การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติ ทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารสองแถว สายสีม่วงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ปาริตา ปอพานิชกรณ์

คำสำคัญ:

การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์, อาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจาการทำงาน, พนักงานขับรถโดยสารสองแถว

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงานของพนักงานขับรถโดยสารสองแถวสายสีม่วงในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานจำนวนทั้งหมด 21 คน ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการทำงาน และข้อมูลอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างจากการทำงาน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และ2) ประเมินความเสี่ยงทาง

          การยศาสตร์โดยใช้แบบประเมิน Rapid Upper Limb Assessment (RULA) ผลการศึกษาพบว่าพนักงานขับรถโดยสารสองแถวสายสีม่วงทั้งหมดเป็นเพศชายมีอายุและประสบการณ์การทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 53.10 ± 10.50 ปี และ 2.62 ± 0.67 ปี ตามลำดับระยะเวลาในการทำงานเฉลี่ยเท่ากับ 10.76± 1.76 ชั่วโมงต่อวัน และส่วนใหญ่มีความเสี่ยงทางการยศาสตร์อยู่ในระดับ 2 (ร้อยละ 57.1)นอกจากนี้คะแนนถ่วงน้ำหนักของอาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ หลังส่วนล่าง (2.74 ± 8.81) ขาส่วนล่างซ้าย (1.93 ± 4.70) และขาส่วนล่างขวา (0.76 ± 2.25) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ประสบการณ์การทำงานมีความสัมพันธ์กับคะแนนความถี่เฉลี่ยและคะแนนถ่วงน้ำหนักเฉลี่ยของอาการปวดหรือความรู้สึกไม่สบายบริเวณขาส่วนล่างซ้ายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.030 และ 0.031 ตามลำดับ) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีมาตรการทางการยศาสตร์เพื่อสร้างความตระหนักต่ออาการผิดปกติทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกโครงร่างโดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีประสบการณ์ทำงานสูง และให้มั่นใจว่าพนักงานขับรถสองแถวจะมีความปลอดภัยและสุขภาพที่ดีตลอดอายุการทำงาน

References

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยโรคกระดูกและกล้ามเนื้อจากการทำงาน. 2559 (เข้าถึงเมื่อ 9 พฤษภาคม 2560). เข้าถึง

ได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=envocc/,

Bernard BP. Musculoskeletal disorders and workplace factors: Critical review of epidemiology evidence for work-related musculoskeletal disorders of the neck, upper extremity and low back factors. 1997 (Cited 2017 May 9). Availableathttps://www.cdc.gov/niosh/docs/97-141/pdfs/97-141.pdf

Simoneau, S., ST-Vincent, M. &Chioine, D. Work-Related Musculoskeletal Disorders (WMSDs), 1996 (Cited 2017 May 9). Availableathttp://www.irsst.qc.ca/media/documents/PubIRSST/RG-126-ang.pdf

Infrastructure Health & Safety Association. Musculoskeletal disorders (MSDs)—Risk factors, (Cited 2017 May 9). Available athttps://www.ihsa.ca/pdfs/safety_talks/msd_risk_factors.pdf

ณัชยา แซ่เจิ้น, กลางเดือน โพชนา และองุ่น สังขพงศ์. ความชุกและปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง: กรณีศึกษา สถานีขนส่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัย มข.2557; 19 (1): 107-18.

พรศิริ จงกล.การสืบค้นการเจ็บปวดกล้ามเนื้อและกระดูกของคนขับรถแท็กซี่ และปัจจัยเสี่ยงอันเนื่องจากการทำงาน.

[วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต].นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2553.

Infrastructure Health & Safety Association. Musculoskeletal disorders (MSDs)—Risk factors, (Cited

May 9).Availableat https://www.ihsa.ca/pdfs/safety_talks/driving_msds.pdf

ศิพิระ เชิดสงวน. สิ่งคุกคามสุขภาพในอาชีพพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2560; 12 (2): 120-32.

Hedge, A., Morimoto, S. And McCrobie, D. Effects of keyboard tray geometry on upper body posture and comfort, Ergonomics. 1999; 42(10): 1333-49.

สุนิสา ชายเกลี้ยง และเมธินี ครุสันธิ์. ความชุก ความรู้สึกไม่สบายบริเวณคอ ไหล่ และหลังของพนักงานสำนักงานของ

มหาวิทยาลัยที่ใช้คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะมากกว่า 4 ชั่วโมง ต่อวัน. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัย

ขอนแก่น, 2552.

Lynn Mc.atamney and Nigel Corlett.RULA: a survey method for the investigation of work-related upper limb disorders, Ergonomics. 1993; 24(2): 91-99.

เปรมฤดี โสกุล, เพลินพิศ สุวรรณอำไพ, และอรวรรณ แก้วบุญชู. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับอาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ภาคตะวันออก ประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล, 2559.

จีรนันท์ ธีระธารินพงศ์.ความชุกและอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ และปัจจัยด้านท่าทางการทำงานในกลุ่มอาชีพสานตะกร้าไม้ไผ่ ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2556.

พรทิพย์ จงใจ.ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของรยางค์ส่วนบน. ในผู้ประกอบ

อาชีพกรีดยางพารา. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ชลบุรี: มหาวิทยาบูรพา, 2557.

สุนิสา ชายเกลี้ยง, พีรพงษ์ จันทราเทพ, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ และ รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล. ความชุก และปัจจัยเสี่ยงทางการยศาสตร์ของการปวดหลังส่วนล่างในพนักงานเก็บขนขยะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด. 2555; (24)1: 97-109.

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร, วันเพ็ญ ทรงคำ, ลดาวัลย์ พันธุ์พานิชย์, ศิมาลักษณ์ ดิถีสวัสดิ์เวทย์, ศันสนีย์ สีต่างคำ และ John F. Smith. การดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อ. ชุดการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ. ม.ป.ป: 8-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28