ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูก ในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พิรวรรณ ไชยวงค์

คำสำคัญ:

การสูญเสียการได้ยินจากสัมผัสเสียงดัง, สมรรถภาพการได้ยิน, ปัจจัยด้านอาชีพ, เกษตรกร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบุคคล อาชีพ พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมกับการสูญเสียการได้ยิน โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่ม คือ กลุ่มศึกษา (Case) เป็นกลุ่มเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกในจังหวัดขอนแก่นที่ได้รับการวินิจฉัยว่า สูญเสียการได้ยินด้วยรหัส ICD10 (H83.3 H90.3 H90.4, H90.5) จำนวน 149 คน และกลุ่มควบคุม (Control) เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกในจังหวัดขอนแก่นที่มีการได้ยินปกติ จำนวน 151 คน รวมทั้งสิ้น 300 รายโดยมีเครื่องมือเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยิน แบบบันทึกข้อมูลทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน เครื่องวัดเสียง (Sound level meter)และเครื่องทดสอบสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometer) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ตัวแปรเดี่ยว โดยไม่คำนึงถึงตัวแปรอิสระอื่น โดยการวิเคราะห์ logistic regression ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ผลการศึกษาในครั้งนี้พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) มีดังนี้ ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่เพศอายุรายได้ โรคประจำตัวเคยมีอาการเสียงดังในหู และเคยทำงานสัมผัสเสียงดัง ปัจจัยด้านอาชีพ ได้แก่ การทำงานกับเครื่องจักรกลทางการเกษตร การเคยทำงานในอุตสาหกรรมที่มีเสียงดัง ระยะเวลาสัมผัสเสียงดังอายุงาน และการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากเสียงดังขณะปฏิบัติงานในอุตสาหกรรม และปัจจัยด้านพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การแคะหูด้วยสำลีพันก้าน หรืออย่างอื่นเป็นประจำเป็นหวัดบ่อยและสั่งน้ำมูกแรงๆ เป็นประจำ การยิงปืน/เคยยิงปืน และปั่นจักรยาน/ขี่มอเตอร์ไซด์โดยไม่ใส่หมวกกันน็อคผลการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรกลุ่มเพาะปลูกสามารถนำเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแนวทางเพื่อการตรวจคัดกรอง การป้องกันและเฝ้าระวังสุขภาพการได้ยินของกลุ่มเกษตรกรเพาะปลูก เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินของเกษตรกรต่อไป

References

จิตร เกื้อช่วย และบำเพ็ญ เขียวหวาน. (2556). ความต้องการส่งเสริมอาชีพของเกษตรกร ตำบลบางขุนทอง อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส, วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 5 (2); 67-75

ประกาย หร่ายลอย และสมหมาย แจ่มกระจ่าง. (2554). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร, วารสารการศึกษาและพัฒนาสังคม, 7 (2); 29-41

ชลธิชา พรมทุ่ง. (2558). การศึกษาระดับเสียงและเสียงรบกวนภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยนเรศวรจังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Kim K. & Kwon O.J. (2012). Prevalence., & Risk Factors of Hearing Loss Using the Korean Working Conditions Survey, Korean J Audiol, 16 (2): 54–64.

อริสรา ฤทธิ์งาม, เจนจิรา เจริญการไกร, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ และจันทร์ทิพย์ อินทวงค์. (2559). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยินในพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปยางธรรมชาติ จังหวัดระยอง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30 (3); 119-36.

ธนพล อิทธิทูล. (2551). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียการได้ยินของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรม กรณีศึกษาธุรกิจแปรรูปเนื้อไก่ บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ภูวสิทธิ์ สิงหภูมิ, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ และจิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. (2556). ผลร่วมระหว่างเสียงและการสูบบุหรี่ที่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินของพนักงานในอุตสาหกรรมหลอมโลหะแห่งหนึ่ง อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี, วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาบูรพา, 8 (2); 100-8.

อุษณีย์ จันทร์ตรี. (2556). การสูญเสียการได้ยินที่ความถี่สูง และภาวะความดันโลหิตสูงในพนักงานที่เข้ารับการตรวจสมรรถภาพการได้ยิน ที่คลินิกอาชีวเวชศาสตร์โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีใน ปี พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2555, วารสารความปลอดภัยและสุขภาพ; 6(22): 6-13.

อัจฉรารี สังสะนะ. (2543). ผลของการสัมผัสเสียงและสารละลายอินทรีย์ต่อการสูญเสียการได้ยิน.วิทยานิพนธ์วิทยาศาตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.

World Health Organization. WHO global estimates on prevalence of hearing loss. Retrieved May1, 2018, from: http://www.who.int/pbd/deafness/WHO_GE_HL.pdf

กลุ่มโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. (2551). ความชุกความชุกของการเกิดอุบัติเหตุและการสูญเสียการได้ยินจากการทำงานกับเครื่องจักรกลการเกษตรในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี.

พรพิมล กองทิพย์. (2555). สุขศาสตร์อุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เบสท์ กราฟิค เพรส.

McBride D, Firth H, & Herbison G. (2003). Noise exposure and hearing loss in agriculture: a survey of farmers and farm workers in the Southland region of New Zealand, J Occup Environ Med. 45(12); 1281-8

Sam W, Anita A, Hayati K, Haslinda A, & Lim C. (2017). Prevalence of Hearing Loss and Hearing Impairment among Small and Medium Enterprise Workers in Selangor, Malaysia, Sains Malaysiana, 46 (2); 267–74

พลอยทิพย์ หัสดิพันธ์, รุจ ศิริสัญลักษณ์. (2560). การประกอบอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เพิ่มของแม่บ้านเกษตรกร อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน, แก่นเกษตร, 45 (1); 1490-96

สมศจี ศิกษมัด, เสาวณี จันทะพงษ์, นพดล บูรณะธนัง, Dasgupta S, Bhula-or R. (2556). ตลาดแรงงานไทยและบทบาทในการสร้างความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทย. ธนาคารแห่งประเทศไทย.

สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.อาชีวอนามัยสำหรับครู. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2561, จากhttp://www.otep.go.th/?p=otep-page&id=80.

นภาพร อติวานชิ ยพงศ์. (2557). คนชนบทอีสานกับการทำมาหากิน: ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย, วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 33 (2); 103-127

นัยนา พิพัฒน์วณิชชา. (2555). การพยาบาลผู้สูงอายุที่สูญเสียการได้ยิน, วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 32 (3); 67-76

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28