ผลของการพยาบาลการให้คำปรึกษาแบบสั้นต่อการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลนครพนม
The Effects of brief counseling on self-management of the uncontrolled hypertensive patients in Nakhon Phanom hospital
คำสำคัญ:
การให้คำปรึกษาแบบสั้น , โรคความดันโลหิตที่ควบคุมไม่ได้, การจัดการตนเองบทคัดย่อ
การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทำการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการพยาบาล การให้คำปรึกษาแบบสั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ คลินิกความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลนครพนม จำนวน 42 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบสั้น 2 ) แบบประเมินพฤติกรรมการจัดการตนเองต่อโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 50 ข้อ 6 ด้าน การทดสอบความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.93 กลุ่มตัวอย่างจะได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบสั้น โดยใช้ทักษะ 3As คือ 1) Affirmation 2) Ask 3) Advice จำนวน 3 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติ t-test พบว่า
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ มีคะแนนเฉลี่ยการจัดการตนเองโดยรวมหลังได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบสั้นมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรม (คะแนนเฉลี่ยกก่อนได้รับโปรแกรมอยู่ในระดับปานกลาง = 3.24 SD = 0.32 และหลังได้รับโปรแกรมอยู่ในระดับมากที่สุด = 4.45 SD = 0.32 ) โดยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.024)
ข้อเสนอแนะ
การให้คำปรึกษาแบบสั้นส่งผลให้การจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ มีระดับคะแนนที่สูงขึ้น จึงควรสนับสนุนให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานนำไปใช้ โดยการฝึกอบรมความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยที่มารับบริการสามารถปฏิบัติตามคำแนะนำได้และสามารถจัดการตนเองได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ กลุ่มพัฒนาระบบสาธารณสุข. ประเด็นรณรงค์เนื่องในวันความดันโลหิต สูงโลก ประจำปี 2561. 2561 [16 ต.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก www.thaincd.com/document/file/ info/non-communicable-disease.
World Health Organization (WHO). A global brief on hypertension silent killer, global public health crisis. 2013. [16 Oct 2020]. Available from: apps.who.int/ iris/handle/10665/79059
สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.). โรคไม่ติดต่อ. 2563 [16 ต.ค. 2563]. เข้าถึงได้จาก:https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11
Lorig K, Holman HR. Self-Management Education: History, Definition, Outcomes, and Mechanisms. Annals of Behavioral Medicine l.
[16 Oct 2020]; 26: 1-7. Available from: http://dx.doi.org/10.1207/S15324796ABM2601_01
Otang-Mbeng W, Otunola GA, Afolayan AJ. Lifestyle factors and co-morbidities associated with obesity and overweight in Nkonkobe Municipality of the Eastern Cape, South Africa. J Health Popul Nutr. 2017; 36: 22. doi: 10.1186/s41043-017-0098-9.
Rubak S, Sandback A, Lauritzen T, Christensen B. Motivational interviewing: a systematic review and meta-analysis. British Journal of General Practice. 2005; April: 305-11.
เทอดศักดิ์ เดชคง. ผลของการสนทนา สร้างแรงจูงใจต่อการลดค่าซิสโตลิก ในผู้ป่วยโรค ความดันโลหิตสูง. กระบี่เวชสาร. 2563; 3: 19-26.
Miller W, Rollnick S. Motivational interviewing: Helping people change. 3rd New York: Guilford Press; 2013. 449 pages.
Unger T, Borghi C, Charchar F, Khan NA, Poulter NR, Prabhakaran D, et al. International society of hypertension global hypertension practice guidelines. Hypertension. 2020; 75: 1334-57. doi: 10.1161/HYPERTENSIONAHA.120.15026.
เทอดศักดิ์ เดชคง. คู่มือการให้คำปรึกษาเพื่อ สร้างแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพ (Motivational Counseling)สำหรับผู้ให้คำปรึกษาในระบบสาธารณสุข.โครงการพัฒนาการศึกษาวิจัยอย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรม; 2556.
Creer LT. Self-management to chronic illness. Handbook of self-regulation. California: Academic. 2000. 816 pages.
ณัฐธิดา กันสาตร์, ชมนาด วรรณพรศิริ, สุภาพร แนวบุตร. การศึกษาการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดัน
โลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมโรคได้ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 2559; 10; 25-34.
Chodsh J, Morton SC, Mojica W, Maglione M, Suttorp MJ, Hillon L. Meta-Analysis: Chronic disease self-management for older adults. Annal of internal medicine. 2005; 143: 427-38.
เนาวรัตน์ จันทานนท์, บุษราคัม สิงห์ชัย, วิวัฒน์ วรวงษ์. พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร. KKU Res. J. 2554; 16; 749-58.
ศิริวัฒน์ วงค์พุทธคำ. ผลของการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและความดันโลหิตสูงของผู้ป่วยความดันโลหิตสูง. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; เชียงใหม่: 2551. 106 หน้า.
จารุณี ปลายยอด, อรสา พันธ์ภักดี, ชีวรัตน์ ต่ายเกิด. ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดูแลตนเองต่อการรับรู้ความสามารถในการดูแลตนเองน้ำหนักตัว และการควบคุมความดันโลหิตของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. Nurs Res Inno J. 2013 [1 Nov 2023]; 18: 223-36. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/8957
กิรณา อรุณแสงสด, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล, อรสา พันธ์ภักดี. ผลของโปรแกรมการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจแบบสั้นต่อความรู้ แรงจูงใจ และความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข. 2557; 28: 129-44.
กมลพรรณ วัฒนากร, อาภรณ์ ดีนาน, สายใจ พัวพั นธ์, Schneider JK. ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคเบาหวานคน ไทยที่มีภาวะอ้วน. Pacific Rim Int J NursRes. 2556; 17: 356-70.
รัชนี อุทัยพันธ์, เพ็ญนภา แดงด้อมยุทธ์. ผลของการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้าง แรงจูงใจแบบกลุ่มต่อความร่วมมือในการักษาด้วยของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต. 2556; 27: 136-48.
องค์อร ประจันเขตต์. ผลของการให้คำปรึกษาโดยการสัมภาษณ์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจต่อความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสเอดส์. (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยมหิดล; กรุงเทพฯ: 2551.