ข้อมูลสำหรับผู้แต่ง

ถ้าท่านสนใจส่งบทความมาตีพิมพ์ เราขอแนะนำให้ท่านตรวจสอบหน้า เกี่ยวกับวารสาร สำหรับนโยบายบทต่าง ๆ วารสาร ในสาขาที่รับ รวมถึง คำแนะนำสำหรับผู้แต่ง ผู้แต่งจะต้อง ลงทะเบียน เพื่อรับได้สิทธิ์ในการส่งบทความ หรือหากท่านได้เคยลงทะเบียนเป็นผู้แต่งของวารสารนี้แล้วก็จะสามารถ simply เข้าสู่ระบบ และเริ่มขั้นตอนการส่งบทความ

                                     คำอธิบายสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

                                                วารสารการพยาบาลและนวัตกรรม

 

คำแนะนำการเตรียมต้นฉบับ

กองบรรณาธิการขอเรียนเชิญ พยาบาล อาจารย์พยาบาล และผู้สนใจส่งบทความวิจัย และบทความวิชาการเกี่ยวกับการศึกษาพยาบาล การบริหารการพยาบาล  การปฏิบัติการพยาบาล  วิชาชีพการพยาบาลและนวัตกรรมการดูแลสุขภาพที่มีเนื้อหาทันสมัย นำเสนอองค์ความรู้และข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ เพื่อลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ เรื่องที่ส่งต้องเป็นผลงานใหม่  (original article) ที่ไม่เคยได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่อสิ่งพิมพ์ใด หรือกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อลงตีพิมพ์ในวารสารอื่น เก็บข้อมูลไม่เกิน 5 ปี และผู้ที่ประสงค์จะส่งบทความเพื่อขอตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร ต้องสมัครเป็นสมาชิกวารสารวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ (แบบฟอร์ม STOU JN01)

รูปแบบและหลักเกณฑ์ในการจัดเตรียมต้นฉบับของบทความ

  1. จัดพิมพ์ต้นฉบับโดยโปรแกรม Microsoft word ไม่แยกคอลัมภ์ใช้กระดาษขนาด A4 มีความยาวไม่เกิน 10-12 หน้า (รวมรูปภาพและตาราง ไม่รวมเอกสารอ้างอิง) อักษรภาษาไทย ใช้พิมพ์ด้วยแบบอักษร (fonts) TH Sarabun PSK ขนาด 16 ส่วนอักษรภาษาอังกฤษ Abstract, Table และ Reference ใช้พิมพ์ด้วยแบบอักษร Times New Roman ขนาด 14 กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัด 1 เท่า (single spacing) เว้นระยะขอบบน ล่าง ซ้าย และขวา 2.54 เซ็นติเมตร
  2. ระบุชื่อเรื่อง ชื่อ-สกุลของผู้เขียนทุกคน (Author and Co-authors) โดยระบุชื่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมวุฒิการศึกษาสูงสุด อยู่ใต้ชื่อเรื่อง โดยเยื้องไปทางขวามือ ส่วนตำแหน่งและสถาบันหรือสถานที่ทำงานของผู้เขียน (กรณีไม่ได้ปฏิบัติงานให้ระบุที่อยู่ที่บ้าน) พิมพ์ไว้เป็นเชิงอรรถของหน้าแรก และระบุคำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ไม่เกิน 5 คำ อยู่ในหน้าเดียวกันกับบทคัดย่อ เหนือเชิงอรรถ (Foot note) ต้องกำหนดคำสำคัญที่เป็นสากลสามารถสืบค้นได้พร้อมทั้งระบุแหล่งทุนวิจัยที่ได้รับ (ถ้ามี)
  3. บทความวิจัยและบทความวิชาการ ต้องมีเนื้อหาของบทคัดย่อภาษาไทย และ Abstract ความยาวไม่เกิน 250 คำ ให้ครอบคลุมหัวข้อดังนี้ ที่มาและความสำคัญ (introduction) วิธีดำเนินการศึกษา (methods) ผลการศึกษา (results) และสรุป
  4. เนื้อหาของผลงานวิชาการลำดับหัวข้อตามประเภทของผลงาน ดังนี้ 4.1 บทความวิจัยให้เขียนตามหัวข้อดังนี้ ความสำคัญของปัญหา คำถามการวิจัย/วัตถุประสงค์การวิจัย  สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี) กรอบแนวคิดของการวิจัย วิธีดำเนินการวิจัย (ประเภทของการวิจัย ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล การพิทักษ์สิทธิของกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล) ผลการวิจัย การอภิปรายผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ และเอกสารอ้างอิง                                                  4.2 บทความวิชาการ ให้มีหัวข้อ ความนำ หัวข้อของเนื้อหา บทสรุป และเอกสารอ้างอิง   

