การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม
The Development of Dependent Elderly Care Systems for the Elderly in Sri Songkhram District, Nakhon Phanom Province
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบการดูแลบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบลงมือปฏิบัติร่วมกัน (Multi collaboration action research) นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม และ 2) ประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมกราคม - กันยายน 2566 ผู้ร่วมวิจัย ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้พัฒนาระบบ 30 คน 2) กลุ่มผู้ร่วมวิจัย 250 คน ประกอบด้วย ผู้ดูแลผู้สูงอายุ 125 คน และผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง 125 คน เลือกผู้เข้าร่วมการวิจัยโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมินทักษะและแบบประเมินความพึงพอใจในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสำหรับผู้ดูแล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหาความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ และทักษะการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ก่อนและหลังการพัฒนาระบบ โดยใช้สถิติ t-test (paired samples) วิเคราะห์เปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้ดูแล หลังการพัฒนาระบบเทียบกับเกณฑ์ 4.0 คะแนน (ร้อยละ 80) โดยใช้สถิติ t-test (one samples) ผลการวิจัยมีดังนี้ (1) ด้านผลเชิงกระบวนการ พบว่าเกิดระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มีแนวปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุร่วมกัน (CPG) มีการเชื่อมต่อข้อมูล มีเครือข่ายกลุ่มการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง มี Care giver มีระบบการยืมอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ให้ผู้ป่วยนำกลับไปใช้ที่บ้าน ทีมสหวิชาชีพร่วมกันวางแผนการดูแลล่วงหน้า ตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มเข้ารักษาจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต และมีการระดมทุน เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง และ (2) ด้านผลลัพธ์ พบว่า ทำให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับการดูแลต่อเนื่องตามตัวชี้วัดที่พัฒนาขึ้น หลังพัฒนาระบบ ผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสูงกว่าก่อนพัฒนาระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังพัฒนาระบบ ผู้ดูแลมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงสูงกว่าเกณฑ์ 4.00 คะแนน (ร้อยละ 80.00) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p< 0.05)
References
รติมา คชนันท์. สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร; 2561.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2559. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย; 2561.
กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์ และปภาวี ไชยรักษ์. การประเมินผลนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาอนามัยการเจริญพันธุ์แห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560 - 2569) ว่าด้วยการส่งเสริมการเกิดและการเจริญเติบโตอย่างมีคุณภาพ (ระยะครึ่งแผน). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2564.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.; 2563.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2560.
ชาย โพธิสิตา และสุชาดา ทวีสิทธิ์, (บรรณาธิการ). ประชากรและสังคม 2552 : ครอบครัวไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่านทางสังคมและประชากร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา; 2552.
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และคณะ. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดีเซมเบอรี่ จำกัด; 2561.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีสงคราม. สรุปผลการดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ปี 2566. กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีสงคราม. นครพนม: สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีสงคราม (เอกสารอัดสำเนา); 2566.
ภัทรานิษฐ์ ก้อนคำ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงแบบมีส่วนร่วมในชุมชนเขตเทศบาลตำบลน้ำปลีก อำเภอเมืองอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ [วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. [มหาสารคาม]: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.
รัชชานันท์ ศรีสุภักดิ์. รูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม [วิทยานิพนธปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. [มหาสารคาม]: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2559.
นพณพิชญ์ ศรีรัตนประชากูล. การพัฒนากระบวนการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ภายใต้กองทุนดูแลผู้สูงอายุระยะยาวขององค์การบริหารส่วนตำบลปอพานอำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม [วิทยานิพนธปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. [มหาสารคาม]: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2563.
ศศินันท์ สายแวว. การพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในพื้นที่ตำบลนาเจริญ อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. [มหาสารคาม]: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.
สุวิมลรัตน์ รอบรู้เจน. การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2560;9(3):57–69.