ผลของการใช้หลอดยางรองต่อการเกิดแผลกดทับที่ร่องใบหูของผู้ป่วยที่ได้รับการใช้เชือกผูกยึดท่อช่วยหายใจ
คำสำคัญ:
หลอดยางรอง, แผลกดทับที่ร่องใบหู, การผูกยึดท่อช่วยหายใจบทคัดย่อ
วิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเกิดแผลกดทับที่ร่องใบหูระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการใช้หลอดยางรองกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการใช้ผ้าก๊อซรองร่องใบหูของผู้ป่วยที่ได้รับการใช้เชือกผูกยึดท่อช่วยหายใจชนิด ใส่ทางปาก หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ศึกษาแบบสองกลุ่มวัดครั้งเดียว หลังการทดลอง (The two group posttest – only design) กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการใช้เชือกผูกยึด ท่อช่วยหายใจชนิดใส่ทางปาก คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองใช้หลอดยางรองและกลุ่มควบคุมใช้ผ้าก๊อซแบบเดิม เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ หลอดยางรอง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านหาค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา (content validity index: CVI) ได้เท่ากับ 0.80 และ 0.82 และความเชื่อมั่น (reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา(Cronbach’s alpha) เท่ากับ 0.82 และ 0.85 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติบรรยายความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างของการเกิดแผลกดทับที่ร่องใบหูและจำนวนวันที่เกิดแผลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติไค - สแควร์ (Chi-square ) และ Fisher exact test
ผลการศึกษาพบว่าการเกิดแผลกดทับที่ร่องใบหูและจำนวนวันที่เกิดแผลหลังใส่ท่อช่วยหายใจ 0 - 3 วัน ของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการใช้หลอดยางรองกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการใช้ผ้าก๊อซแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) ส่วนวันที่ 4 - 7 วัน และมากกว่า 7 วันมีอุบัติการณ์การเกิดแผลกดทับที่ร่องใบหูไม่แตกต่างกัน ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.12, S.D. = 0.74)
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปขยายผลประยุกต์ใช้ในการลดแรงกดทับของอุปกรณ์ทางการแพทย์ใน ตำแหน่งอื่น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพต่อไป
References
กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การประเมินคุณภาพการพยาบาลในโรงพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข. ปทุมธานี: บริษัท สำนักพิมพ์สื่อตะวันจำกัด.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2540). การวิเคราะห์สถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 3): สถิติเพื่อการตัดสินใจ, จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
จุฬาพร ประสังสิต, กาญจนา รุ่งแสงจันทร์, วรรณิภา อำนาจวิชญกุล, ปนัดดา เสือหรุ่น, วาริดา จงธรรม, และ ละมัย โมรา. (2561). Siriraj concurrent trigger tool by modified early warning sign for pressure injury prevention. https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/62235.
เครือวัลย์ ปานอิน, ธนลวรรณ แก้วลูน, ลดาวัลย์ ภีระคำ, สังวาล หาญฟ้างาม, และ นุชจรี รัตนเสถียน. (2563). ผลการใช้นวัตกรรมหมอนอุ้มหูในการลดการเกิดแผลกดทับบริเวณใบหูในผู้ป่วยวิกฤติโรคหลอดเลือดสมอง. ใน การประชุมวิชาการ MED CMU Quality Fair ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ปราณี อินทพันธ์. (2558). การเพิ่มประสิทธิภาพการผูกยึดท่อช่วยหายใจทางปาก. http://www.si.mahidol.ac.th/km/sites/all/modules/pubdlcnt/pubdlcnt.php?file=/km/sites/default/files/u1/02_0.pdf&nid=3603
ผกามาศ พีธรากร. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์: บทบาทพยาบาล. หัวหินเวชสาร, 1(1), 1-16.
พรศิริ เรือนสว่าง, เพ็ญพิมพ์ ขันทอง, ณัฐนันท์ หาญณรงค์, ธัณฐภรณ์ กอสกุลศิริบูรณ์, และ อรุณรัตน์ เพิ่มผล. (2557). การจัดทำแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและการดูแลแผลกดทับในสถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 8(3), 1-11.
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2561). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.
โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2562). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.
ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์. (2557). ความเครียดและวิธีแก้ความเครียด. https://pharmacy.mahidol.ac.th/en/knowledge/article/47/ความเครียด-วิธีแก้ความเครียด.
Ayello, E. A., Zulkowski, K., Capezuti, E., Jicman, W. H., & Sibbald, R. G. (2017). Educating nurses in the United States about pressure injuries. Advances in skin & wound care, 30(2), 83–94. https://doi.org/10.1097/01.ASW.0000511507.43366.a1
Barakat-Johnson, M., Barnett, C., Wand, T., & White, K. (2017). Medical device-related pressure injuries: An exploratory descriptive study in an acute tertiary hospital in Australia. Journal of Tissue Viability, 26(4), 246-253. https://doi.org/10.1016/j.jtv.2017.09.008.
Bernard, H.R. (2011). Research methods in anthropology: qualitative and quantitative approaches. Rowman Altamira, Lanham, Maryland.
Black, J., Alves, P., Brindle, C. T., Dealey, C., Santamaria, N., Call, E., & Clark, M. (2015). Use of wound dressings to enhance prevention of pressure ulcers caused by medical devices. International Wound Journal, 12(3), 322-327. https://doi.org/10.1111/iwj.12111
Li, Z., Lin, F., Thalib, L., & Chaboyer, W. (2020). Global prevalence and incidence of pressure injuries in hospitalised adult patients: A systematic review and meta-analysis. International journal of nursing studies, 105, 103546. https://doi.org/10.1016/j.ijnurstu.2020.103546
National Pressure Ulcer Advisory Panel (NPUAP). (2018). NPUAP Pressure ulcer stages. https://journals.lww.com/aswcjournal/Citation/05000/National_Pressure_Ulcer_Advisory_Panel_s_Updated.12.aspx
Srikasem, B., & Kungeena, O. (2018). The development of a clinical supervision model related the patient’s pressure ulcer. Rajavithi Hospital. Journal of Nursing Division, 45(1), 9-23.
Usher, K., Woods, C., Brown, J., Power, T., Lea, J., Hutchinson, M., Mather, C., Miller, A., Saunders, A., Mills, J., Zhao, L., Yates, K., Bodak, M., Southern, J., & Jackson, D. (2018). Australian nursing students' knowledge and attitudes towards pressure injury prevention: A cross-sectional study. International journal of nursing studies, 81, 14–20. https://doi.org/10.1016/j.ijnurstu.2018.01.015
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.