ความชุกของอาการทางสายตาและความล้าทางสายตาในกลุ่มพนักงานขับรถ กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย

คำสำคัญ:

อาการความล้าตา, ความล้าของตา, พนักงานขับรถ

บทคัดย่อ

          ความล้าของตาเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งในการขับขี่รถยนต์ วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาความชุกความล้าของตาของในพนักงานขับรถของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน จ.นครศรีธรรมราชโดยศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีกลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานขับรถ สังกัดมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 30 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน กันยายน– พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปและอาการความล้าของตาในกลุ่มพนักงานขับรถ และทดสอบความล้าของตาหรือ Critical Flicker Frequency test (CFF) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายทั้งหมด ส่วนใหญ่อายุ 40-49 ปี คิดเป็นร้อยละ 53.3 ทำงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 8 ชม./วัน คิดเป็นร้อยละ 60.0 อายุงานน้อยกว่าเท่ากับ 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 66.8 มีการพักผ่อนเพียงพอ คิดเป็นร้อยละ 73.3 กลุ่มตัวอย่างสวมใส่แว่นตาขณะขับรถ คิดเป็นร้อยละ 40.0 สำหรับสภาพแวดล้อมภายในรถ พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นว่า แสงสว่างจ้าเกินไป คิดเป็นร้อยละ 90.0 และกลุ่มตัวอย่างมีการติดฟิล์มกรองแสงที่รถทุกคัน อาการความล้าตาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอาการ ตาพร่ามัว คิดเป็นร้อยละ 53.3 ปวดศีรษะ คิดเป็นร้อยละ 46.7 และแสบตาคิดเป็นร้อยละ 43.7 ตามลำดับ ความชุกของความล้าของตาในพนักงานขับรถคิดเป็นร้อยละ 43.3 พนักงานขับรถทุกคนควรได้รับการป้องกันและดูแลสุขภาพทางสายตา

References

ณัชยา แซ่เจิ้นกลางเดือน โพชนา และองุ่น สังขพงศ์. ความชุกและปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่มีผลต่ออาการผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อของพนักงานขับรถตู้โดยสารประจำทาง: กรณีศึกษา สถานีขนส่งอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิจัย มข 2557, 19 (1), 107-118.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ.อุบัติเหตุจราจรทางบก [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2561]. แหล่งข้อมูล: http://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries21.html

สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน 2561]. แหล่งข้อมูล : http://www.manager.co.th/local/ViewNews.aspx?NewsID=9570000042059

ปณิชา ตั้งตรงจิตร.ดวงตาเมื่อยล้า [อินเตอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2561]. แหล่งข้อมูล :http://www.healthtodaythailand.net/

กนิษฐา บุญภา, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเมื่อยล้าในพนักงานขับรถโดยสารประจำทางขนส่งมวลชนกรุงเทพ เขตการเดินรถแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร.วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2556, 8 (2) : 54-66.

สุรภา โพธิ์ปัญญาศักดิ์, ไพโรจน์ ลดาวิจิตรกุล. ผลกระทบจากการทำงานทางกายต่อความล้าทางสายตาและการตัดสินใจ โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีตรวจจับสัญญาณ.การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี 2554;20-21 ตุลาคม 2554; มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี; 2554. หน้า.503-508.

Phatrabuddha S, Wonginta T,Phatrabuddha N. Prevalence of Fatigue and Its Determinants among

Chemical Transportation Drivers in Chonburi. App. Envi. Res 2017, 39 (1): 23-32.

William A, Satariano KE, MacLeod TE, Cohn DR, Ragland. Problems With Vision Associated With Limitations or Avoidance of Driving in Older Populations. The Journals of Gerontology: Series B 2004, 59 (1): S281–S286.

Bekibele CO, Fawole OI, Bamgboye AE, Adekunle LV, Ajav R, Baiyeroju AM. Risk factors for road traffic accidents among drivers of public institutionsin Ibadan, Nigeria. Afr J Health Sci. 2007;14:137-142.

SieberWKl, Robinson CF, Birdsey J, Chen GX, Hitchcock EM, Jennifer Lincoln EM, Nakata A, Marie H, Sweeney. Obesity and other risk factors: The National Survey of U.S. Long-Haul Truck Driver Health and Injury. Am J Ind Med. 2014 Jun;57 (6): 615-26.

สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ.การดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2561 [อินเตอร์เน็ต]. 2557 [สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2561]. แหล่งข้อมูล: http://pr.prd.go.th/buengkan/download/article/article_20171218151847.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28