ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและความเครียดจากการทำงาน ในอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็ก
คำสำคัญ:
การยศาสตร์, อุตสาหกรรมหลังคาเหล็ก, ความเครียดจากการทำงาน, การประเมินความเสี่ยงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-Sectional Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติของระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและความเครียดจากการทำงานในพนักงานอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กจากกลุ่มตัวอย่าง97 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลส่วนบุคคล ภาวะด้านสุขภาพ ลักษณะงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน อุปกรณ์เซฟตี้ การรับรู้ภาระงาน และอาการผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อผลการศึกษาพบว่าพนักงานส่วนใหญ่ (ร้อยละ 97.9) เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 34.61 ปี มีประสบการณ์ทำงานช่วง 5-10 ปี (ร้อยละ 45.3) และพนักงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานในระดับปฏิบัติการร้อยละ 73.2 โดยมีอัตราความชุกของ MSDs ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีค่าเท่ากับร้อยละ 66.0 (95%CI= 56.4-75.6) และในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา มีค่าเท่ากับร้อยละ 99.0% (95%CI= 96.9%-100.0%) และระดับการรับรู้ความรู้สึกไม่สบายในระดับปานกลางขึ้นไป โดยตำแหน่งที่รับรู้สูงสุดคือ หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 33) รองลงมาคือเท้า/ข้อเท้าและไหล่ (ร้อยละ 26.8 และ 25.8) ตามลำดับ พนักงานส่วนใหญ่มีความถี่ของอาการปวด 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 47.4) และ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 30.9) ตามลำดับ และพบว่าตำแหน่งที่มีความเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อสูงสุด 3 อันดับแรกคือ หลังส่วนล่าง (ร้อยละ 18.7) รองลงมาคือไหล่ เท้า/ข้อเท้า (ร้อยละ 12.4) และหัวเข่า (ร้อยละ 10.31) ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าพนักงานมากกว่าร้อยละ 50 มีความเครียดจากการทำงานอยู่ในระดับสูง (SWI≥3) ซึ่งหมายถึง มีความรู้สึกไม่สบายมาก ผลการศึกษานี้พบว่าค่าความชุกสูงในบริเวณตำแหน่งของ หลังส่วนล่าง เท้าข้อเท้า และไหล่ในพนักงานรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กและนอกจากนี้ยังพบปัญหาด้านความเครียดจากการทำงานสูงด้วย ดังนั้นการศึกษาครั้งต่อไป ควรมีการศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับ MSDs และประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยงต่อความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในพนักงานอุตสาหกรรมรีดขึ้นรูปหลังคาเหล็กต่อไป
References
สุนิสา ชายเกลี้ยง. สรีรวิทยาการทำงานและการยศาสตร์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.
สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. (2560). มาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทำงานฉบับเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2560. ค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2560 จาก http://www.sso.go.th/sites/default/files/skt300551.pdf
อิสรีย์รัช สืบศรี มณัฑนา ดำรงศักดิ์ และ ธีรนุช ห้านิรัติศัย. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบาดเจ็บโครงร่างกล้ามเนื้อที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในผู้ประกอบอาชีพผลิตธูป. พยาบาลสารปีที่ 40; ฉบับพิเศษ พฤศจิกายน: 108-19
จันจิราภรณ์ วิชัย และ สุนิสา ชายเกลี้ยง.การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ ในพนักงานที่มีการยกเคลื่อนย้ายวัสดุ. วารสารวิจัย มข.2557; 19 (5) : 708-19
สุนิสา ชายเกลี้ยง และ ธัญญาวัฒน์ หอมสมบัติ. การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์การทำงานโดยมาตรฐาน RULA ในกลุ่มแรงงานทำไม้กวาดร่มสุข. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร. 2554; 26 (1): 35-40
โรจกร ลือมงคล และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. ความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อและความเครียดจากการทำงานของพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉินในโรงพยาบาลศูนย์เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร. 2557; 29 (6): 516-23
พรวดี มะหิงษา, ถิรพงษ์ ถิรมนัสและปวีณา มีประดิษฐ์. ผลของความเครียดที่มีต่อการบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานของพนักงาน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา.2552; 4 (2): 44-53
นภานันท์ ดวงพรม และสุนิสา ชายเกลี้ยง. การรับรู้ความผิดปกติของระบบโครงร่างกล้ามเนื้อในพนักงานผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยมข. 2556; 18 (5): 880-91
อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ.พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น : โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2551
จันทิมา ดรจันทร์ใต้ และ สุนิสา ชายเกลี้ยง. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อการปวดไหล่ของพนักงานในกระบวนการผลิตมันฝรั่งทอดกรอบ. 2560; 29 (2): 138-50
สุนิสา ชายเกลี้ยง, พรนภา ศุกรเวทย์ศิริ, วิภารัตน์ โพธิ์ขี. รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ ปัจจัยเสี่ยง ความเสี่ยงทางการยศาสตร์ และความชุกของการปวดหลังของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิกส์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2558.
นริศ เจริญพร. การยศาสตร์.ปทุมธานี. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2543
วิวัฒน์ สังฆะบุตร และ สุนิสา ชายเกลี้ยง (2556). ความชุกของความผิดปกติทางระบบโครงร่างและกล้ามเนื้อในแรงงานนอกระบบกลุ่มตัดเหล็กปลอกเสาระบบมือโยก อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัย มข. (บศ.). 2556; 13 (1): 135-44
กำพล นาคเจริญวารี, ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์, จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ และอรวรรณ แก้วบุญชี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของพนักงานในโรงงานประกอบสายไฟสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าในการนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2558; 29 (1) 1-14
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.