            4.3 บทความพิเศษ เป็นบทความที่ผู้แต่งได้รับเชิญให้เขียน  บทความ ไม่กำหนดรูปแบบที่เฉพาะเจาะจง 

  1. การอ้างอิงเอกสาร (References) ใช้ระบบของแวนคูเวอร์ (Vancouver style) เอกสารอ้างอิงควรลำดับตัวเลขและเขียนถูกต้องตามรูปแบบ ครบถ้วน ทันสมัย และสามารถสืบค้นถึงแหล่งที่มาได้
  2. โปรดตรวจสอบต้นฉบับให้เขียนหัวข้อต่าง ๆ และให้ข้อมูลครบถ้วน ใช้คำต่าง ๆ ถูกต้องตามพจนานุกรมไทยและอังกฤษ รวมทั้งคำศัพท์ทางวิชาการ การเขียนประโยคถูกต้องตามหลักไวยกรณ์

 

การส่งต้นฉบับ

การส่งต้นฉบับกระทำได้ 3 วิธี ดังนี้ 

  1. ส่งไฟล์ต้นฉบับเป็น file เข้าในระบบ ThaiJO  ได้ที่ วารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ (tci-thaijo.org) หรือ
  2. ส่งเข้าอีเมลล์ (Email: sutteeporn@yahoo.com) พร้อมทั้งโทรศัพท์แจ้งกองบรรณาธิการได้ที่ 02-504-8036-7, 06-2790-0880 หรือ
  3. ส่งเป็นเอกสาร จำนวน 3 ชุด พร้อมไฟล์บันทึกบทความลงในแผ่นบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ (CD) และกรอกแบบฟอร์มการส่งต้นฉบับให้สมบูรณ์ ส่งไปยัง บรรณาธิการวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 9/9 หมู่ 9 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี 11120

การส่งบทความทั้ง 3 ช่องทาง ต้องแนบแบบฟอร์มการขอส่งผลงานวิชาการลงวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ (แบบฟอร์ม STOU JN02) และแบบฟอร์มการยืนยันว่าไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์หรือลอกเลียนผลงานของผู้อื่น (แบบฟอร์ม STOU JN03)

 

เมื่อฝ่ายวารสารได้รับเรื่องแล้ว กองบรรณาธิการจะจัดให้มีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้พิชญพิจารณ์ (Peer reviewer) อ่านต้นฉบับ 3 คนต่อบทความ เพื่อประเมินคุณภาพ ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุง  และสรุปผลการพิจารณา จากนั้นจะแจ้งผลการการประเมินคุณภาพให้ผู้เขียนทราบเพื่อการปรับปรุง เมื่อท่านได้ปรับปรุงเสร็จแล้ว และส่งคืนบทความที่แก้ไขแล้วไปยังวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ บรรณาธิการจะทำการตรวจสอบรูปแบบให้ถูกต้องตามเกณฑ์ของวารสารพยาบาล และแจ้งให้ท่านทราบเพื่อดำเนินการปรับหากมีการแก้ไข และออกหนังสือรับรองการลงตีพิมพ์บทความในวารสารพยาบาลในฉบับที่กำหนดให้ ส่วนผู้ที่ส่งไฟล์ต้นฉบับ online เข้าในระบบ ThaiJO สามารถติดตามความก้าวหน้าได้ในระบบ

 

ตัวอย่างของการเขียนรายการเอกสารอ้างอิงท้ายเรื่องตามระบบแวนคูเวอร์ (Vancouver style)

 

