ผลของการสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพื่อป้องกันการเกิดโรคไตเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • พิศมัย ศรีสุวรรณนพกุล โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง, จ.ลำพูน

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรอบรู้ด้านสุขภาพ ระดับน้ำตาลในเลือด และอัตราการกรองของไตของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน จำนวน 30 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ 1) แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item-objective congruence: IOC) เท่ากับ 0.87 2) กิจกรรมสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และค่าดัชนีความสอดคล้อง (index of item-objective congruence: IOC) เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอ้างอิง ได้แก่ การเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว (independent t-test)

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความรอบรู้ทางสุขภาพหลังเข้าร่วมกิจกรรม เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ระดับของน้ำตาลหลังร่วมกิจกรรมมีค่าน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และอัตราการกรองของไตหลังเข้าร่วมกิจกรรมมีค่ามากกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)

ข้อเสนอแนะ ควรสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ เพื่อการสร้างเครือข่าย ด้านการดูแลสุขภาพและการเฝ้าระวังของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในชุมชนมีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กมลทิพย์ วิจิตรสุนทรกุล. (2565). ระบาดวิทยาและการทบทวนมาตรการป้องกันโรคไตเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมโรค กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (ม.ป.ป.)

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). นโยบายมุ่งเน้นกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2565. http://www.cmpo.moph.go.th/cmpo

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง และ ดวงเนตร ธรรมกุล. (2558). การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 9(2), 1-8.

ธนาสิทธิ์ วิจิตรพันธ์. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานของคลินิกหมอครอบครัวบ้านทุ่งเสี้ยว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(4), 618-624.

พงษ์ศิริ งามอัมพรนารา. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี นรสิงห์ และ สุทธิพันธ์ ถนอมพันธ์. (2562). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมของผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดหรือความดันโลหิต กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครพิงค์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์, 10(1), 35-50.

โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (2565). รายงานประจำปี 2564 . ลำพูน: โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. (ม.ป.ป.)

วศิน ทองทรงกฤษณ์. (2565). การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3, 19(1), 1-14.

สมจิตต์ สินธุชัย, นุสรา นามเดช, ประไพ กิตติบุญถวัลย์, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล, จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ, กันยารัตน์ อุบลวรรณ, และ ปัฐยาวัชร ปรากฎผล. (2564). คู่มือการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สำหรับบุคลากรสุขภาพ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. https://pws.npru.ac.th/pheerathano/data/files/ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.pdf.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี. (2562). รู้จักโรคเบาหวาน. https://www.dmthai.org/new/index.php.

สายฝน สารินทร์, สุทธีพร มูลศาสตร์, และ วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. ประสิทธิผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เสี่ยงต่อโรคไตเรื้อรัง. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(2), 86-101.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำพูน. (2565). สถิติผู้ป่วย. https://www.lamphunhealth.go/

สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2565). นโยบายการดำเนินงานกระทรวงสาธารณสุข. https://pr.moph.go.th/?url=main/index/

เสาวรส ปริญญะจิตตะ. (2566). รักษ์ไต ฟังโรคไต อันตรายกว่าที่คิด. https://www.med.cmu.ac.th/web/news-event/news/pr-news/8100/

อารยา เชียงของ. (2561). ผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพด้วยการจัดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อารยา เชียงของ, พัชรี ดวงจันทร์, และ อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). ความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานวัยผู้ใหญ่:ประสบการณ์ของการเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานและมุมมองที่เกี่ยวข้องกับความรอบรู้ทางสุขภาพ. วารสารเกื้อการุณย์, 24(2), 162-178.

World Health Organization. (1998). Health promotion glossary. https://www.who.int/publications/i/item/WHO-HPR-HEP-98.1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-31