การสัมผัสสารไกลโฟเสทผ่านทางการการหายใจ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
คำสำคัญ:
ไกลโฟเสท, การสัมผัส, อาชีวอนามัย, ความเสี่ยง, ตัวชี้วัดทางชีวภาพ, ตัวชี้วัดทางสิ่งแวดล้อมบทคัดย่อ
จากสถิติปริมาณและมูลค่าการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตร ปี 2554 -2560 พบว่าชนิดสารกำจัดวัชพืช (Herbicide) มีปริมาณการนำเข้าสูงสุด เมื่อเทียบกับสารเคมีชนิดอื่นๆ โดยสูงสุดในปี 2560 ปริมาณ 148,979 ตัน และมีปริมาณการนำเข้ามาเกือบ 7 เท่า ของสารกำจัดแมลง (Insecticide) ซึ่งในปี 2559 สารไกลโฟเสท ที่เป็นยาฆ่าหญ้ามีปริมาณนำเข้ามากที่สุดคือ 61.80 ล้านกิโลกรัม ประเทศไทยมีปริมาณการนำเข้าไกลโฟเสท-ไอโซโพรพิลแอมโมเนีย และพาราควอตไดคลอไรด์ เป็นอันดับที่ 1 และ 2 ในทุกปี โดยประเทศไทยมีการใช้สารไกลโฟเสทมากกว่าสารกำจัดศัตรูพืชอื่นๆ ทำให้อาจก่อให้เกิดการสัมผัสสูงของเกษตรกรผู้ใช้สารเคมี การทบทวนวรรณกรรมอย่างมีระบบในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสัมผัสสารไกลโฟเสทของผู้ใช้สารว่ามีการศึกษาหรือไม่ อันเนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้ไกลโฟเสทเป็นสารกลุ่ม 2A หมายถึงน่าจะก่อมะเร็งในมนุษย์ซึ่งความเป็นพิษของสารไกลโฟเสทมีความเป็นพิษต่อระบบสืบพันธ์อาจนำไปสู่การทำลาย DNA และเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมได้ ผลการทบทวนวรรณกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยใช้คำสำคัญ คือ ไกลโฟเสท การสัมผัสในมนุษย์ อากาศ ตัวชี้วัดทางชีวภาพ และความเสี่ยง พบงานวิจัยจำนวน 52 เรื่อง งานวิจัยในต่างประเทศมีการศึกษาการสัมผัสไกลโฟเสทจากการรับสัมผัสทางการหายใจ โดยพบความเข้มข้นสูงถึง 42.96 μg/m3 (6,212.65 ppb) และสัมผัสผ่านทางผิวหนังที่พบความเข้มข้นของสารไกลโฟเสทในปัสสาวะของเกษตรกรผู้รับสัมผัสซึ่งมีความเข้มข้นสูงถึง 233 ppb ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีการศึกษาการสัมผัสสารไกลโฟเสทผ่านทางการหายใจ แต่พบความเข้มข้นสารไกลโฟเสทในปัสสาวะผู้สัมผัสจากการใช้สารไกลโฟเสทของเกษตรกร ค่าเฉลี่ย 13.70±13.30 μgL-1 แต่ยังไม่พบการศึกษาการรับสัมผัสสารไกลโฟเสทผ่านทางการหายใจดังนั้นปัจจุบันยังไม่มีค่ามาตรฐานเกี่ยวกับการรับสัมผัสสารไกลโฟเสทในมนุษย์ทางงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจึงเป็นประเด็นที่ควรมีการศึกษาและการประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพเพื่อกำหนดเป็นแนวทางด้านค่ามาตรฐานในการเฝ้าระวังต่อไป
References
สุนิสา ชายเกลี้ยง. พิษวิทยาสาธารณสุข (Toxicology in Public Health). พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
วิสันติ เลาหอุดมโชค. การประเมินการสัมผัส (Exposure Assessment) ด้านอาชีวอนามัย ตอนที่ ๓ การประเมินการสัมผัสทางชีวภาพ. Available at www.oshthai.org/attachments/article/133/133.pdf, May 1, 2018.
อำนาจ พัวพลเทพ. ดัชนีชี้วัดทางชีวภาพ (biomarkers) สำหรับการประเมินความเสี่ยงของการสัมผัสสารพิษจากเชื้อรา. Available at thaimycotoxin.org/wpcontent/uploads/2016/09/biomarkers_290816.pdf, May 1, 2018.
