การประเมินความเสี่ยงต่อการรับสัมผัสสาร BTEX ในกลุ่มพนักงานร้านอาหาร สถานที่ท่องเที่ยวเขื่อนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พีรพงษ์ ฮาดทักษ์วงค์

คำสำคัญ:

สารบีเทค, เบนซีน, การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ, มลพิษ, ห้องครัว

บทคัดย่อ

          ปัญหามลพิษอากาศในอาคารนับว่าเป็นปัญหาที่สำคัญในปัจจุบันก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพในหลายๆ ด้าน เช่น ผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบหลอดเลือดและหัวใจ เป็นต้น นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย กิจกรรมการประกอบอาหารเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหามลพิษอากาศในอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมการประกอบอาหารที่ดำเนินการในรูปแบบร้านอาหารเชิงพาณิชย์ วัตถุประสงค์ในการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อศึกษาระดับความเข้มข้นของปริมาณของสารเบนซีน โทลูอีน เอธิลเบนซีนและไซลีนในบรรยากาศการทำงานภายในห้องครัว และเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการรับสัมผัสสาร BTEX ของพนักงานที่ปฏิบัติงานในห้องครัว จำนวน 7 แห่ง ผลการวิจัยในครั้ง พบว่าผู้ปฏิบัติงานมีการรายงานอาการจากการรับสัมผัสสาร BTEX ในกลุ่มอาการทางระบบทางเดินหายใจ อาการที่รายงานสูงสุด คือ คัดจมูก ร้อยละ 60.66 รองลงมา คือ อาการแสบคอ จมูก ร้อยละ 41.02 และอาการมีน้ำมูก ร้อยละ 34.44 ผลการตรวจวัดระดับความเข้มข้นเฉลี่ยสาร BTEX ที่ผู้ปฏิบัติงานในห้องครัวได้รับสัมผัสตลอดระยะเวลาทำงาน ประกอบด้วย สารเบนซีน โทลูอีน เอธิลเบนซีนและไซลีนมีค่าเท่ากับ 0.0081, 0.0068, 0.0068 และ0.0146 mg/m3 ผลจากการประเมินความเสี่ยงผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว (Hazard Index>1) พบว่า ตำแหน่งแม่ครัว มีค่าระหว่าง 0.043 ถึง 0.138 ผู้ช่วยแม่ครัว มีค่าระหว่าง 0.043 ถึง 0.077 พนักงานเสิร์ฟ มีค่าระหว่าง 0.021 ถึง 0.069 และ พนักงานแคชเชียร์ มีค่าระหว่าง 0.013 ถึง 0.035 ซึ่งเป็นค่าที่ยอมรับได้ (<1) ผลจากการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากการรับสัมผัสสารเบนซีน พบว่า มีค่าระหว่าง 9.33 x 10-11 ถึง 4.38 x 10-9ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (น้อยกว่า 2.2 x 10-6) ผลจากการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากการรับสัมผัสสารเอธิลเบนซีน พบว่า มีค่าระหว่าง 2.21 x 10-9 ถึง 2.33 x 10-8 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ (น้อยกว่า 2.5 x 10-6) แต่เนื่องจากมีอาการทางเดินหายใจของพนักงานและมีผลงานการวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า มลพิษอากาศที่เกิดจากการปรุงประกอบอาหารนั้นมักเจือปนไปด้วยสารมลพิษอื่น ๆ ที่เป็นสารอันตรายต่อสุขภาพและอาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ เช่น กลุ่มสารโพลิไซคลิก อะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) เป็นต้น ดังนั้นจึงเสนอแนะให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยแก่พนักงาน เพื่อความตระหนักถึงอันตรายและป้องกันตนเองจากการสัมผัสสารมลพิษทางอากาศได้และควรจัดให้มีการเฝ้าระวังสุขภาพและตรวจประเมินด้านการสัมผัสสาร PAHs ในพนักงาน

References

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานเพื่อการตรวจ ประเมินคุณภาพอากาศในอาคาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สำนักอนามัย สิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

Masih A, Lall AS, Taneja A, Singhvi R. Exposure profiles, seasonal variation and health risk assessment of BTEX in indoor air of homes at different microenvironments of a terai province of northern India. Chemosphere. 2017;176:8–17.

Chen L, Hu G, Fan R, Lv Y, Dai Y, Xu Z. Association of PAHs and BTEX exposure with lung function and respira¬tory symptoms among a nonoccupational population near the coal chemical industry in Northern China. Environment International. 2018;120:480–8.

Huang Y, Ho SSH, Ho KF, Lee SC, Yu JZ, Louie PKK. Characteristics and health impacts of VOCs and carbonyls associated with residential cooking activities in Hong Kong. Journal of Hazardous Materials. 2011;186:344–51.

ศศิธร เรืองตระกูล, ทรรศนีย์ พฤกษาสิทธิ์, เดซี่ หมอกน้อย. การประเมินความเสี่ยงจากการสัมผัสสารบีเทคผ่านทางการหายใจของ พนักงานเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการ จัดการสิ่งแวดล้อม. 2556;9:1–22.

Pak VM, Powers M, Liu J. Occupational chemical exposures among cosmetologists: risk of reproductive disor¬ders. Workplace Health & Safety. 2013;61:522–9.

