ผลของการใช้ท่าผีเสื้อประยุกต์ต่อระดับความเจ็บปวด ระยะเวลาในการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก และ APGAR score ของทารกแรกเกิด

Effects of Modified Bhadrasana Pose on Pain Score, Duration Time of Delivery Among Primigravidarum and Newborn APGAR Score

ผู้แต่ง

  • อริษา อนนตะชัย โรงพยาบาลนครพนม
  • โยธกา ภาคี โรงพยาบาลนครพนม
  • อารยา หงษ์รัมย์ โรงพยาบาลนครพนม
  • ปิติพร สุโพเคน โรงพยาบาลนครพนม

คำสำคัญ:

ท่าผีเสื้อประยุกต์, ระดับความเจ็บปวด, ระยะเวลาในการคลอด, APGAR score ของทารกแรกเกิด, ผู้คลอดครรภ์แรก

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม เพื่อศึกษาผลของการใช้ท่าผีเสื้อประยุกต์ต่อระดับความเจ็บปวด ระยะเวลาในการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก และ APGAR score ของทารกแรกเกิด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดครรภ์แรก อายุครรภ์ระหว่าง 37 – 42 สัปดาห์ ที่มาคลอดโรงพยาบาลนครพนม จังหวัดนครพนม แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการใช้ท่าผีเสื้อประยุกต์ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการคลอดและมาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตา ดำเนินการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2566 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติ independent t -test และ exact probability test

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับความเจ็บปวดในระยะปากมดลูกเปิด 5-7 เซนติเมตร และ 8-10 เซนติเมตร น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  และมีค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการคลอดในระยะปากมดลูกเปิดเร็ว น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)  และมีค่าเฉลี่ย APGAR score ของทารกแรกเกิด นาทีที่ 1 ของทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (p = .107) และมีค่าเฉลี่ย APGAR score ของทารกแรกเกิด นาทีที่ 5 มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การใช้ท่าผีเสื้อประยุกต์สามารถลดระดับความเจ็บปวด ลดระยะเวลาการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรกได้ และ ส่งผลให้คะแนน APGAR score นาทีที่ 5 มีคะแนนมากกว่ากลุ่มควบคุม และไม่พบภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด

References

ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการคลอด. ใน: ปิยะนุช ชูโต, บรรณาธิการ. การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีในระยะคลอดและหลังคลอด. เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563. หน้า 13-15.

ACOG. Approaches to limit intervention labor and birth. obstetrics and gynecology 2019; 133(2): 164-73.

World Health Organization. WHO recommendations on intrapartum care for a positive childbirth experience. World Health Organization; 2018.

Lowdermilk DL, Perry SE, Cashion MC, Alden KR, Olshansky E. Maternity and women's health care 12th ed. St. Louis, Missouri: Mosby Elsevier; 2020.

Alehagen S, Wijma K, Wijma B. Fear during labor. Acta obstetrician et gynecologica Scandinavica 2001; 80(4): 315-320.

Toohill J, Fenwick J, Gamble J, Creedy D. Prevalence of childbirth fear in an australian sample of pregnant women. Biomed central pregnancy & childbirth 2014; 14(275): 1-10. doi: 10.1186/1471-2393-14-275.

ปิยะนุช ชูโต. การพยาบาลและการผดุงครรภ์: สตรีในระยะคลอดและหลังคลอด. เชียงใหม่: โครงการตำรา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2563.

Bryant H, Yerby M. Relife of pain during laboyr. MylesMidwifery 13th ed. Edinburgh: Churchill Livingstone; 2004. p. 458-75.

งานห้องคลอด, สถิติห้องคลอด โรงพยาบาลนครพนม ปี 2563-2565. นครพนม: โรงพยาบาลนครพนม; 2566.

Chapman V,Charles C. The Midwife's Labour and Birth Handbook 4th ed. New Jersey: John Wiley & Sons Ltd; 2018. p. 433-40.

Lawrence A, Lewis L, Hofmeyr GJ, Styles C. Maternal positions and mobility during first stage labour. Cochrane Database of Systematic Reviews 2013; 8.

Sun YC, Hung YC, Chang Y, Kuo SC. Effects of a prenatal yoga program on the discomforts of pregnancy and maternal childbirth self-efficacy in Taiwan. Midwifery2010; 26(6): 31-36.

Babbar S,ShykenJ. Yoga in pregnancy. Clinical obstetrics and gynecology 2016;59(3):600-612.

กิตติ ด้วงมณี. ผลของการจัดท่าผีเสื้อประยุกต์ต่อความปวด และเวลาในระยะปากมดลูกเปิดเร็วในหญิงระยะคลอด (วิทยานิพนธ์). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; สงขลา: 2558. 125 หน้า

Melzack R. Phantom body pain in paraplegics: Evidence for a central "pattern generating mechanism" for pain 1978; 4(3): 195-210. doi: 10.1016/0304-3959(77)90133-6.

GizzoS, Di Gangi S, Noventa M, Bacile V, Zambon A, Nardelli GB. Women’s choice of positions during labour: return to the past or a modern way to give birth? A cohort study in Italy. BioMed research International; 2014. doi: 10.1155/2014/638093.

สุดารักษ์ ประสาร, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, และตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. ผลของโปรแกรมการสนับสนุนการคลอดอย่างต่อเนื่องต่อความกลัวการคลอด และผลลัพธ์ของการคลอดของผู้คลอดครรภ์แรก. วารสารการพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 2564; 31(1): 148-60.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-04

How to Cite

อนนตะชัย อ. ., ภาคี โ., หงษ์รัมย์ อ., & สุโพเคน ป. . (2024). ผลของการใช้ท่าผีเสื้อประยุกต์ต่อระดับความเจ็บปวด ระยะเวลาในการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก และ APGAR score ของทารกแรกเกิด: Effects of Modified Bhadrasana Pose on Pain Score, Duration Time of Delivery Among Primigravidarum and Newborn APGAR Score. วารสารการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยนครพนม, 2(2). สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/bcnnjournal/article/view/3272