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์. ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ Biomarkers. Available at www.summacheeva.org/index_slide.htm, May 1, 2018.
ศิริลักษณ์ วงษ์วิจิตสุข. Biomarkers กับบทบาทที่สำคัญในงานอาชีวอนามัย และความปลอดภัย The role of Biomarkers in Occupational Health. วารสาร มฉก. วิชาการ 2552, 12 (24): 89-99.
Kwiatkowska M, Reszka E, Wozniak K, Jabłonska E, Michałowicz J & Bukowska B. DNA damage and methylation induced by glyphosate in human peripheral blood mononuclear cells (in vitro study). Food and Chemical Toxicology 2017; 105: 93-98.
Beuret JC, Zirulnik F & Gime´nez SM. Effect of the herbicide glyphosate on liver lipoperoxidation in pregnant rats and their fetuses. Reproductive Toxicology 2005; 19: 501–504.
Krüger M, Schrödl W, Neuhaus J & Shehata AA. Field Investigations of Glyphosate in Urine of Danish Dairy Cows. J Environ Anal Toxicol 2013; 3 (5): 1-7.
Walsh PL, McCormick C, Martin C & Stocco MD. Roundup Inhibits Steroidogenesis by Disrupting Steroidogenic Acute Regulatory (StAR) Protein Expression. Environmental Health Perspectives2000; 108 (8): 769- 776.
SamselA & Seneff S. Glyphosate’s Suppression of Cytochrome P450 Enzymes and Amino Acid Biosynthesis by the Gut Microbiome: Pathways to Modern Diseases. Entropy 2013; 15: 1416-1463.
Richard S, Moslemi S, Sipahutar H, Benachour N & Seralini GE. Differential Effects of Glyphosate and Roundup on Human Placental Cells and Aromatase. Environmental Health Perspectives 2005; 113 (6): 716- 720.
George J, Prasad S, Mahmood Z &Shukla Y. Studies on glyphosate-induced carcinogenicity in mouse skin: A proteomic approach. JOURNAL OF PROTEOMICS 2010; 73: 951 – 964.
Acquavella FJ, Alexander HB, Mandel SJ, Gustin C, Baker B, Chapman P &Bleeke M. Glyphosate
Biomonitoring for Farmers and Their Families: Results from the Farm Family Exposure Study. Environmental Health Perspectives 2004; 112 (3): 321-326.
KrügerM, SchledornP, SchrödlW, HoppeHW, LutzW&ShehataAA. Detection of Glyphosate Residues in Animals and Humans. J Environ Anal Toxicol 2014; 4 (2):1-5.
Morshed M. Md, Omar D, Mohamad BR & Wahed B. Abd. S. African Journal of Agricultural Research 2011; 6 (17): 4010-4018.
Anadón A, Martínez-Larran˜aga, MR, Martínez MA, Castellano VJ, Martínez M, Martin MT, et al.
Toxicokinetics of glyphosate and its metabolite aminomethylphosphonic acid in rats. Toxicology Letters 2009;190: 91–95.
ภัทรารัตน์ เทียมเก่า. ความเป็นพิษของไกลโฟเสทและการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า ม.ป.ป; 32 (3): 71 – 79.
Krüger M, Schledorn P, Schrödl W, Hoppe HW, Lutz W & Shehata AA. Detection of Glyphosate Residues in Animals and Humans. J Environ Anal Toxicol 2014; 4 (2): 1-5.
Knudsen EL, Hansen WP, Mizrak S, Hansen KH, Mørck AT, Nielsen F, et al. Biomonitoring of Danish school children and mothers including biomarkers of PBDE and glyphosate. Rev Environ Health 2017; 32 (3): 279–290.
Silva V, et al. Distribution of glyphosate and aminomethylphosphonic acid (AMPA) in agricultural topsoils of the European Union. Science of the Total Environment 2018; 621: 1352–1359.
Primost JE, Marino D J.G., Aparicio VC, Costa JL & Carriquiriborde P. Glyphosate and AMPA, “pseudopersistent” pollutants under realworld agricultural management practices in the Mesopotamic Pampas agroecosystem, Argentina. Environmental Pollution 2017; 229: 771-779.
Conrad A, Schröter-Kermani C, Hoppe HW, Rüther Maria, Pieper S & Kolossa-Gehring M. Glyphosate in German adults – Time trend (2001 to 2015) of human exposure to a widely used herbicide. International Journal of Hygiene and Environmental Health 2017; 220: 8–16.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.