Liu Q, Liu Y, Zhang M. Personal exposure and source characteristics of carbonyl compounds and BTEXs within homes in Beijing, China. Building and Environment. 2013;61:210–16.

สุนิสา ชายเกลี้ยง. พิษวิทยาสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

World Health Organization. Exposure to benzene: a major public health concern [Internet]. Available from: https://www.who.int/ipcs/features/benzene.pdf. Cited: De¬cember 12, 2018.

กรรณิการ์ ฉัตรสันติประภา. พิษวิทยาของสารเคมีทาง อุตสาหกรรม Toxicology of industrial chemicals. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2552.

Luttrell WE, Peterson HR. Ethylbenzene. Journal of Chemical Health and Safety. 2011;18:41–42.

ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. การประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนและ รูปแบบการใช้ชีวิตของพนักงานเก็บกวาดขยะของสำนักงานเขตแห่ง หนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2561;13:29–37.

Duan W, Meng F, Wang F, Liu Q. Environmental behavior and eco-toxicity of xylene in aquatic environments: A review. Ecotoxicology and Environmental Safety. 2017;145:324–32

วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, สุทธิพัฒน์ วงศ์วิทย์วิโชติม, บรรณาธิการ. พิษวิทยาอาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. ชลบุรี: มูลนิธิสัมมาอาชีว; 2554.

Kanjanasiranont N, Prueksasit T, Morknoy D. Inhalation exposure and health risk levels to BTEX and carbonyl compounds of traffic policeman working in the inner city of Bangkok, Thailand. Atmospheric Environment. 2017;152:111–20.

NIOSH. NIOSH Manual of Analytical Methods (NMAM) [Internet]. Available from: https://www.cdc.gov/

niosh/docs/2003-154/pdfs/1501.pdf. Cited: December 13,2018.

Environmental Protection Agency. Risk Assessment Guidance for Superfund. [Internet]. Available from: https:// www.epa.gov/risk/risk-assessment-guidance-super¬fund-rags-part-f. Cited: February 2,2018.

U.S. Environmental Protection Agency. Integrated Risk Information System (IRIS) Chemical Assessment Sum¬mary [Internet]. Available from: https://cfpub.epa.gov/ ncea/iris/iris_documents/documents/subst/0276_summary.pdf#nameddest=cancerinhal. Cited: February 2,2018.

Integrated Risk Information System (IRIS). Benzene [Internet]. Available from: https://cfpub.epa.gov/ncea/iris/iris_documents/documents/subst/0276_summary.pd-f#nameddest=rfc. Cited: February 2,2018.

Integrated Risk Information System (IRIS). Toluene [Internet]. Available at: ttps://cfpub.epa.gov/ncea/iris/iris_documents/documents/subst/0118_summary.pdf#named-dest=rfc. February 2,2018.

Integrated Risk Information System (IRIS). Ethyl¬benzene [Internet]. Available from: https://cfpub.epa.gov/ncea/iris/iris_documents/documents/subst/0051_summary. pdf#nameddest=rfc. Cited: December 2,2018.

Integrated Risk Information System (IRIS). Xylenes [Internet]. Available from: https://cfpub.epa.gov/ncea/iris/iris_documents/documents/subst/0270_summary.pd-f#nameddest=rfc. Cited: December 2,2018.

Deepti S, Suresh J. Impact of intervention of bio¬mass cookstove technologies and kitchen characteristics on indoor air quality and human exposure in rural settings of India. Environment International. 2019; 123:240–55.

ธนสร ตันศฤงฆาร, สุนทร ศุภพงษ์, วีนัส อุดมประเสริฐกุล, อนุสรณ์ รังสิโยธิน, กัลยา ซาพวง, เริง ศักดิ์ บุณบรรดาชัย และคณะ. การศึกษาเบื้องต้นของผลกระทบต่อ BTEX และ MTEX ต่อสุขภาพ พนักงานสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิง. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การ แพทย์. 2547;8:117–34

Guo H, Lee S., Li W., Cao J. Source characterization of BTEX in indoor microenvironments in Hong Kong. Atmo¬spheric Environment. 2003;37:73–82.

เกษศิรินทร์ เอี่ยมโพธิ์. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ จากการได้รับสัมผัสสารกลุ่ม BTEX จากเครื่องถ่ายเอกสาร. วารสาร วิชาการ Veridian E-J บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. 2557;1:1–6.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, สายชล แปรงกระโทก. การประเมินความ เสี่ยงต่อการสัมผัสสารเบนซีนผ่านทางการหายใจในสถานีบริการน้ำมัน เชื้อเพลิง. วารสารพิษวิทยาไทย, 2558; 30:48–60.

นพนันท์ นานคงแนบ, พรพิมล กองทิพย์, มัตติกา ยงประเดิม, ดุสิต สุจิรารัตน์. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพจาก การรับสัมผัสสารอินทรีย์ระเหยง่ายของพนักงานร้านถ่ายเอกสารบาง แห่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2558; 45:90– 103.

Kuo-Pin Yu, KeRuo Yang, Yen Chi Chen, Jia You Gong, Yen Ping Chen. Indoor air pollution from gas cooking in five Taiwanese families. Build. Environment. 2015;.57: 258–66

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14