การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในระบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับของวิสัญญีพยาบาล

ผู้แต่ง

  • ฤทัยวรรณ ทองงามขำ งานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก
  • จารุณี บัวกลม งานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก
  • ธัญณภัสร์ สัจจะนราภรณ์ งานวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพุทธชินราช, พิษณุโลก

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุก่อนการได้รับยาระงับความรู้สึก, การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ, วิสัญญีพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหา 2) พัฒนารูปแบบ และ 3) ทดสอบประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในระบบ ODS ที่หน่วยเตรียมความพร้อมผู้ป่วยก่อนการระงับความรู้สึก ในระบบ ODS  โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก โดยในการทดสอบประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุเป็นการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการปฏิบัติตัวในการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุ ระหว่าง กลุ่มควบคุม 25 คน และกลุ่มทดลอง 25 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการศึกษา ได้แก่ รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประเมิน/ตรวจสอบข้อมูลผู้รับบริการ 2) การให้ความรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อม 3) การติดต่อสื่อสารระหว่างผู้สูงอายุอยู่ที่บ้าน และ 4) การประเมินผลการเตรียมความพร้อม และเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบประเมินการปฏิบัติตัวของผู้สูงอายุ 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาล และ 4) แบบประเมินอุบัติการณ์การรับบริการของผู้สูงอายุในการให้ยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในระบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองสามารถปฏิบัติตัวในการเตรียมความพร้อมก่อนการได้รับยาระงับความรู้สึกในการตรวจลำไส้ใหญ่แบบวันเดียวกลับ ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

ข้อเสนอแนะ ควรนำรูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุฯ  ไปใช้ในงานเตรียมผู้รับบริการในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในระบบ ODS ของโรงพยาบาลพุทธชินราช หรือโรงพยาบาลที่มีการให้บริการในลักษณะเดียวกัน

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี, ราชวิทยาลัยวิสัญญี แพทย์แห่งประเทศไทย, สมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย, สภาการพยาบาล, ชมรมวิสัญญีพยาบาลแห่งประเทศไทย, ชมรมระงับความรู้สึกเฉพาะส่วนแห่งประเทศไทย. (2561). Safety in One Day Surgery (ODS) ความปลอดภัยของการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์. http://training.dms.moph.go.th/rtdc//storage/app/uploads/public/5d2/541/b42/5d2541b425d93126523781.pdf

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย, สภาการพยาบาล, สำนักงานประกันสังคม, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.), และสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย. (2565). ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery: ODS) และการผ่าตัดแผลเล็ก (Minimally Invasive Surgery: MIS) ปี 2565. บริษัท จรัลสนิทวงษ์การพิมพ์ จำกัด. http://training.dms.moph.go.th/rtdc/article/10

เกศินี เธียรกานนท์, จุลจักร ลิ่มศรีวิไล, สติมัย อนิวรรณน์, พิเศษ พิเศษพงศา และทยา กิติยากร. (2565). การตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่. https://www.gastrothai.net/th/knowledge-detail.php?content_id=348

คณะกรรมการจัดทำแผนการป้องกันและควบคุมโรงมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ National Cancer Control Programme (พ.ศ. 2561 – 2565). https://nci.go.th/th/File_download/D_index/แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ.pdf

งานเวชระเบียน pre-anesthesia หน่วย ODS โรงพยาบาลพุทธชินราช. (2564-2565). สถิติผู้รับบริการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในระบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ. งานเวชระเบียน โรงพยาบาลพุทธชินราช.

จงดี ปานสุวรรณ และ กิตติพร เนาว์สุวรรณ. (2565). ผลของการใช้สื่อวีดิทัศน์การปฏิบัติตัวก่อนการส่องกล้องลำไส้ใหญ่ต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตัว ความสะอาดของลำไส้ และความวิตกกังวล ในกลุ่มเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโรงพยาบาลนาหม่อม. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 12(1), 136-148

ฉันทนา ชินกรสกุล และ สอนจิต เขื่อนชนะ. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบระดับความสะอาดลำไส้ใหญ่ก่อนการส่องกล้องระหว่างผู้ป่วยที่ได้รับโทรศัพท์ติดตามกับผู้ป่วยที่ไม่ได้รับโทรศัพท์ติดตามการเตรียมความพร้อมก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยนอก. วารสารสมาคมพยาบาลห้องผ่าตัดแห่งประเทศไทย, 47-55

ชัชวาล วงค์สารี และศุภลักษณ์ พื้นทอง. (2561). ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ การพยาบาลและการดูแลญาติผู้ดูแล. วารสาร มฉก.วิชาการ, 22(43-44), 166 - 179

ชัยพัฒน์ พุฒซ้อน และกันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน. (2561). แนวทางการแก้ไขปัญหาสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 1(1), 25-35.

ธนานันต์ อาสนานิ และไคลศรี บาดาล. (2564). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความสะอาดของลำไส้ใหญ่ก่อนการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก ในผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกพิเศษ โรงพยาบาลหนองคาย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 6(4), 120-133.

