การศึกษาการรับสัมผัสสารโทลูอีนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ของพนักงานในโรงงานผลิตรองเท้าแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์

คำสำคัญ:

สารโทลูอีน, คุณภาพชีวิตในการทำงาน, กรุงเทพมหานคร, ชั่วโมงการทำงาน

บทคัดย่อ

          พนักงานแผนกประกอบรองเท้ามีหน้าที่ใช้สารโทลูอีนทาบนรองเท้า มีการทำงานวันละ 8 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้นถ้าต้องทำงานล่วงเวลา จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะรับสัมผัสสารโทลูอีนได้โดยง่าย การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการรับสัมผัสสารโทลูอีนในปัสสาวะและปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานแผนกประกอบรองเท้าในโรงงานผลิตรองเท้าแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร โดยการศึกษาในกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและเก็บตัวอย่างปัสสาวะหลังเลิกงาน เพื่อตรวจวัดปริมาณการรับสัมผัสสารโทลูอีนในปัสสาวะผลการศึกษาพบว่า เป็นพนักงานหญิง (90.6%) และพนักงานชาย (9.4%) มีอายุเฉลี่ย 29.63 ปี มีสภาพการทำงานในแต่ละวันในหน้าที่หลักวันละ 12 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 28.8 และทำงาน 6 วันต่อสัปดาห์ ร้อยละ 100.0 มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจทุกครั้ง ร้อยละ 63.1 โดยส่วนใหญ่มีการใช้แผ่นกรองอนุภาคร้อยละ 66.7 และสารโทลูอีนในปัสสาวะหลังสิ้นสุดการทำงาน (n=160) มีค่าเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของ 25.43 ± 32.574μg/l และมีระดับคะแนนของคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 65.0 และเมื่อหาความสัมพันธ์พบว่า ชั่วโมงการทำงานต่อวัน (r=0.243, p=0.049) สารโทลูอีนในปัสสาวะ (r=-0.172, p=0.029) ระดับการศึกษาสูงสุด (p=0.003) และการล้างหน้าในหนึ่งวัน (p=0.041) มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และควรให้ความสำคัญกับโปรแกรมการป้องกัน ควบคุมและส่งเสริมสุขภาพรวมถึงการแนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจที่ถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

References

Ciarrocca M, Tomei G, Fiaschetti M, Caciari T, Cetica T, Cetica C, Andreozzi G, Capozzella A, Schifano MP, Andre JC, Tomei F, Sancini A. Assessment of occupational exposure to benzene, toluene and xylenes in urban and rural female workers. Chemosphere. 2012; 87 (7): 813-9.

Moolla R, Curtis CJ, Knight J. 2015. Assessment of occupational exposure to BTEX compound at a bus diesel- refueling bay: A case study in Johannesburg, South Africa. Sci Total Environ 2015; 537:51-7.

วชร โอนพรัตน์วิบูลและอดุลย์ บัณฑุกุล. สารตัวทำละลายอินทรีย์. ตำราอาชีวเวชศาสตร์ text books of occupational medicine. กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 2554.

DennisonJE, Bigelow PL, Mumtaz MM, Anderson ME, Dobrev ID, Yang RS. Evaluation of potential toxicity from co-exposure to three CNS depressants (toluene, ethylbenzene and xylene) under resting and working conditions using PBPK. J Occup Environ Hyg 2005; 2(3): 127-35.

Chang FK, Chen ML, Cheng SF, Shih TS, Mao IF. Dermal Absorption of Solvents as a Major Source of Exposure Among Shipyard Spray Painters. J Occup Environ Med 2007; 49: 430-6.

ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์. การประเมินผลกระทบต่อสุขภาพจากการสัมผัสสาร organic solvent ในกลุ่มปฏิบัติงานกับรถโดยสารธรรมดา.คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.

Ongwandee M, Chavalparit O. Commuter exposure to BTEX in public transportation modes in Bangkok, Thailand. J Environ Sci (China) 2010; 22 (3): 397 – 404.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: จามจุรีโปรดักส์. 2551.

ACGIH. Threshold limit values for the Chemical substances and physical agents and biological exposureindicies. American Conference of Governmental Industrial Hygienists, Cincinnati, Ohio, USA. 2012.

Todd LA, Mottus K, Mihlan GJ. A survey of airborne and skin exposure to chemicals in footwear and equipment factories in Thailand. J Occup Environ Hyg 2008; 5 (3): 169-81.

Todd L, Puangthongthub ST, Mottus K, Mihlan G, Wing S. Health survey of workers exposed tomixed solvent and ergonomic hazards in footwear and equipment factory workers in Thailand. Ann OccupHyg. 2008; 52 (3): 195-205.

Mandiracioglu A, Akgur S, Kocabiyik N, Sener U. Evaluation of neuropsychological symptoms and exposure to benzene, toluene and xylene among two different furniture worker groups in lzmir. Toxico and Health. 2011; 27 (9):802-9.

Heibati B, Godri Pollitt KJ, Charati JY, Ducatman A, Shokrzadeh M, Karimi A, Mohammadyan M. Biomonitoring- based exposure assessment of benzene, toluene, ethylbenzene and xylene among workers at petroleum distribution facilities. Ecotoxicol Environ Saf. 2018; 149:19-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28