การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเกินในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับการปิดรูรั่ว ด้วยอุปกรณ์พิเศษชนิด PDA occluder device ผ่านสายสวนหัวใจ : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ
Nursing care of the patient with Patent Ductus Arteriosus in Adult of Transcatheter closure of the patent ductus arteriosus with the PDA occluder device: The Comparative Case Study
คำสำคัญ:
การพยาบาลโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน, การปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษผ่านสายสวนหัวใจบทคัดย่อ
โรคหลอดเลือดหัวใจเกินในผู้ป่วยผู้ใหญ่ การรักษาเพื่อปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษผ่านสายสวนหัวใจเป็นที่นิยม เนื่องจากมีแผลขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย ภาวะแทรกซ้อนต่ำ ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลสั้น ดังนั้นการพยาบาลโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับการปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษชนิด PDA occluder device ผ่านสายสวนหัวใจที่มีคุณภาพได้มาตรฐานวิชาชีพ จักช่วยส่งเสริมและฟื้นฟูสภาพหลังการรักษาให้เร็วยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลโรคหลอดเลือดหัวใจในผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่ได้รับการปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษชนิด PDA occluder device ผ่านสายสวนหัวใจ ในระยะก่อน ขณะและระยะหลังทำหัตถการ
รูปแบบการศึกษา : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย โดยใช้กระบวนการพยาบาลทั้ง 5 ขั้นตอน ได้แก่ การประเมิน การวินิจฉัย การวางแผน การปฏิบัติ และการประเมินผลทางการพยาบาล เครื่องมือประกอบด้วย แบบบันทึกรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน โดยวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยเสี่ยง พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาและการวินิจฉัยทางการพยาบาล ตามระยะก่อน ขณะและหลังทำหัตถการ
ผลการศึกษาสรุป : พบว่า กรณีศึกษารายที่ 1 เป็นโรคหัวใจช่วงระหว่างตั้งครรภ์ มีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอกนอนราบไม่ได้ ฟังเสียงหัวใจมี murmur ผลตรวจคลื่นเสียงสะท้อนพบมีหลอดเลือดหัวใจเกินขนาด 9 มิลลิเมตร ร่วมกับภาวะเลือดลัดวงจรจากซ้ายไปขวาและแรงดันเลือดในปอดสูง การสูบฉีดเลือดของหัวใจร้อยละ 65 สำหรับกรณีศึกษารายที่ 2 เป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด มีอาการเหนื่อยง่าย ใจสั่น ฟังเสียงหัวใจมี murmur ผลตรวจคลื่นเสียงสะท้อนพบมีหลอดเลือดหัวใจเกินและภาวะเลือดลัดวงจรจากซ้ายไปขวา การสูบฉีดเลือดของหัวใจร้อยละ 65 ผู้ป่วยทั้งสองรายกรณีได้รับการทำหัตการปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษ PDA occluder device ในผู้ป่วยรายที่ 2 มีปัสสาวะสีเข้ม hematuria เลือดออกง่ายจากการได้รับยาต้านเกล็ดเลือดและยาละลายลิ่มเลือด
ผู้ป่วยทั้งสองรายได้รับการดูแลตามกระบวนการของ D-METHOD เข้าโปรแกรมการฟื้นฟูสภาพ ร่วมกับนักกายภาพบำบัด มีครอบครัวและญาติร่วมในการดูแลผู้ป่วยจนสามารถดูแลตนเอง จำหน่ายกลับบ้านได้อย่างปลอดภัย
สรุป : พยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ โดยใช้กระบวนการพยาบาลเป็นเครื่องมือในการประเมิน ค้นหาปัญหา เฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลง ให้ครอบคลุมการพยาบาลก่อนและหลังทำหัตถการสวนหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยพัฒนาศักยภาพบุคลากร มุ่งให้ความรู้ เพิ่มพูนคุณภาพการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการปิดรูรั่วด้วยอุปกรณ์พิเศษผ่านการสวนหัวใจต่อไป
References
รุ่งโรจน์ กฤตยพงษ์, เรวัตร พันธุ์กิ่งทองคำ, อดิศักดิ์ มณีไสย. Bedside cardiac procedures in practice. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์; 2557.
รวีพรรณ เลขะวิพัฒน์. การพยาบาลผู้ป่วยเด็กก่อนและหลังการสวนหัวใจเพื่อการรักษา. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย;2556:6(2):15-24.
วีระพล ละวันนา. คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรครูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบนที่เข้ารับการรักษาโดยการใส่อุปกรณ์ปิดรูรั่วที่ผนังกั้นหัวใจห้องบนผ่านทางสายสวนหัวใจ. งานการพยาบาลระบบหัวใจและหลอดเลือด ฝ่ายการพยาบาล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2552.
สุรีย์ เลขวรรณวิจิตร. พยาธิวิทยาของโรคหัวใจ. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2556: 33-81.
Bergersen L. Foerster S. Marshall AC. Meadows J. Precatheterization assessment and preparation. In: Congenital heart disease: the catheterization manual. New York: SpringerScience+Business Media; 2009: 15-28.
Geva T. Martins JD. Wald RM. Atrial septal defects. Lancet; 2014: 383(9932)
Warnes C, Williams R, Bashore T, et al. ACC/AHA 2008 Guidelines for the Management of Adults with Congenital Heart Disease. Circulation 2008;118:e714-833.
Zeming Z, et al. Transcatheter Closure of Patent Ductus Arteriosus via Different Approaches. PubMed Central; 2022.
สีหะพงษ์ เพชรรัตน์ ใน เชิดชัย ตันติศิรินทณ์, (บรรณาธิการ). โรคหัวใจพิการแต่กำเนิดในผู้ใหญ่. มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2563: 596-609.