การประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีในสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงาน อุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษ

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ ทัศนัตร

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ, การเฝ้าระวังการสัมผัส, Chlorine, Methyl mercaptan

บทคัดย่อ

          กระบวนการผลิตเยื่อกระดาษมีการใช้สารเคมีอันตรายหลายชนิด ทั้งในกระบวนการผลิตเยื่อ ผลิตสารเคมี และผลิตกระดาษ พนักงานมีโอกาสได้รับสัมผัสผ่านระบบทางเดินหายใจ หรือทางผิวหนังและดวงตาและอาจส่งผลต่อสุขภาพของพนักงาน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์คือ ประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีของพนักงานในอุตสาหกรรมผลิตเยื่อและกระดาษ โดยการใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากผลการตรวจวัดสารเคมีในสิ่งแวดล้อมการทำงานย้อนหลัง 2 ปี ของโรงงานผลิตเยื่อและกระดาษแห่งหนึ่ง ผลการศึกษาข้อมูลพบว่าในกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีการใช้สารเคมีทั้งสิ้น 96 ชนิด และสารเคมีที่พนักงานมีโอกาสได้รับสัมผัสสารเคมีในบรรยากาศการทำงานโดยการรับสัมผัสทางการหายใจ มีจำนวน 8 ได้แก่ สารในกลุ่มก๊าซ ประกอบด้วย Chlorine, Carbon monoxide, Hydrogen sulphide และ Hydrogen chloride กลุ่มกรด คือ Sulphuric acid กลุ่มสารละลายระเหยง่าย ประกอบด้วย Methyl mercaptan, Dimethyl sulphideและ Acetone และฝุ่นผลการตรวจวัดทางสขุ ศาสตร์อุตสาหกรรมในรอบ 2 ปีที่ผา่ นมาพบว่าสารเหล่านี้มีความเข้มข้นในบรรยากาศต่ำ กว่าค่าที่กฎหมายกำหนดทุกชนิด ผลการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพจากการสัมผัสสารเคมีบางชนิดพบว่ามีความเสี่ยงต่อสุขภาพพนักงาน (ระดับสูงกว่าระดับที่ยอมรับได้) ได้แก่ Chlorine, Methyl mercaptan, ส่วน Sulphuric acid และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (Respirable Dust) มีความเสี่ยงอยู่ในระดับยอมรับได้ อย่างไรก็ตามมีสารเคมีอันตรายสูงที่อาจส่งผลต่อการเกิดมะเร็ง สารก่อกลายพันธุ์ ในกระบวนการผลิตที่ยังไม่มีการคำนึงถึงการเฝ้าระวังโดยการประเมินความเสี่ยงต่อการรับสัมผัส เช่น สารเบนซีนและฟอร์มัลดีไฮด์ ดังนั้นจากผลการประเมินความเสี่ยงดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าควรมีการเฝ้าระวังการสัมผัสโดยจัดให้มีการตรวจวัดทางสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในกลุ่มสารเคมีอันตรายสูงและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงานตามกฎหมายกำหนดในสารเคมีอันตรายทุกชนิดต่อไป

References

สุนิสา ชายเกลี้ยง. พิษวิทยาสาธารณสุข. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557

ราชกิจจานุเบกษา. ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม การประเมินความเสี่ยงด้าน สารเคมีต่อสุขภาพผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรม [อินเทอร์เน็ต] 2555.[เข้าถึงเมื่อ 2561เมษายน 26]. เข้าถึงได้จากhttp://www.summacheeva.org/documents/share_law_industry_risk.PDF

National Research Council. Acute Exposure Guide¬line Levels for Selected Airborne Chemicals Volume 15. Washington (DC): National Academy of Sciences; 2013

โยธิน เบญจวัง และวิลาวัณย์ จึงประเสริฐ. มาตรฐานการ วินิจฉัยโรคจากการทำงานฉบับเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหา มงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐. กรุงเทพฯ: สำนักงานประกันสังคม; 2550

Carl W W, James G M. Chlorine Gas Inhalation Hu¬man Clinical Evidence of Toxicity and Experience in Animal Models. ATSJournals 2001; 7(4): 257-263

กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง จากมลพิษทางอากาศ กรณีฝุ่นละอองขนาดเล็ก. [อินเทอร์เน็ต] 2557. [เข้าถึงเมื่อ 2561พฤษภาคม 17]. เข้าถึงได้จากhttp://enhealthplan. anamai.moph.go.th/ewt_dl_link.php?nid=24

Chaiklieng S, Pimpasaeng C, Thapphasaraphong S. Benzene exposure at gasoline stations - health risk assess¬ment. Human and Ecological Risk Assessment: An Interna¬tional Journal 2015; 21(8): 2213-22

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-14