เกี่ยวกับวารสาร
ประวัติและนโยบายของวารสารการพยาบาลและนวัตกรรม
ประวัติวารสาร (Journal History)
วารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ (Nursing and Health Innovation Journal) ดำเนินการผลิตในปี พ.ศ. 2565 โดยสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช โดยวารสารมีเป้าหมายยกระดับคุณภาพมาตรฐานเพื่อให้ได้รับการรับรองคุณภาพจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (Thai-Journal Citation Index Centre หรือศูนย์ TCI) และถูกคัดเลือกเข้าสู่ฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) ต่อไป วารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพเผยแพร่ในลักษณะของวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e–Journal) เป็นวารสารวิชาการราย 6 เดือน (2 ฉบับต่อปี) ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) และฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม)
นโยบายของวารสาร (Journal Policy)
วารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและผลงานวิจัยที่มีคุณภาพทางด้านการพยาบาล วิทยาศาสตร์สุขภาพ การสาธารณสุข และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่หรือเป็นนวัตกรรมทางด้านสุขภาพ แสดงถึงประโยชน์ในเชิงทฤษฏีเพื่อสามารถนำไปพัฒนาหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ และประโยชน์ในเชิงปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ โดยเป็นประโยชน์แก่พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ นักวิชาการ และผู้ที่สนใจ
วารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพมีขอบเขตรับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย และจดหมายถึงบรรณาธิการเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ โดยรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาครอบคลุมในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ การพยาบาลในสาขาต่าง ๆ วิทยาศาสตร์สุขภาพ การสาธารณสุข และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ดังนั้นบทความที่จะได้รับลงตีพิมพ์จะต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง และจะต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพในทางวิชาการและประโยชน์ดังกล่าวข้างต้น
เกณฑ์การพิจารณาบทความ (Review Policy)
วารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพยินดีรับพิจารณาต้นฉบับงานวิจัยและต้นฉบับบทความวิชาการทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ทั้งนี้บทความที่ส่งมาเพื่อพิจารณาตีพิมพ์จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขหลักดังต่อไปนี้
- ไม่เคยลงตีพิมพ์ในที่ใด ๆ มาก่อนและไม่อยู่ในระหว่างส่งไปตีพิมพ์ด้วย โดยขอให้ผู้นิพนธ์ให้คำรับรองงานต้นฉบับในแบบฟอร์มการขอส่งผลงานวิชาการลงวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ ซึ่งท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ MS Words ได้ที่ วารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ (tci-thaijo.org) คลิกที่ แบบฟอร์ม STOU JN02
- ระบุชื่อเรื่อง ชื่อผู้เขียน คุณวุฒิสูงสุด พร้อมสังกัดที่ทำงาน (ในกรณีมีสองสังกัด กรุณาระบุเพียงที่เดียว) เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ กรณีไม่ได้ปฏิบัติงานให้ระบุที่อยู่ที่บ้าน
- ในกรณีมีผู้นิพนธ์หลายคน กรุณาระบุผู้รับผิดชอบบทความ (corresponding author) ในแบบฟอร์มการขอส่งผลงานวิชาการลงวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ หากบทความที่ขอลงตีพิมพ์ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น กองบรรณาธิการขอใช้สิทธิที่จะปฏิเสธบทความนั้นในทันที ทั้งนี้ท่านสามารถดาวน์โหลดคำแนะนำ ในการส่งต้นฉบับงานวิจัยและบทความวิชาการ ได้จาก วารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ (tci-thaijo.org) คลิกที่ For authors
- รายการเอกสารอ้างอิง ต้องเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด (หากเอกสารอ้างอิงมีต้นฉบับเป็นภาษาไทย ผู้ นิพนธ์ต้องแปลเป็นอังกฤษ และเพิ่ม “(in Thai)” ท้ายรายการอ้างอิงนั้น ๆ
- เรื่องที่ตีพิมพ์แล้วเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารและเป็นผู้สงวนลิขสิทธิ์ในทุกประการ ซึ่งความถูกต้องของข้อความหรือเรื่องราวที่ตีพิมพ์ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน
นโยบายการพิจารณาบทความ (Peer Review Policy)
กองบรรณาธิการวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพมีกระบวนการตรวจบทความที่จะได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ โดยบทความจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณากลั่นกรองจากกองบรรณาธิการและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (Peer Review) ตามขั้นตอน ดังนี้
