การพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ที่รับบริการคลินิกโรคตับ ห้องตรวจอายุรกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
คำสำคัญ:
แนวทางการพยาบาล, ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี, คลินิกโรคตับบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีที่มารับบริการคลินิกโรคตับ และศึกษาผลลัพธ์โดยการเปรียบเทียบระยะเวลาก่อนการเริ่มรักษา จำนวนครั้งที่มาโรงพยาบาลก่อนเริ่มรักษา และความพึงพอใจของผู้รับบริการในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง การศึกษาประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) วิเคราะห์สถานการณ์การดูแลผู้ป่วย 2) พัฒนาแนวทางฯ 3) นำแนวทางที่พัฒนาไปใช้ และ 4) ประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม จำนวน 60 คน กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ แนวทางการดูแลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซี ที่รับบริการคลินิกโรคตับ แบบประเมินแนวทางการดูแลและแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลระยะเวลา ก่อนเริ่มรักษาและจำนวนครั้ง ตรวจด้วยสถิติทดสอบแมนวิทนีย์ยู วิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจ ด้วยใช้เครื่องมือทางสถิติ เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่ามัธยฐาน
ผลวิจัยพบว่า ระยะเวลาก่อนการรับยาและจำนวนครั้งของการมาโรงพยาบาลระหว่างกลุ่มควบคุมและ กลุ่มทดลอง หลังการใช้แนวทางการดูแลมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) และคะแนนความ พึงพอใจระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการใช้แนวทางการดูแลไม่แตกต่างกัน
ข้อเสนอแนะ: สามารถนำแนวทางการดูแลผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเป็นแนวทางในการให้บริการห้องตรวจอื่นโดย 1) บริหารจัดการคลินิกในการลดขั้นตอน 2)ปฏิบัติการพยาบาลเน้นให้ความรู้ทั้งเรื่องโรค รักษา ปฏิบัติตัว รับประทานยาถูกต้อง 3) การสนับสนุนและนำไปสู่การพัฒนาแนวทางฯ โดยใช้แนวคิดวงจรการพัฒนาคุณภาพเพื่อคุณภาพทาง การพยาบาล
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ ซี เรื้อรังในประเทศไทย ปี พ.ศ 2561. ภาพพิมพ์.
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2563). แนวทางการกําจัดโรคไวรัสตับอักเสบ ซี ประเทศไทย. เจ.เอส. การพิมพ์.
กองโรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2566). ยุทธศาสตร์กำจัดโรคไวรัสตับอักเสบ พ.ศ. 2565 – 2573. เอส.บี.เค การพิมพ์.
เกษราภรณ์ มงคลวัจน์. (2565). การพัฒนาระบบการจัดการสุขภาพตนเองของผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีระหว่างรอกระบวนการรักษาในโรงพยาบาลหล่มสัก. เพชรบูรณ์เวชสาร. 2(3), 218-233.
ถนอม นามวงศ์. (2564). การพัฒนาแบบคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกลุ่มประชาชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 30/3, 468-476.
บดินทร์ภัทร์ สายบุตร. (2565). กระบวนการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาตามวงจร PDCA ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. วารสารวิจยวิชาการ. 2(1), 39-53.
ประคอง กรรณสูต. (2554). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฯ.
สมาคมโรคตับแห่งประเทศไทย. (2561). แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังในประเทศไทย. บริษัท ภาพพิมพ์ จำกัด.
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2565). สถานการณ์จำนวนผู้ป่วยตับอักเสบจากเชื้อไวรัส. https://www.hiso.or.th/hiso/health_event/ghealth_event_index.php
Akram, A. Mahmud, I. Ashraf, R. Awal, S. & Talapatra S. (2018). Enhancing the healthcare service using quality function deployment and database management system in the outpatient department of a government hospital of Bangladesh. International Research Journal of Engineering and Technology, 5(4), 2022-2029.
Booth, J. C., O'Grady, J., & Neuberger, J. (2001). Clinical guidelines on the management of hepatitis C. Gut, 49(Suppl I), i1-i21.
World Health Organization. (2563). Hepatitis. https://www.who.int/health-topics/hepatitis#tab=tab_1
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.