  1. Health Data Center Ministry of Public Health. [Internet]. 2019 [cited 2019 May 7]. Available from: https://hdc.moph.go.th (in Thai).
  2. Bureau of Non-communicable Diseases Department of Disease Control. Handbook for chronic kidney disease management for village health volunteers. (2nd edition). Nonthaburi: Printing House. 2017. (in Thai)
  3. Baker D. Health literacy and mortality among elderly persons. Arch Intern Med. 2007;167(14):1503-9.
  4. Edwards M, Wood F, Davies M, Edwards A. The development of health literacy in patients with a long- term health condition: The health literacy pathway model. BMC Public Health 2012;12(130):1-15. doi./10.1186/1471-2458-12-130.
  5. Kandel S, Wichaidit W. Self-care family support among people with type 2 diabetes. J Health Sci Med Res 2021;39:23-33.
  6. Kaewraemruaen C, Ritprajak P, Hirankarn N. Dendritic cells as key players in systemic lupus erythematosus. Asian Pac J Allergy Immunol 2020;38:225-32.
  7. Kahalley LS, Peterson R, Ris MD, Janzen L, Okcu MF, Grosshans DR, et al. Superior intellectual outcomes after proton radiotherapy compared with photon radiotherapy for pediatric medulloblastoma. J Clin Oncol 2020;38:454-61.
  8. Nimanong S, Preechasuk L, Tanwandee T. Incidence and characteristic of hepatocellular carcinoma in hepatitis B related cirrhosis. J Med Asso Thai 2020; 103 Suppl 8: S128-33.
  9. Glauser TA. Integrating clinical trial data into clinical practice. Neurology 2002; 58 (12 Suppl 7): S6-12.
  10. Laohapan A, Nuwatkrisin K, Ratchanon S, Usawachintachit M. Study of urinary stone composition in a university-based hospital. Insight Urol [Internet]. 2020 [cited 18 Mar 2021];41:48-51. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJU/article /view/247850/168431
  11. Chung KC, Thorne CH, Sinno S, Van Aalst JA, Mehrara BJ, Disa JJ, et al., editors. Operative techniques in plastic surgery. Vol. 1. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2020.
  12. World Health Organization. Guidelines on the management of chronic pain in children. Geneva: WHO; 2020.

 

ค่าใช้จ่ายในการยื่นขอตีพิมพ์เผยแพร่บทความ

ใน 2 ปีแรก (พ.ศ. 2566 และ 2567) ผู้นิพนธ์ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยื่นขอตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน และผู้นิพนธ์จะได้รับค่าตอบแทนในการตีพิมพ์ เรื่องละ 1,000 บาท แต่ผู้นิพนธ์ต้องสมัครเป็นสมาชิกวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพก่อนจึงจะตีพิมพ์ได้

ในปี พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป ผู้นิพนธ์ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการยื่นขอตีพิมพ์เผยแพร่บทความ ซึ่งจะแจ้งให้ทราบต่อไป

ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ขอยกเลิกการส่งผลงานเพื่อตีพิมพ์ ภายหลังจากผู้ทรงคุณวุฒิที่ทางวารสารแต่งตั้งได้พิจารณาบทความแล้ว ทางวารสารขอสงวนสิทธิ์ไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ให้แก่ผู้นิพนธ์ หรือในกรณีที่ผู้นิพนธ์ไม่ดําเนินการจัดทํา/แก้ไขต้นฉบับบทความให้เสร็จเรียบร้อยตามคําแนะนําของผู้ทรงคุณวุฒิและส่งให้กองบรรณาธิการ ตามวันเวลาที่กําหนด ทางกองบรรณาธิการมีสิทธิ์ในการยกเลิกการตีพิมพ์ โดยไม่คืนเงินค่าธรรมเนียม

 

การสมัครสมาชิกวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ

คุณสมบัติผู้สมัคร อาจารย์ นักศึกษา นักวิชาการ พยาบาลวิชาชีพ และผู้สนใจ

ค่าสมัครสมาชิก  ปีละ 500 บาท ถ้าสมัครปีต่อเนื่องกันจะได้ลดราคาปีละ 100 บาท เช่น สมัคร 3 ปี ราคา 1200 บาท)

          สิทธิประโยชน์ของสมาชิก ตลอดระยะเวลาที่เป็นสมาชิกวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ สมาชิกสามารถ

  1. ขอรับสิทธิ์การตีพิมพ์ในอัตราค่าเรียกเก็บในอัตราของสมาชิก และถ้าเคยนำบทความวิชาการหรือบทความวิจัยมาตีพิมพ์ในวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพจะได้รับการพิจารณาเป็นกรณีพิเศษ แม้ในอนาคตวารสารจะถูกจัดอยู่ในฐานระบบวารสารใด ๆ เช่น ฐาน TCI, ACI เป็นต้น
  2. ขอรับคำปรึกษาในการพัฒนาและเขียนผลงานวิชาการจากอาจารย์ที่เป็นคณะทำงานวารสารการพยาบาลและนวัตกรรมสุขภาพ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มสธ. ได้ฟรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  3. 3. ชำระลงทะเบียนในราคาพิเศษ ถ้าสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มสธ. มีการจัดประชุมวิชาการหรืออบรมที่มีค่าลงทะเบียน
  4. ขอรับการพิจารณาให้เข้าร่วมประชุมวิชาการหรืออบรมเป็นกรณีพิเศษ ในกรณีที่ไม่มีการเก็บค่าลงทะเบียน