ประสิทธิผลของการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อความรู้และสมรรถนะในการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต ของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • มงคล สุริเมือง โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก
  • ศรีสุดา อัศวพลังกูล โรงพยาบาลแม่สอด จ.ตาก

คำสำคัญ:

พยาบาลวิชาชีพจบใหม่, อบรมเชิงปฏิบัติการ, ความรู้, สมรรถนะ, ผู้ป่วยวิกฤต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้และสมรรถนะ ของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ก่อนและหลังเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ศึกษาระหว่างเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมินความรู้และสมรรถนะ 3) แผนการสอนประกอบด้วยเนื้อหาความรู้พื้นฐาน 7 เรื่อง ได้แก่ การแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การใช้เครื่องช่วยหายใจ การแปลผลทางห้องปฏิบัติการ การดูแลผู้ป่วยที่ใช้ช่องทาง Fast track การดูแลผู้ป่วยได้รับยาความเสี่ยงสูง การประเมินสัญญาณเตือนภาวะวิกฤต และการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยควอไทล์ วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนความรู้และสมรรถนะภายในกลุ่มใช้ Paired t-test และ Wilcoxon signed rank

ผลการวิจัยพบว่า ค่ามัธยฐานคะแนนความรู้หลังเข้าร่วมอบรมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01) ค่ามัธยฐานคะแนนสมรรถนะหลังเข้าร่วมอบรมเพิ่มขั้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.01)

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ การอบรมเชิงปฏิบัติการเพิ่มความรู้และสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพจบใหม่ในการดูแลผู้ป่วยวิกฤติจึงควรพิจารณาดำเนินการอย่างต่อเนื่องและพิจารณาเพิ่มการประเมินผล ในระยะยาว

References

กฤติญาดา เกื้อวงศ์ และ อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2563). การพัฒนาตนเองของพยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาลมหาลัย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 13(1), 90-101.

กฤษดา แสวงดี. (2558). วิกฤตขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารกระทรวงสาธารณสุข, 26(2), 456-468.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2531). การวิจัยและประเมินประสิทธิภาพทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล. สามเจริญพานิช.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง: กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 8-13.

ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ. (2556). การพัฒนารูปแบบพยาบาลพี่เลี้ยงสำหรับพยาบาลจบใหม่ โรงพยาบาลสุรินทร์ (รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ศิริพร เลาหสุวรรณพานิช, จันทนา นามเทพ, และ กนกวรรณ ซิมพัฒนานนท์. (2550). การวิเคราะห์และการประเมินผลโครงการฝึกอบรมพยาบาลพี่เลี้ยงของผ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช. วารสารพยาบาลศิริราช, 1(1), 37-49.

ศรีผาสุก พึ่งศรีเพ็ง. (2560). การปฏิบัติตามมาตรฐานทางการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤต. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 3(2), 180-192.

ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์. (2565). ผลของโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการต่อความรู้ เรื่อง การประเมินภาวะสุขภาพและเทคนิคการปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานแบบองค์รวมวิชาหลักการและเทคนิคการพยาบาล. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 5(2), 167-178.

ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์, วรรณดี เสือมาก, วีรวรรณ เกิดทอง, และ รุ่งนภา จันทรา. (2564). กิจกรรมพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมการพยาบาลด้วยการใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(8), 385-403.

สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2528). พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฏีกา. สภาการพยาบาล.

Kayambankadzanja, R. K., Schell, C. O., Gerdin Wärnberg, M., Tamras, T., Mollazadegan, H., Holmberg, M., Alvesson, H. M., & Baker, T. (2022). Towards definitions of critical illness and critical care using concept analysis. The British Medical Journal, 12(9), e060972. https://doi.org/ 10.1136/bmjopen-2022-060972

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31