ผลการประคบด้วยถุงเจลแช่เย็นต่อการลดความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม

ผู้แต่ง

  • วิกานดา พุทธา หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์หญิงและเด็ก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • วิจิตรา สุขดี หอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์หญิงและเด็ก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, ความปวด, ถุงเจลประคบเย็น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง แบบศึกษาสองกลุ่ม วัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความปวดของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมระหว่างกลุ่มที่ให้การประคบเจลเย็นตามปกติ กับกลุ่มที่ได้รับการประคบด้วยถุงเจลแช่เย็นแบบใหม่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 104 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงแบ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่ได้รับการประคบเจลเย็นตามปกติและกลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการประคบด้วยถุงเจลแช่เย็นแบบใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ถุงเจลประคบเย็น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปและแบบประมินความปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมโดยใช้แบบประเมินความปวดแบบมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข วิเคราะห์ข้อมูลใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน ด้วยสถิติไค-สแควร์ สถิติพีชเชอร์ และ สถิติวิลคอกซัน

ผลการวิจัยพบว่า คะแนนความปวดหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในกลุ่มที่ได้รับการประคบด้วยถุงเจลแช่เย็นแบบใหม่หลังผ่าตัดลดลง ทั้งหลังผ่าตัดทันที หลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง หลังผ่าตัด 48 ชั่วโมง หลังผ่าตัด 72 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)

ดังนั้น พยาบาลควรนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม การจัดการอาการปวดร่วมกับการประคบเย็นอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อช่วยฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดให้เร็วยิ่งขึ้น

References

ณัฐกฤต สว่างเนตร, วารินทร์ บินโฮเซ็น, และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2562). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 13(2), 101-112.

ธัญณภัสร์ สัจจะนราภรณ์, จารุณี บัวกลม, ฤทัยวรรณ ทองงามขำ, สุธาสินี ไพศาลพิสุทธิ์, พิกุล มงคลวิสุทธิ์, และจิตราภรณ์ โล่นพันธ์. (2566). ผลของการใช้เจลเย็นประคบที่ผิวหนังและเทคนิคการผ่อนคลายต่อระดับความเจ็บปวดและความกลัวจากการแทงเข็มฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารการพยาบาล สุขภาพและสาธารณสุข, 2(3), 22-34.

เย็นใจ พิมพ์บรรณ, อรทัย สุทธอาจ, และเกษสุดา วังขุนพรม. (2564). ผลการจัดการความปวดร่วมกับการประคบเย็นในผู้ป่วยหลังผ่าตัดยึดตรึงกระดูกขาในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 5(10), 44-54.

รฐกร เอมโกษา และชุตินันท์ สุขสะอาด. (2560). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพสารทำความเย็นต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิบริเวณชั้นผิวหนัง. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 7(13), 46-58.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2562). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2563). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2564). สถิติบริการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

วรรณี สัตยวิวัฒน์. (2551). การพยาบาลผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็นพี เพรส.

สดากาญจน์ เอี่ยมจันทร์ประทีป, วิภา แซ่เจีย และเนตรนภา คู่พัยธวี. (2555). ผลของการจัดการปวดแบบประคบเย็นร่วมกับโปรแกรมการออกกำลังกายต่อการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม. วารสารสภาการ พยาบาล, 27(3), 77-90.

อินทิรา ไพนุพงศ์. (2557). ผลการจัดการความปวดด้วยการประคบเย็นร่วมกับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการออกกำลังกายต่อผลลัพธ์การฟื้นฟูสภาพสูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดเข่าเทียม (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

Adams, M. L., & Arminio, G. J. (2008). Non-pharmacologic pain management intervention. Clinics in Podiatric Medicine and Surgery, 25(3), 409–429. https://doi.org/10.1016/j.cpm.2008.02.003

Bastami, M., Azadi, A., & Mayel, M. (2015). The use of ice pack for pain associated with arterial punctures. Journal of Clinical and Diagnostic Research, 9(8), JC07–JC9. https://doi.org/10.7860/JCDR/2015/12657.6336

Chen, S. (1998). Asian Blepharoplasty: Anatomy and surgical techniques. (2nd ed). In Nesi P. A., Lisman, R. D., Leuine, M. R. (Eds). Smith’s Ophthalmic Plastic and Reconstructive Surgery. (pp.448-552). St. Louis: Mosby.

Chen, W. P. D., & Clinton, D. M. (2004). Preoperative preparation, anesthesia, and postoperative considerations. In Chen, W. P. D., Khan, J. A., MC Cord, & Jr. C. D. (Eds). Color Atlas of Cosmetic Oculofacial Surgery (pp.19-24). Chin: Elsevier.

McCaffery, M., & Pasero, C. (1999). Pain: Clinical manual (2nd ed.). Mosby Company.

Melzack, R., & Wall, D.P. (2020). Gate control theory. https://www.research.net/pubication/225968177.

Morsi, E. (2002). Continuous-flow cold therapy after total knee arthroplasty. The Journal of Arthroplasty, 17(6), 718–722. https://doi.org/10.1054/arth.2002.33562

Ugalmule, S., & Swian, R. (2020). Total knee replacement market size. Global Market Insights, 1, 850-854.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-01