ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของพยาบาลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • นราภรณ์ ขุนกำแหง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก
  • รตีภัทร รัตนบวรวัฒ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก
  • ศุภลักษณ์ บุญประสม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, การปฏิบัติ, การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, พยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงบรรยายนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติของพยาบาลที่ปฏิบัติงาน เกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ทั้งหมดจำนวน 64 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูก ด้วยนมแม่ ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามแต่ละข้อกับวัตถุประสงค์ได้ เท่ากับ .67 - 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น โดยสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ .80, .85, และ .98 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้ในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับสูง (X̅ = 19, SD = 2.16) คะแนนทัศนคติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับมาก (X̅ = 4.51, SD = .47) และคะแนนการปฏิบัติในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ระดับดี (X̅ = 3.37, SD = .71)

ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนาสมรรถนะให้กับพยาบาลที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พยาบาลควรได้รับการอบรมความรู้ฝึกทักษะอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทบทวน เพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ มีความมั่นใจในการปฏิบัติก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีและมีนโยบายการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ชัดเจนตามหลักบันได 10 ขั้น เพื่อให้บุคลากรทุกระดับตั้งแต่ทีมกุมารแพทย์ สูติแพทย์ พยาบาลที่ปฏิบัติงานแม่และเด็ก สามารถปฏิบัติตามแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2563). การดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด และทารกแรกเกิด ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19. https://covid19.anamai.moph.go.th/webupload/2xdccaaf3d7f6ae30ba6ae1459eaf3dd66/m_do

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). การปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. https://hp.anamai.moph.go.th/webupload/4xceb3b571ddb70741ad132d75876bc41d/tinymce/OPDC/OPDC2565-F/IDC1_7/opdc_2565_IDC1-17_18.pdf

ถิรวรรณ ทองวล, วายุรี ลำโป, อริศรา แสนทวีสุข, ลัดดาวัลย์ ปลอดฤทธิ์, ปภัชญา มีชัยชนะ, นราภรณ์ ขุนกำแหง และปิยาภรณ์ ล่าฟ้าเริงรณ. (2565). บทบาทที่ท้าทายของพยาบาลผดุงครรภ์ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019. พยาบาลสาร, 49(4), 383-402.

นิศาชล เศรษฐไกรกุล และชมพูนุท โตโพธิ์ไทย. (2562). สถานการณ์การให้บริการของพยาบาลนมแม่ในสถานพยาบาลของประเทศไทย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 13(4), 368-382.

โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. (2562). อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ปีงบประมาณ 2560 ถึง 2562. (ม.ป.ท.)

ละเอียด ศิลาน้อย. (2565). การใช้มาตรประมาณค่าในการศึกษาวิจัยทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 8(15), 112-126.

สุพรรณิการ์ ปานบางพระ และพรรณรัตน์ แสงเพิ่ม. (2556). ความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงพยาบาลเอกชน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 31(1), 70-79.

สุวิมล พุทธบุตร และอภิญญา จำปามูล. (2556). การสร้างแบบประเมินสมรรถนะที่จำเป็นของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลด้านนมเเม่ของโรงพยาบาลมหาสารคาม. การประชุมวิชาการนมแม่แห่งชาติ ครั้งที่ 4 (หน้า 122). กรุงเทพฯ: กรมอนามัย.

อุษา วงศ์พินิจ. (2558). บทบาทของพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมเเม่อย่างเดียวก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 8(1), 24-33.

Bloom, B. S., Thomas Hastings, J. Madaus, G. F., & Baldwin, T. S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill Book Company.

Pasunon, P. (2015). Validity of Questionaire for Social Science Research. Journal of Social Sciences, Srinakharinwirot University, 18, 375-396.

Ra, J. S., & Chae, S. M. (2013). Breastfeeding knowledge, attitude, and nursing practice of nurses in neonatal intensive care units. Child Health Nursing Research, 19(2), 76-84.

Timalsina, I. (2020). Knowledge and practice among nurses regarding breastfeeding in a hospital with baby-friendly hospital initiative. Journal of Patan Academy of Health Sciences, 7(3), 113-121.

Varghese, T., Subrahmanyam, N., & Shenai, S. (2018). The practice adherence on baby friendly hospital initiative (BFHI) among staff nurses working in obstetric and pediatric care units. International Journal of Applied Research, 4(11), 140-143.

World Health Organization. (2020). Breastfeeding: recommendation. Form https://www.who.int/health-topics/breastfeeding#tab=tab_

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-05