ปราณี ใบเศวต, จิตติมา ศรีทอง, และฐาณิชญาณ์ หาญณรงค์. (2564). ผลของการเตรียมผู้ป่วยเพื่อส่องกล้องลำไส้ใหญ่แบบผู้ป่วยนอก ศูนย์ส่องกล้อง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(2), 40-53

ปราโมทย์ ประสาทกุล, จงจิตต์ ฤทธิรงค์, ศุทธิดา ชวนวัน, ณปภัช สัจนวกุล, สุภรต์ จรัสสิทธิ์, และกาญจนา เทียนลาย. (2565). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/Elderly-Situation-2021-20220725_compressed.pdf

ภัคภร เกตุสีสังข์, อุษวดี อัศดรวิเศษ, วันเพ็ญ ภอญโญภาสกุล, และธวัชชัย อัครวิพุธ. (2558). ผลของโปรแกรมการดูแลต่อเนื่องต่อคุณภาพของการเตรียมลำ ไส้ และความวิตกกังวลในผู้ที่เข้ารับการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักแบบผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลศาสตร์, 33(3), 61-73

ลัดดาวัลย์ พรรณสมัย, จันศรี อุจันทึก, วราภรณ์ จีนเจนกิจ, นุชนาฎ บุโฮม, ปานทิพย์ ปูรณานนท์, และ อัจฉรา มีนาสันติรักษ์. (2560). รูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้ป่วยสูงอายุก่อนให้การระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัด ของวิสัญญีพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 14(3), 76-89

วรัญญา โสมจันทร์. (2563). ผลของการให้ข้อมูลและคําแนะนําซํ้าทางโทรศัพท์ต่อความพร้อมก่อนรับการส่องกล้องลําไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี. https://www.suratcancer.go.th/product_images/16-11.pdf

วิษณุ ปานจันทร์, เสาวคนธ์ ศุกรโยธิน, อาคม ชัยวีระวัฒนะ, และวีรวุฒิ อิ่มสำราญ. (2558). แนวทางการตรวจคัดกรอง วินิจฉัย และรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง. https://www.nci.go.th/th/cpg/Cervical_Cancer3.pdf

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2564. https://www.nci.go.th/e_book/hosbased_2564/index.html

โสภณา ว่องทวี (2561). บทบาทของพยาบาลกับการส่องกล้องลำ ไส้ใหญ่แบบผู้ป่วยนอก. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(2), 142-148.

สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2566). สถิติประชากรทางการทะเบียนราษฎร (รายเดือน). https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth/#/mainpage

American Cancer Society. (2019). Colonoscopy. https://www.cancer.org/content/dam/CRC/PDF/Public/9370.00.pdf

American Cancer Society. (2020). Colorectal Cancer Facts & Figures 2020-2022. https://www.cancer.org/content/dam/cancer-org/research/cancer-facts-and-statistics/colorectal-cancer-facts-and-figures/colorectal-cancer-facts-and-figures-2020-2022.pdf

Back, S. Y., Kim, H. G., Ahn, E. M., Park, S., Jeon, S. R., Im, H. H., Kim, J. Ko, B. M., Lee, J. S., Lee, T. H., & Cho, J. (2018). Impact of patient audiovisual re-education via a smartphone on the quality of bowel preparation before colonoscopy: A single-blinded randomized study. Gastrointestinal Endoscopy, 87(3), 789–799.e4. https://doi.org/10.1016/j.gie.2017.09.007

Elvas, L., Brito, D., Areia, M., Carvalho, R., Alves, S., Saraiva, S., & Cadime, A. T. (2017). Impact of personalised patient education on bowel preparation for colonoscopy: Prospective randomized controlled Trial. GE-Portuguese Journal of Gastroenterology, 24(1), 22-30. https://doi.org/10.1159/000450594

Gálvez, M., Zarate, A. M., Espino, H., Higuera-de la Tijera, F., Awad, R. A., & Camacho, S. (2017). A short telephone-call reminder improves bowel preparation, quality indicators and patient satisfaction with first colonoscopy. Endoscopy International Open, 5(12), E1172-E1178. https://doi.org/10.1055/s-0043-117954

Hernández, G., Gimeno-García, A. Z., & Quintero, E. (2019). Strategies to improve inadequate bowel preparation for colonoscopy. Frontiers in Medicine, 6, 1-9. https://doi.org/10.3389/fmed.2019.00245

Kang, X., Zhao, L., Leung, F., Luo, H., Wang, L., Wu, J., Guo, X., Wang, X., Zhang, L., Hui, N., Tao, Q., Jia, H., Liu, Z., Chen, Z., Liu, J., Wu, K., Fan, D., Pan, Y., & Guo, X. (2016). Delivery of instructions via mobile social media app increases quality of bowel preparation. Clinical Gastroenterology and Hepatology, 14(3), 429–435. https://doi.org/10.1016/j.cgh.2015.09.038

Lee, Y. J., Kim, E. S., Choi, J. H., Lee, K. I., Park, K. S., Cho, K. B., Jang, B. K., Chung, W. J., & Hwang, J. S. (2015). Impact of reinforced education by telephone and short message service on the quality of bowel preparation: A randomized controlled study. Endoscopy, 47(11), 1018–27. https://doi.org/10.1055/s-0034-1392406

Liu, X., Luo, H., Zhang, L., Leung, F., W. Liu, Z., Wang, X., Huang, R., Hui, N., Wu, K., Fan, D., Pan, Y., & Guo, X. (2014). Telephone-based re-education on the day before colonoscopy improves the quality of bowel preparation and the polyp detection rate: A prospective, colonoscopist-blinded, randomised, controlled study. Gut, 63(1), 125-130. http://doi.org/10.1136/gutjnl-2012-304292

Lorenzo-Zuniga, V., Moreno de Vega, V., Marin, I., Barbera, M., & Boix, J. (2015). Improving the quality of colonoscopy bowel preparation using a smart phone application: A randomized trial. Digestive Endoscopy, 27(5), 590–595. https://doi.org/10.1111/den.12467

Ness, R. M. (2022). Updates in screening recommendations for colorectal cancer. Journal National Comprehensive Cancer Network, 20(5.5), 603-606. https://doi.org/10.6004/jnccn.2022.5006

Xi, Y. & Xu, P. (2021). Global colorectal cancer burden in 2020 and projections to 2040. Translational Oncology, 14(10), 101174. https://doi.org/10.1016/j.tranon.2021.101174

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01