การสัมผัสเสียงของพนักงานโรงงานน้ำแข็ง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
เสียงดัง, สมรรถภาพการได้ยิน, โรงงานน้ำแข็งบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสัมผัสเสียงดังของพนักงานโรงงานน้ำแข็ง เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน จากโรงงานน้ำแข็งจำนวน 3 แห่ง ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างรวบรวมโดยใช้แบบสอบถาม และ 2) การตรวจวัดระดับเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานทั้งแบบพื้นที่โดยใช้ Sound Level Meter และติดตั้งตัวบุคคลที่ระดับการได้ยิน โดยใช้ Noise Dosimeter ผลการศึกษาพบว่า ระดับเสียงเฉลี่ยแบบพื้นที่สูงที่สุด คือ บริเวณเครื่องทำความเย็นของโรงงานน้ำแข็งทั้ง 3 แห่งมีระดับเสียงเท่ากับ 95.0 dB (A), 86.1 dB (A) และ 86.6dB (A) ตามลำดับ ซึ่งเกินค่ามาตรฐานที่กำหนดของประเทศไทย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 73.3 สัมผัสเสียงเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานที่ตรวจวัดแบบติดตัวบุคคลมากกว่า 85 dB (A) นั้นแสดงให้เห็นว่าเมื่อเวลาผ่านไปพนักงานในโรงงานน้ำแข็งมีโอกาสสูญเสียสมรรถภาพการยิน เนื่องจากรับสัมผัสเสียงดังเป็นเวลานาน ดังนั้นสถานประกอบการควรจัดทำมาตรอนุรักษ์การได้ยินสำหรับพนักงานที่สัมผัสเสียงตั้งแต่ 85dB (A) ขึ้นไป และควรจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงดังให้กับพนักงาน รวมถึงการตรวจสมรรถภาพการได้ยินในการจัดโปรแกรมการเฝ้าระวังทางสุขภาพของพนักงาน
References
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. โรงผลิตน้ำแข็ง[อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ.2561 [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน พ.ศ.2561]. เข้าถึงได้จากhttp://www.mis.rmutt.ac.th/sme/Details/InvestmentExamples/I061.doc
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. ปัญหาและแนวทางการแก้ไขการผลิตน้ำแข็ง[อินเทอร์เน็ต].2545. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน พ.ศ.2561]. เข้าถึงได้จากhttp://food.fda.moph.go.th/data/tradermain/1-4ice.pdf
คมชัดลึก. โรงน้ำแข็งเสียงดังร้องเรียนกับลุงแจ่ม [อินเทอร์เน็ต]. 2553. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน พ.ศ.2561]. เข้าถึงได้จากจาก http://www.komchadluek.net/news/unclecham/82787.
ณัฐวัตรมนต์เทวัญ สมพิศ พันธุเจริญศรี. ปัญหาเสียงดัง & หูตึง จากการทำงาน.2545. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน พ.ศ. 2561]. เข้าถึงได้จาก จากhttp://www.si.mahidol.ac.th/th/division/ophs/admin/knowledges_files/14_34_1.pdf
Win KN, Balalla NBP, Lwin MZ, Lai A. Noise Induced Hearing Loss in the Police Force. Safety and Health at Work 2015; 6: 134-8.
โกวิทย์นามบุญมีและคณะ. การเปรียบเทียบสมรรถภาพการได้ยินในพนักงานอุตสาหกรรมแปรรูปหินกับพนักงานโรงแรม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2559;25:31-40.
กระทรวงแรงงาน. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องมาตรฐานระดับเสียงที่ยอมให้ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดระยะเวลาการทำงานในแตละวัน พ.ศ.2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 20 เมษายน พ.ศ.2561]. เข้าถึงได้จาก http://legal.labour.go.th/images/law/Safety2554/3/s_1015.pdf
Taro Yamane 1973. อ้า งถึงในยุทธพงษ์ กัยวรรณ์. 2543.พื้นฐานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น. หน้า79.
กระทรวงแรงงาน. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเรื่องหลักเกณฑ์วิธีดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานเกี่ยวกับระดับความร้อนแสงสว่างหรือเสียงภายในสถานประกอบการระยะเวลาและประเภทกิจการที่ต้องดำเนินการ พ.ศ.๒๕๕. (2550). สืบค้นจาก http://medinfopsu.ac.th/commed/occmed/images/TIS18001/tisp4/law%20Physi/images/law/3.ENV_2550.pdf
พัฒนาพรกล่อมสุนทร, ทุวันสิมมะลิและบารเมษฐ์ภิราล้า. ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยินจากการสัมผัสเสียงดังในพนักงานโรงงานน้ำตาลสหเรือง จังหวัดมุกดาหาร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7.2556; 11:40 –51.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.