม่สบายส่วนใหญ่อยู่ระดับเล็กน้อย ส่วนผลความเสี่ยงทางการยศาสตร์โดยการสังเกตส่วนใหญ่มีระดับความเสี่ยงค่อนข้างสูงและสูง จึงเป็นที่น่าสนใจในอนาคตควรมีการประเมินและพิจารณาร่วมกันทั้งจากการรายงานด้วยตนเองและจากการสังเกตในรูปแบบการประเมินความเสี่ยงสุขภาพด้านความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ ในเชิงลึกเพื่อเป็นข้อมูลในการป้องกันและเฝ้าระวังต่อไป

References

สถิติอุตสาหกรรม [อินเตอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: สำนักงาน เศรษฐกิจอุตสาหกรรม; 2560 [สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560]. จาก: http://www.oie.go.th/academic/statistics.

สถิติกองทุนเงินทดแทน [อินเตอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน ประกันสังคม; 2558 [สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2560]. จาก: http://www. sso.go.th/wpr/category.jsp?lang=th&cat=801

Bernard TE. Washington state WISHA screening tool (modified) [Internet] Washington: Washington Industrial Safety and Health Act; 2010 [cited 2017 Aug 1]. Available from: http://personal.health.usf.edu/tbernard/HollowHills/ WISHA_Checklist20.Pdf.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. สรีรวิทยาการทำงานและการยศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557

Shuval K., Donchin M. Prevalence of upper extrem¬ity musculoskeletal symptoms and ergonomic risk factor at a hi-techcompany in Israel. International Journal of Industri¬al Ergonomics. 2005; 35(6):569-581.

Shikdar A., AI-Kindi MA. Office ergonomics: deficien¬cies in computer workstation design. Int J Occupational Safety and Ergonomics (JOSE). 2007;13(2):215-223.

Chaiklieng S., Suggaravetsiri P., Boonprakob Y. Work Ergonomic Hazards for Musculoskeletal Pain amomong University Office Workers. Walailak J Sci&Tech. 2010;7(2): 169-176.

สุรศักดิ์ ศรีสุข. คู่มือหยุดปวดด้วยตัวเอง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน; 2550.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, และวิภารัตน์ โพธิ์ขี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงทางการ ยศาสตร์และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงาน อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ [วิทยานิพนธ์]. ขอนแก่น: มหาลัยขอนแก่น; 2558.

McAtamney L., & Corlett N., RURA: survey method for the investigation of work related upper limb disorders. Apply Ergonomics. 1993; 24(2), 91-99.

HignettS., & McAtamney L. Rapid entire body assessment. Apply Ergonomics. 2000; 31(2):201-205.

Sonne M., VillaltaDL., Andrews DM. Rapid office strain assessment (ROSA). Applied Ergonomics. 2012; 43:89- 1-8.

นภานันท์ ดวงพรม, สุนิสา ชายเกลี้ยง. การรับรู้ความผิด ปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานผลิตชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดอุดร. วารสารวิจัย มข. 2556; 18(5): 880-891.

Kaewduangdee P, Puntumetakul R, Boonprakob Y, Wanpen S, Siritaratiwat S. The Prevalence of musculoskel¬etal disorders in sewing occupation in KhonKaen Province. KKU J Graduate Studies. 2011;11(2):47-54.

วิพา ชุปวา,พีรญา อึ้งอุดรภักดี. ความชุกและปัจจัยที่ส่งผลต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงาน ทำความสะอาด. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร.2560;25(1), 23-31.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, และอารียา ปานนาค. การประเมินความ เสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ในพนักงานผลิตและประกอบชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2560;47(2):1-15.

เพิ่มศักดิ์ พิมพ์จ่อง, ปภากร พิทยชวาล, และพรศิริ จงกล. การออกแบบท่าทางการทำงานในกระบวนการผลิตไก่แปรรูปด้วย เทคนิค REBA. การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหกรรม ประจำปี2554. สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ สำนักวิชา วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 2554;353-58.

เมธินี ครุสันธิ์, และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความชุกความรู้สึก ไม่สบายบริเวณ คอ ไหล่ และหลังของพนักงานสำนักงานของ มหาวิทยาลัย ที่ใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา. 2557;.15: 1712-22.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14