ระดับความเครียดที่เกิดจากการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์

ผู้แต่ง

  • ทีปพิพัฒน์ เลิศวรายุทธ์

คำสำคัญ:

ความเครียดจากการทำงาน, โรงงานอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

          การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดจากการทำงานของพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางโดยมีประชากรที่ศึกษาจำนวน 87 คน โดยใช้แบบสอบถามจำนวน3ส่วนคือ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมสุขภาพ และความเครียดจากการทำงา แบบสอบถามความเครียดจากการทำงานเป็นแบบสอบถามความเครียดจากงาน (Thai’s JCQ) จากนั้นจะนำข้อมูลไปประเมินความเครียดจากการทำงานโดยใช้แบบจำลอง Psychological Demand and Decision Latitude ผลการศึกษาพบว่าประชากรส่วนใหญ่มีระดับความเครียดจากการทำงานระดับความเครียดต่ำ 34.48% ระดับตื่นตัว 32.18% ระดับความเครียดสูง 24.14% และระดับเฉี่อยชา 9.20% ตามลำดับ สำหรับผลของคะแนนจากแบบสอบถามความเครียดจากงาน (Thai’s JCQ) พบว่าประชากรส่วนใหญ่มีคะแนนแต่ละส่วนในระดับสูง คือ ด้านการควบคุมงาน 66.67% ด้านงานเรียกร้องด้านจิตใจ 56.32% ด้านงานเรียกร้องทางกาย 64.37% ด้านความมั่นคงในงาน 67.82% ด้านแรงสนับสนุนทางสังคม 59.77% และ ด้านสิ่งคุกคามในงาน 59.77% ตามลำดับ

References

สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม. สรุปสภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2559 และแนวโน้มปี 2560 [อินเทอร์เน็ท].[เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2561] เข้าถึงได้จาก http://www.oie.go.th/sites/default/files/attachments/industry_overview/annual2016.pdf

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย.ภาวะอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2560 [อินเทอร์เน็ท]. [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2561] เข้าถึงได้จาก https://www.fti.or.th/2016/download/technical/Industrial_Review_April_2560_1027.pdf

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. 4 ส. 1 ม. ส่งเสริมสร้างสุขกับมิตรร่วมงาน [อินเทอร์เน็ท]. [เข้าถึงเมื่อ 24 เมษายน 2561] เข้าถึงได้จากhttp://www.forums.dmh.go.th/index.php?topic=137965.0

เทิดศักดิ์ เดชคง. วิถีแห่งการคลายเครียด. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน; 2541.

Phakthongsuk P. Construct validity of the Thai version of the joc content questionnaire in a large population of heterogeneous occupations . J Med Assoc Thai 2009;92:564-72.

Robert Karasek, Chantal Brisson, Norito Kawakami, Irene Houtman, PaulienBongers, and Benjamin Amick. The Job Content Questionnaire (JCQ): An Instrument for Internationally Comparative Assessments of Psychological Job Characteristics. Journal of Occupational Health Psychology 1998, Vol.3, No.4, 322-355

Peter L. Schnall, Paul A. Landsbergis, and Dean Baker. Job Strain and Cardiovascular Disease. Annu. Rev. Public Health. 1994. 15:381-411

Hsiow-Ling Hsieh, Liang-Chih Huang, and Kuo-Jen Su. Work stress and job performance in the hi-tech industry: a closer view for vocational education. World Transactions on Engineering and Technology Education. Vol.3, No.1, 2004

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28