การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ เนื่องจากการได้รับสัมผัสฝุ่นในกระบวนคัดแยกชิ้นงานสุขภัณฑ์

ผู้แต่ง

  • ไตรรัตน์ สังขมาน

คำสำคัญ:

ฝุ่นชนิดที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมของปอดได้, การเก็บตัวอย่างอากาศ, การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ, ดัชนีอันตราย

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้เป็นการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพเนื่องจากการได้รับสัมผัสฝ่นุ ในคัดแยกชิ้นงานสุขภัณฑ์ การศึกษาประกอบด้วย 1) การสัมภาษณ์ผู้ปฏิบัติงานเพื่อสอบถามข้อมูลด้านสุขภาพและการปฏิบัติงาน 2) การตรวจวัดค่าความเข้มข้นฝุ่นชนิดที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมของปอดได้ (Respirable Dust) 3) นำข้อมูลทั้งหมดมาประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพก่อนและหลังจากการปรับปรุงระบบบำบัดอากาศในพื้นที่ จากระบบตู้ดักฝุ่นแบบธรรมดา เปลี่ยนเป็นระบบดักฝุ่นแบบม่านน้ำ และใช้เครื่องเจียรหล่อน้ำ เพื่อลดปริมาณฝุ่น ซึ่งค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของ Respirable Dust ก่อนการปรับปรุงเท่ากับ 1.025 mg/m3 และหลังจากการปรับปรุงพบว่าค่าความเข้มข้นของ Respirable Dust เท่ากับ 0.698 mg/m3 ผลการศึกษาพบว่าการสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงานทั้งก่อนและหลังการปรับปรุง ทำให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนในปัจจุบันไม่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสฝุ่นทางการหายใจ (Hazardous index, HI < 1) อย่างไรก็ตามเมื่อทำการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพเมื่อผู้ปฏิบัติงานทำงานถึงอายุ 60 ปี ทั้งก่อนและหลังการปรับปรุงพบว่า ผู้ปฏิบัติงานทั้งหมดมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพจากการสัมผัสฝุ่นทางการหายใจ (HI > 1) สำหรับในกรณีที่ไม่มีการปรับปรุงระบบดักจับฝุ่นในพื้นที่การทำงานเลย แม้ว่าเมื่อผู้ปฏิบัติงานสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน โดยพบว่าผู้ปฏิบัติงานบางคน ร้อยละ 22.06 และร้อยละ 16.63 สำหรับส่วนงานคัดแยกชิ้นงานสุขภัณฑ์และการรับประกันคุณภาพชิ้นงานตามลำดับ มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพจากการสัมผัสฝุ่นทางการหายใจ (HI > 1) และพบว่าหากมีการปรับปรุงระบบดักจับฝุ่นและผู้ปฏิบัติงานสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่นตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน เมื่อผู้ปฏิบัติงานทำงานถึงอายุ 60 ปี ผู้ปฏิบัติทั้งหมดทั้งหมดจะไม่มีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายต่อสุขภาพจากการสัมผัสฝุ่นทางการหายใจ (HI < 1)

References

ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเซรามิก. (2556). สถานการณ์ อุตสาหกรรมเซรามิกของประเทศไทย. แหล่งที่มา: http://ceram-iccenter.dip.go.th/LinkClick.aspx?fileticket=CoPYh6B%2b¬n0c%3d&tabid=36, 1 ธันวาคม 2561

พิชัย ศิริสุโขดม. 2557. ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กและ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอาหารสัตว์. การค้นคว้า อิสระปริญญาโท. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เรืองเดช พวงพรหม. 2541. การพัฒนาระบบผู้เชี่ยวชาญ การควบคุมฝุ่นละอองจากโรงงานอุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญา โท.มหาวิทยาลัยมหิดล.

National Institute for Occupational Safety and Health, Occupational Exposure Sampling Strategy Manual, Cincinnati, OH, 1977.

United States Environmental Protection Agency. 2017. About the Conducting a HumanHealth Risk Assessment. AvailableSource : http : //www.epa. gov/risk/conducting-hu¬man-health-risk-assessment

กองประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ. 2558. แนวทางการเฝ้า ระวังพื้นที่เสี่ยงจากมลพิษทางอากาศ. พิมพ์ครั้งที่ 2.โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. กรุงเทพฯ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14