การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ได้รับการระงับความรู้สึก ทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลศรีสงคราม: เปรียบเทียบกรณีศึกษา 2ราย
Nursing Care of Pregnant Women with Pregnancy Induce Hypertension who Receive General Anesthesia for Cesarean Section at Srisongkram Hospital : Two Comparative Case Studies
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั่วร่างกายเพื่อผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลศรีสงคราม และเพื่อนำผลการศึกษาไปปรับใช้กับแนวปฏิบัติเรื่องการระงับความรู้สึกทั่วร่างกายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษเพื่อผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลศรีสงคราม
ผลการศึกษา: จากการศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลกรณีศึกษาทั้ง 2 ราย พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 มีภาวะความดันโลหิตสูงตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ร่วมกับมีภาวะครรภ์เป็นพิษ ขณะรอคลอดทารกในครรภ์ไม่เป็นภาวะปกติ(non-reassuring fetal status) กรณีศึกษารายที่ 2 อายุครรภ์ยังไม่ครบกำหนดคลอดและมีภาวะครรภ์เป็นพิษ กรณีศึกษาทั้ง 2 รายยุติการตั้งครรภ์โดยการผ่าตัดคลอดภายใต้การระงับความรู้สึกทั่วร่างกาย และได้รับการพยาบาลระหว่างและหลังให้ยาระงับความรู้สึกตามมาตรฐานโดยวิสัญญีพยาบาลที่ผ่านการอบรมตามมาตรฐานราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์ สามารถใส่ท่อช่วยหายใจได้ในครั้งเดียว ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงทั้งในระหว่างและหลังให้ยาระงับความรู้สึก
สรุปผลการศึกษา: การระงับความรู้สึกทั่วร่างกายในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงคุกคามชีวิตของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ได้ ดังนั้น วิสัญญีพยาบาลควรมีความรู้เกี่ยวกับโรค การรักษาและยาที่ผู้ป่วยได้รับก่อนให้การระงับความรู้สึก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับกายวิภาคที่เปลี่ยนแปลงในหญิงตั้งครรภ์ซึ่งมีผลทำให้เสี่ยงต่อการใส่ท่อช่วยหายใจยาก ตลอดจนมีการฝึกทักษะการใส่ท่อช่วยหายใจอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญ และสามารถนำความรู้มาเชื่อมโยงกับการดูแลผู้ป่วยทั้งในระยะก่อน ขณะและหลังให้ยาระงับความรู้สึกได้อย่างปลอดภัย ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้
References
จันทนา ธรรมธัญญารักษ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกในการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วไปในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่มารับการผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลนครนายก. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย[อินเตอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2566]; 7(1):41-56.เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/apnj/article/view/225042
อุไรรัตน์ นาจำเริญ.การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเนื่องจากการตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับ มีภาวะอ้วนและภาวะขี้เทาปนน้ำคร่ำ: กรณีศึกษา. ชัยภูมิวารสาร[อินเตอร์เน็ต]. 2565[เข้าถึงเมื่อ 30 ตุลาคม 2566]; 1:1126-141.เข้าถึงได้จาก: https://thaidj.org/index.php/CMJ/article/view/12026/10396
สรรชัย ธีรพงศ์ภักดี. การให้ยาระงับความรู้สึกใน Pregnancy Induced Hypertension. ใน: สรรชัย ธีรพงศ์ภักดี, วราภรณ์ เชื้ออินทร์, บรรณาธิการ. วิสัญญีวิทยาในสูติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา. 2549. หน้า 217-228.
รังสรรค์ เดชนันทพิพัฒน์,สุชยา ลือวรรณ. ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ (Hypertension in Pregnancy).2563. ใน: สูติศาสตร์ล้านนา[อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563 [เข้าถึงเมื่อ21ตุลาคม2566]. เข้าถึงได้จาก:https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6655/
ดรุณี คำปาน. การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกทั่วไปในผู้ป่วยครรภเป็นพิษเพื่อทำผ่าตัดคลอดบุตรและทำหมัน. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี[อินเตอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2566]; 29:91-104.เข้าถึงได้จาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/249645
คณาจารย์ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา. Guideline for Preeclampsia. 2563. ใน: สูติศาสตร์ล้านนา[อินเตอร์เน็ต]. เชียงใหม่: ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563 [เข้าถึงเมื่อ21ตุลาคม2566]. เข้าถึงได้จาก: https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lessons/guideline-for-preeclampsia/
กิติพร กางการ.การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรงขณะตั้งครรภ์ร่วมกับการคลอดก่อนกำหนดในระยะคลอด : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม[อินเตอร์เน็ต]. 2562[เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2566]; 16:23-35. เข้าถึงได้จาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/244852/166445
กรมควบคุมโรค[อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: สำนักงาน; 2562. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertention); 2562 [เข้าถึงเมื่อ 21 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=52
นลีนี โกวิทวนาวงษ์.การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนผ่าตัด(Preoperative Evaluation and Preparation). ใน : วิรัตน์ วศินวงค์, ธวัช ชาญชญานนท์, ศศิกานต์ นิมมานรัชต์, ธิดา เอื้อกฤดาธิการ, บรรณาธิการ. วิสัญญีวิทยาพื้นฐาน. พิมพ์ครั้งที่2. สงขลา: หน่วยผลิตตำราคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 2552. หน้า 183-247.