ผลของการใช้เจลเย็นประคบที่ผิวหนังและเทคนิคการผ่อนคลายต่อระดับความเจ็บปวดและความกลัวจากการแทงเข็มฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม
คำสำคัญ:
การประคบเย็น, เทคนิคการผ่อนคลาย, ความเจ็บปวด, ความกลัว, การฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม วัดหลังอย่างเดียว มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวดและความกลัวจากการแทงเข็มฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการใช้เจลเย็นประคบที่ผิวหนังและเทคนิคการผ่อนคลาย กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบไม่เร่งด่วน โดยผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มละ 30 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและความเที่ยงของเครื่องมือ และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า 1) ข้อมูลส่วนบุคคลของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมที่นำมาทดสอบ พบว่าไม่แตกต่าง 2) ค่าคะแนนความปวดจากการแทงเข็มฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ได้รับใช้เจลเย็นประคบที่ผิวหนังและเทคนิคการผ่อนคลาย และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติพบว่า มีค่าคะแนนความปวดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนความเจ็บปวดเฉลี่ย 0.90 (S.D. = 0.61) อยู่ในระดับความปวดเล็กน้อย และกลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนความเจ็บปวดเฉลี่ย 4.40 (S.D. = 0.97) อยู่ในระดับความปวดปานกลาง 3) ค่าคะแนนความกลัว ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ ได้รับใช้เจลเย็นประคบที่ผิวหนัง และเทคนิคการผ่อนคลาย และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติพบว่า มีค่าคะแนนความกลัวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) โดยกลุ่มทดลองมีค่าคะแนนความกลัว เฉลี่ย 4.33 (S.D. = 0.55) อยู่ในระดับความกลัวน้อย และ กลุ่มควบคุมมีค่าคะแนนความกลัวเฉลี่ย 6.80 (S.D. = 1.17) อยู่ในระดับความกลัวปานกลาง
ดังนั้นการใช้เจลเย็นประคบที่ผิวหนังและเทคนิคการผ่อนคลาย สามารถช่วยระดับความเจ็บปวดและ ความกลัวจากการแทงเข็มฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังได้ ทำให้ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการจัดท่า ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติการพยาบาล สามารถเฝ้าระวังและรักษาภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
References
กรกนก เฮงสวัสดิ์. (2564). การศึกษาประสิทธิผลของการประคบผิวหนังด้วยเจลเย็นต่อการลดความเจ็บปวดแบบเฉียบพลันขณะทำการฉีดยาเข้าช่องไขสันหลัง. วิสัญญีสาร, 47(1), 10-15.
กีรติ เจริญชลวานิช. (2556). อยากให้เรามีแต่ข้อดี. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บันลือบุ๊คส์
งานเวชระเบียนและสถิติ กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลพุทธชินราช. (2565). รายงานสถิติประจำปี. งานเวชระเบียน โรงพยาบาลพุทธชินราช.
จันทรา เริ่มเสริมสุข. (2563). ประสิทธิผลของการประคบความเย็นต่อความปวดจากการแทงเข็ม AVF ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ รับการรักษาโดยการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 5(2), 1-11.
ธัญวรรณ คุตมาสูนย์, วีณา จีระแพทย์, และ นรลักขณ์ เอื้อกิจ (2558). ผลของการเตรียมผู้ป่วยเด็กร่วมกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนต่อพฤติกรรมความร่วมมือในการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายของเด็กวัยเรียน. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 70-77.
พงศธร พอกเพิ่มดี. (2563). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2561-2580. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(1), 173-186.
ยศพล เหลืองโสมนภา และ ศรีสุดา งามขำ. (2556). ความสนใจต่อความปวด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 30(1), 83-93.
เยาวลักษณ์ หอมวิเศษวงศา และ จิราภรณ์ ชวนรัมย์. (2562). การเปรียบเทียบความปวดหลังผ่าตัดระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับและไม่ได้รับการฝึกเทคนิคผ่อนคลายที่ใช้การฝึกหายใจในผู้ป่วยผ่าตัดมดลูกออกทางหน้าท้อง. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 34(2), 167-179.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). สถิติสุขภาพ. http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/index.aspx
สิริพิมล อัญชลิสังกาศ. (2563). คลายความกังวล การมีสติด้วยลมหายใจ. https://thaicam.go.th.เทคนิคคลายเครียด
อลิษา ทรัพย์สังข์, เสน่ห์ ขุนแก้ว, และ มณฑา อุดมเลิศ. (2560). การจัดการกับความกลัวความเจ็บปวดจากการแทงเข็มในเด็ก: ปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเด็ก. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ), 25-31.
อัจฉริยา วงษ์อินทร์จันทร์, ชลิดา ธนัฐธีรกุล, แก้วกาญจน์ เสือรัมย์, วรรณ เทพา, และ ฐิติ สังวรวงษ์พนา. (2564). เด็กวัยเรียนกับความกลัวและโรคกลัว. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 44(2), 11-23.
Davis, M., Eshelman, E. R., & McKay, M. (1995). The relaxation & stress reduction workbook (4th ed). New Harbinge Pubication Stress & Health.
Gotter, A. (2023). Healthline: Treating pain with heat and cold. https://www.healthline.com/health/chronic-pain/treating-pain-with-heat-and-cold#_noHeaderPrefixedContent
McCaffery, M., & Pasero, C. (1999). Pain: Clinical manual (2nd ed.). Mosby Company.
Melzack, R., & Wall, P. D. (1965). Pain mechanisms: A new theory. Science, 150(3699), 971–979. https://doi.org/10.1126/science.150.3699.971
Moriarty, O., McGuire, B. E., & Finn, D. P. (2011). The effect of pain on cognitive function: A review of clinical and preclinical research. Progress in Neurobiology, 93(3), 385-404. https://doi.org/10.1016/j.pneurobio.2011.01.002
Polit, D. F. & Hungler, B. P. (2020). Nursing research: Principles and method (6th ed). Lippincott.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.