ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้าง โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • ศิริพร ด่านคชาธาร

คำสำคัญ:

พฤติกรรมความปลอดภัย, พนักงานก่อสร้าง, ความปลอดภัยในงานก่อสร้าง

บทคัดย่อ

          อุตสาหกรรมก่อสร้างในประเทศไทยได้มีการขยายตัวและก้าวหน้าเป็นอย่างมาก แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเงาตามมาของการปฏิบัติงานในงานก่อสร้างคืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้าง โครงการก่อสร้างศูนย์การแพทย์แห่งหนึ่ง โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานก่อสร้าง จำนวน 138 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .72-.84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า พนักงานก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 54.3 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี ร้อยละ 30.8 มีประสบการณ์การทำงาน 1-5 ปี ร้อยละ 41.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานก่อสร้างได้แก่ (1) ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ (r=.132 p-value=.005) ประสบการณ์การทำงาน (r=.252 p-value=.031) การทำงานล่วงเวลา (r=.192 p-value=.029) (2)ปัจจัยสภาพแวดล้อม คือ พื้นที่การทำงานเป็นระเบียบเรียบร้อย (r=.132 p-value=.005) เครื่องมือ เครื่องจักรได้มาตรฐานรับรอง (r=.056 p-value=.017) (3) ปัจจัยการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการทำงาน คือ ด้านการเข้าถึงแหล่งประโยชน์ด้านความปลอดภัย (r=.052 p-value=.015) และการสื่อสารความปลอดภัย (r=.122 p-value=.004) (4) ปัจจัยด้านความรู้เรื่องความปลอดภัยในการทำงานก่อสร้างไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในงานก่อสร้าง การวิจัยครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางในการดำเนินกิจกรรมป้องกันอันตรายในงานก่อสร้าง เช่น เพิ่มความถี่ในการอบรมเรื่องของป้ายและสัญลักษณ์ความปลอดภัย การจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านความปลอดภัยเพื่อให้พนักงานที่ทำงานก่อสร้างให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างปลอดภัยและลดอุบัติเหตุในการทำงานได้

References

อนามัย (ธีรวิโรจน์) เทศกะทึก. อาชีวอนามัยและความปลอดภัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์; 2553.

กองทุนเงินทดแทน.สถิติของผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน. รายงานการดำเนินงานกองทุนเงินทดแทน. กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม. สำนักงานประกันสังคม;2558

Health and Safety Executive. (n.d.).Work related injuries and ill health in construction. Ret rived on April 9, 2018, from http://www.hse.gov.uk/statistics/pdf/fatalinjuries.pdf

บุญชัย สอนพรหม. การศึกษาทัศนคติของคนงานก่อสร้างต่อสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุในอุตสาหกรรมก่อสร้าง : กรณีศึกษา บริษัท เอส ดับบลิว ที เทคโนโลยี แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2555.

สถาบันความปลอดภัยในการทำงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. 2550. คู่มือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน.กรุงเทพ: เรียงสามกราฟฟิกดีไซด์ จำกัด.

ธีรวุฒิ เอกะกุล.ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี;2543.

วิทิต กมลรัตน์. (2552). ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายปฏิบัติการบริษัท อดิตยา บอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) จากัด (ฟอสเฟต ดีวิชั่น). งานนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการสิ่งแวดล้อม), คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วิฑูรย์ สิมะโชคดีและวีรพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2553).วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน.กรุงเทพ: คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา

Edwin S, Shamil N, Daniel F. Factors affecting safety performance on construction sites. International journal of project management 1999; 17(5): 309-315.

Fang DP, Huang XY, Li H, Xie F. Factor analysis base studies on construction workplace safety Management in china. International journal of project management 2004; 22: 43-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28