- ผู้นิพนธ์จะต้องส่งบทความต้นฉบับผ่านทางระบบ ThaiJO (ส่งบทความ) ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่สะดวกใช้งานในระบบ ขอให้นำส่งทางอีเมลล์ (E-mail) หรือนำส่งทางไปรษณีย์ โดยกองบรรณาธิการจะตอบกลับเพื่อแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบหลังจากได้รับบทความเรียบร้อยแล้ว
- กองบรรณาธิการจะตรวจสอบบทความเพื่อรับพิจารณาตีพิมพ์ว่าอยู่ในนโยบายและขอบเขตของวารสารหรือไม่ รวมถึงคุณภาพทางวิชาการและประโยชน์ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 7 วัน
- ในกรณีที่กองบรรณาธิการพิจารณาเห็นควรรับบทความไว้ตีพิมพ์ กองบรรณาธิการจะกลั่นกรองเบื้องต้นเกี่ยวกับรูปแบบ ภาษา การอ้างอิง ถ้ามีการแก้ไขจะส่งให้ผู้นิพนธ์แก้ไขต้นฉบับก่อนส่งให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณากลั่นกรอง กรณีไม่มีการแก้ไขจะดำเนินการส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 3 คน เพื่อประเมินคุณภาพของบทความว่าอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจะลงตีพิมพ์หรือไม่ ซึ่งกระบวนการกลั่นกรองนี้ทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและผู้นิพนธ์จะไม่ทราบข้อมูลซึ่งกันและกัน (Double-blind peer review) โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 30 วัน
- เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพของบทความ ให้ข้อเสนอแนะและประเด็นการแก้ไขเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้ทรงคุณวุฒิจะส่งกลับไปให้บรรณาธิการรับทราบในระบบวารสารออนไลน์ (ThaiJO) หรือผ่านทางช่องทางอื่น ๆ ที่กล่าวข้างต้น โดยถ้าหากเอกสารการพิจารณาที่ได้เป็นกระดาษ กองบรรณาธิการจะทำการสแกนแปลงเป็นไฟล์ .pdf เพื่อรวบรวมเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณา แล้วจึงให้ผู้ที่กองบรรณาธิการมอบหมาย รับผิดชอบสรุปข้อเสนอแนะและประเด็นการแก้ไขเสนอต่อบรรณาธิการเพื่อพิจารณา
- หลังจากนั้นกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้นิพนธ์รับทราบภายในระยะเวลา 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อให้ผู้นิพนธ์แก้ไขปรับปรุงคุณภาพของบทความ โดยให้ผู้นิพนธ์ส่งกลับมาในระบบอีกครั้ง ภายในระยะเวลา 15 วัน หากไม่มีการแก้ไขหรือมีการแก้ไขเพียงเล็กน้อยจากผู้เชี่ยวชาญ บทความวิจัย/บทความวิชาการของผู้นิพนธ์จะเข้าสู่กระบวนการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ต่อไป
แนวทางในการพิจารณาการตอบรับหรือปฏิเสธบทความวิจัยหรือบทความวิชาการ มีดังนี้
- ถ้าเป็นบทความวิจัย ต้องผ่านการพิจารณาเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ และสัตว์หรือในคน หรือชื่ออื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีการแนบไฟล์เอกสารรับรองการผ่านการพิจารณาจริยธรรม การวิจัยในมนุษย์และสัตว์ (มีเอกสาร IRB ที่มีการระบุชื่อเรื่องที่อนุมัติ เลขหนังสืออนุมัติ วันที่รับรอง และวันสิ้นสุดการรับรองที่ชัดเจน) หรือแสดงหลักฐานการพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูล และแสดงให้เห็นว่าได้รับการยินยอมจากกลุ่มตัวอย่างหรือผู้ให้ข้อมูลในการเข้าร่วมการวิจัย โดยแนบลงในแบบฟอร์ม (แบบฟอร์ม STOU JN04)
- บทความได้ผ่านการพิจารณาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และได้ผลการประเมินสรุปที่ชัดเจนว่าจะตอบรับหรือปฏิเสธนิพนธ์ต้นฉบับ ดังนี้
- ควรตีพิมพ์ โดยไม่ต้องแก้ไข นอกจากคำผิดเล็กน้อย (ถ้ามี) (Accept submission)
- ควรตีพิมพ์ เมื่อผู้เขียนได้พิจารณาแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ประเมินแล้ว (Revision required)
- อาจตีพิมพ์ เมื่อผู้เขียนได้ทบทวนและปรับปรุงบทความแล้ว และผ่านการประเมินอีกครั้ง (Resubmit)
- ไม่ควรได้รับการตีพิมพ์ (Decline submission)
ในกรณีที่ผลการประเมินไม่ตรงกัน ให้ใช้ผลสรุปที่มีคะแนนตรงกันมากที่สุดเป็นมติในการประเมิน
- เมื่อผลการประเมินบทความสรุปได้ว่าควรตีพิมพ์ และผู้นิพนธ์ได้ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตามคำแนะนำของผู้ประเมินที่เป็นผู้เชี่ยวชาญแล้ว ผู้ที่กองบรรณาธิการมอบหมายจะตรวจสอบการแก้ไขและเสนอต่อบรรณาธิการเพื่อพิจารณา
- ผู้นิพนธ์ต้นฉบับต้องยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษร (แบบฟอร์ม STOU JN04) ว่าไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่นหรือมีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน แล้วส่งให้กองบรรณาธิการตรวจสอบ
Types of articles (ประเภทของบทความ)
บทความวิจัย (research article) บทความวิชาการ (academic article) และ บทความพิเศษ (special article)
Language (ภาษาที่รับตีพิมพ์)
- ภาษาไทย
- ภาษาอังกฤษ
Publication Frequency (กำหนดออก)
วารสารตีพิมพ์ 2 ฉบับต่อปี
- ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน
- ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม
Publisher (เจ้าของวารสาร)
- สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช