ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ และการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดจากยานอร์อีพิเนฟริน

ผู้แต่ง

  • ฐิติรัตน์ ลิ้มสินทวีคุณ ห้องผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • จิตติมา ภูริทัตกุล ห้องผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • ชวนชม ขาวบริสุทธิ์ ห้องผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • นิภาพรรณ นิระโทษะ ห้องผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • ปารมี ถิ่นจันทร์ ห้องผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, หลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ, การรั่วซึมของยาออกนอกหลอดเลือด, ยานอร์อีพิเนฟริน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลหลังการทดลองเพื่อเปรียบเทียบการเกิดหลอดเลือดดำ ส่วนปลายอักเสบและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดจากยานอร์อีพิเนฟริน ระหว่างกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบกับกลุ่มใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเดิม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงแบ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติเดิม ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดจากยานอร์อีพิเนฟริน เครื่องมือที่ใช้ใน การเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกการได้รับยานอร์อีพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย และแบบบันทึกการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบและการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และสถิติไค-สแควร์

ผลการวิจัยพบว่า การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบของผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อีพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลายในกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการป้องกันหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบน้อยกว่ากลุ่มที่ใช้ แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างของการเกิดการรั่วซึมออกนอกหลอดเลือดระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม

ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อีพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลายจะต้องมี การปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

References

กรุณา กรุงแก้ว, ภาวิณี สุคนธวิช, เยาวลักษณ์ หินซุย, และ ผ่องพักตร์ พิทยพันธ์. (2550). อุบัติการณ์การเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยสูงอายุที่รับการรักษาทางศัลยกรรม. จุลสารชมรมควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล แหงประเทศไทย, 17(1), 30-38.

ฉัตรชัย สวัสดิไชย, สุรศักดิ์ อิ่มเอี่ยม, ศรัณณัฎฐ์ แสนเสนาะ, วรานนท์ อินทรวัฒนา, และ กรกฎ ไชยมงคล. (2561). ว่านหางจระเข้ (Aloe vera). วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35(3), 324–328.

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2559). ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันและจัดการกับภาวะ extravasation. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2), 81–95.

ฐิติพร ปฐมจารุวัฒน์. (2560). การป้องกันและการจัดการกับการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อจากการรั่วของยาหรือสารน้ำจากการบริหารยาทางหลอดเลือดดำ. วารสารการพยาบาลสงขลานครินทร์, 37(2), 169–181.

ปาจรีย์ ศักดิ์วาลี้สกุล, และอุษณีย์ ศิริวงศ์พรหม. (2562). ผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันหลอดเลือดดำอักเสบจากการได้รับยานอร์อีพิเนฟริน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(2), 92–108.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2562). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2563). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2564). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

วิมล วัลย์วโรฬาร. (2560). หลอดเลือดดำอักเสบในป่วยเด็ก: การป้องกันและการดูแล. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 28(1), 16–28

Corbett, M., Marshall, D., Harden, M., Oddie, S., Phillips, R., & McGuire, W. (2018). Treatment of extravasation injuries in infants and young children: A scoping review and survey. Health Technology Assessment, 22(46), 1-112. https://doi.org/10.3310/hta22460

Gao, Y., Jiang, T., Mei, S., Zhang, S., Zhu, C., & Sun, Y. (2016). Meta-analysis of Aloe vera for the prevention and treatment of chemotherapy-induced phlebitis. International Journal of Clinical and Experimental Medicine, 9(6), 9642–9650.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308

Lv, L., & Zhang, J. (2020). The incidence and risk of infusion phlebitis with peripheral intravenous catheters: A meta-analysis. The Journal of Vascular Access, 21(3), 342–349. https://doi.org/10.1177/1129729819877323.

Zheng, G. H., Yang, L., Chen, H. Y., Chu, J. F., & Mei, L. (2014). Aloe vera for prevention and treatment of infusion phlebitis. Cochrane Database of Systematic Reviews, 2014(6), CD009162. https://doi.org/10.1002/14651858.cd009162.pub2

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-22