ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ปาจรีย์ แขไข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การพลัดตกหกล้ม, พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่อำเภอเสริมงาม และอำเภอสบปราบ จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 40 คน โดยสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ จำนวน 12 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์  หลังการทดลอง 8 สัปดาห์  และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Pair t-test และ repeated measure ANOVA

ผลการวิจัย พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ  กลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมระยะหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้การป้องกันการหกล้มและพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุกลุ่มทดลอง ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และคะแนนเฉลี่ยความรู้การป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุกลุ่มทดลองและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม ที่ระยะก่อนทดลอง หลังการทดลอง 4 สัปดาห์ หลังการทดลอง 8 สัปดาห์  และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01, p < 0.05 ตามลำดับ) โดยมีคะแนนเฉลี่ยความรู้การป้องกันการหกล้มและคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นสูงสุดหลังการทดลอง 4 สัปดาห์

การศึกษา​นี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติ​ในสถานบริการสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ​เกี่ยวกับระบบการจัดการแนวทางการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

References

ฐิติมา ทาสุวรรณอินทร์ และกรรณิการ์ เทพกิจ. (2560). ผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มต่ออัตราการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 175-195.

ธีรภัทร อัตวินิจตระการ และชวนนท์ อิ่มอาบ. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5, 38(4), 288-298.

นิพา ศรีช้าง. (2562). การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ. http://www.correct.go.th/meds/index/Download/วป/การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ.pdf

ปาจรีย์ แขไข. (2564). Area based ประเด็นการตรวจราชการ: ผู้สูงอายุคุณภาพ (พลัดตกหกล้ม). https://inspection.moph.go.th/e-inspection/file_provinec/2021-03-07-01-39-41.pdf

รัฎภัทร์ บุญมาทอง. (2558). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยคริสเตียน]. มหาวิทยาลัยคริสเตียน. http://library.christian.ac.th/thesis/document/T038297.pdf

สถาบันกระดูกและข้อ พญาไท 2. (2563). ไม่ใช่แค่สะโพกหัก...เพราะที่อันตรายกว่าคือโรคแทรกซ้อนที่จะมาตามอีกเพียบ. https://shorturl.at/kryGJ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). บทสรุปสำหรับผู้บริหารการสำรวจประชากรสงูอายุในประเทศไทย พ.ศ.2564. http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/สำรวจ/ด้านสังคม/ประชากรและสังคม/ประชากรสูงอายุ.aspx

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง. (2564). ข้อมูลประชากรกลางปี ณ กรกฎาคม ปี 2564. http://www.lpho.go.th/?page_id=1571

Bandura, A. (1986). Social Foundations of though and action: A social cognitive theory. Prentice-Hall.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. Freeman and Company.

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the behavioral sciences. Lawrence Erlbaum Associates.

Gillespie, L. D., Robertson, M. C., Gillespie, W. J., Sherrington, C., Gates, S., Clemson, L. M., & Lamb, S. E. (2012). Interventions for preventing falls in older people living in the community. The Cochrane database of systematic reviews, 2012(9), CD007146. https://doi.org/10.1002/14651858.CD007146.pub3

Li, F., Harmer, P., & Fitzgerald, K. (2016). Implementing an evidence-based fall prevention intervention in community senior centers. American Journal of Public Health, 106(11), 2026-2031. https://doi.org/10.2105/AJPH.2016.303386

United Nations. (2017). World Population Ageing 2017. https://www.un.org/en/development/desa/population/theme/ageing/WPA2017.asp

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01