การศึกษาระดับความรู้, ทัศนคติ และการปฏิบัติงานของพนักงานบัดกรีในโรงงาน อิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งที่สัมผัสดีบุกอนินทรีย์

ผู้แต่ง

  • สมพร เหลาพรม

คำสำคัญ:

ดีบุกอนินทรีย์, ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติ, พนักงานบัดกรี

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานของพนักงานบัดกรีในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งที่สัมผัสดีบุกอนินทรีย์ โดยเป็นการศึกษาภาคตัดขวาง ประชากรที่ศึกษาเป็นพนักงานบัดกรีและกลุ่มเสี่ยงได้แก่ วิศวกร หัวหน้างานที่มีโอกาสสัมผัสดีบุกอนินทรีย์ จำนวนทั้งสิ้นรวม 48 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานกับดีบุกอนินทรีย์ วัดผลโดยใช้ สถิติเชิงพรรณาในการแจกแจงความถี่ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุดและร้อยละของข้อมูล จากผลการศึกษาพบว่า ระดับความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานของพนักงานบัดกรีที่สัมผัสดีบุกอนินทรีย์ในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์แห่งนี้ส่วนใหญ่มีคะแนนที่สูงกว่าเกณฑ์ โดยพนักงานที่มีความรู้ระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 64.6 ทัศนคติที่เป็นด้านบวกคิดเป็นร้อยละ 54.2 และมีพฤติกรรมที่ปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 68.8 และพนักงานที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ พบว่ามีความรู้ระดับต่ำร้อยละ 35.4 ทัศนคติที่เป็นด้านลบ ร้อยละ 45.8 และการปฏิบัติที่มีความเสี่ยงร้อยละ 31.2 จากการศึกษานี้หากพิจารณาตามหลักการจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสะท้อนให้เห็นว่ายังมีพนักงานจำนวนไม่น้อยที่มีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ หากพนักงานกลุ่มนี้ไม่ได้รับการปรับปรุงหรืออบรมให้ความรู้ในการปฏิบัติงานกับดีบุกอนินทรีย์อย่างปลอดภัย และถึงแม้ดีบุกอนินทรีย์จะมีความเป็นพิษต่ำ แต่การได้รับสัมผัสในระยะยาวสามารถคาดคะเนได้ว่าคนกลุ่มนี้มีโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคจากการทำงาน

References

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม.ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนตุลาคม 2559. เข้าถึงได้จากhttp://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/summary_report/industryeconomicssituationreportoct 2016.pdf, เข้าถึงเมื่อ 3 เม.ย. 2560.

Vinaya S., Karkhanis and J.M. Joshi. Pneumoconioses. Indian J Chest Allied Sci 2013;55:25-34.

European food safety authority. Opinion of the scientific panel on dietetic products, nutrition and allergies on a request from the commission related to the tolerable upper intake level of tin. The EFSA Journal 2005;254:1-25.

Manju Mahurpawa. Effect of heavy metals on human health, 2015. Available at http://granthaalayah.com/Articles/Vol3Iss9SE/152_IJRG15_S09_152.pdf,Accessed Jun13, 2017.

สุปรียา ตันสกุล. ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์: แนวทางการดำเนินงานในงานสุขศึกษาและส่งเสริมสุขภาพ, 2007. เข้าถึงได้จาก: http://ns2.ph.mahidol.ac.th/phklb/knowledgefiles/1_.pdf เข้าถึงเมื่อ 3 เม.ย. 2560.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สวิง สุวรรณ. พฤติกรรมศาสตร์พฤติกรรมสุขภาพและสุขศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เจ้าพระยาการพิมพ์; 2536.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในหน่วยบริการปฐมภูมิ. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2544.

ประสิทธิ์ ทองอุ่น. พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น; 2542.

ประกาย จิโรจน์กุล, บรรณาธิการ. การวิจัยทางการพยาบาล: แนวคิด หลักการ และวิธีปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก; 2556.

World health organization. Advocacy, communication and social control for TB control: a guide to developing knowledge, attitude and practice surveys, 2008. Available at http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/43790/1/9789241596176_eng.pdf, Accessed Jun13,2017.

RennisLikert. A technique for the measurement of attitudes, 1932. Available at https://legacy.voteview.com/pdf/Likert_1932.pdf, Accessed Jun 13,2017.

GarbaIliyasu, DimieOgoina, Akan A.Otu, Farouq M. Dayyab, BasseyEbenso, Daniel Otokpa, et al. Amulti-site knowledge attitude and practice survey of Ebola virus disease in Nigeria.PLoS One 2015; 10 (8): e0135955. PMID: 26317535.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28