ผลของโปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อปริมาณน้ำนมในมารดาหลังคลอดปกติครรภ์แรก หอผู้ป่วยสูติกรรมหลังคลอด โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ศิริวรรณ์ พันธ์ทรัพย์ สูติกรรมหลังคลอด, โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • กิจญมาส นาคแก้ว สูติกรรมหลังคลอด, โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • ละอองทิพย์ รถมณี สูติกรรมหลังคลอด, โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • นุชจรี อุทัย สูติกรรมหลังคลอด, โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • กนกพร ขวัญนาค สูติกรรมหลังคลอด, โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

โปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนม , มารดาหลังคลอดปกติครรภ์แรก , ปริมาณน้ำนม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลองแบบอนุกรมเวลา 2 กลุ่มวัดหลายครั้งเพื่อเปรียบเทียบปริมาณน้ำนมก่อนและหลังได้รับโปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนม ในมารดาหลังคลอดปกติครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ มารดาหลังคลอดปกติครรภ์แรกจำนวน 60 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุม ได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลอง ได้รับโปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนมร่วมกับการพยาบาลตามปกติ  ได้แก่ 1) หลัก 4 ดูด 2) ดื่มน้ำอย่างน้อย 2,000  มิลลิลิตร   ใน 1 วัน และ 3) นวดประคบเต้านม มีการประเมินการหลั่งน้ำนมแรกรับและ 8,  24 และ 48 ชั่วโมง หลังคลอด เพื่อวัดปริมาณน้ำนม วิเคราะห์ผลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย One way repeated measures ANOVA dependent และ independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมในกลุ่มควบคุม และในกลุ่มทดลอง ระยะแรกรับ 8 ชั่วโมง 24 ชั่วโมง และ 48 ชั่วโมงหลังคลอด ทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันภายในกลุ่มอย่างน้อย 1 คู่ของช่วงเวลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) แต่เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างกัน แต่มีแนวโน้มค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำนมของกลุ่มทดลองเพิ่มมากขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม ในระยะ 48 ชั่วโมงหลังคลอด

พยาบาลสามารถนำโปรแกรมกระตุ้นการหลั่งน้ำนมไปประยุกต์ในการเตรียมความพร้อมหญิงตั้งครรภ์ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และใช้โปรแกรมให้ความรู้แก่มารดาหลังคลอดทุกรายเพื่อส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาอย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2564). ข้อมูล HDC งานอนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 2. http//hdcservice moph.go.th>hdc>main

กรมอนามัย. (2564). กระทรวงสาธารณสุขรณรงค์ เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งเป้า ปี ‘68’ ดันทารกร้อยละ 50 ได้กินนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนเต็ม. https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/050864/

กนกวรรณ โคตรสังข์, ศิริวรรณ แสงอินทร์, และอุษา เชื้อหอม. (2559). ผลของโปรแกรมการกระตุ้นการหลั่งน้ำนมต่อระยะเวลาการเริ่มไหลของน้ำนม ระยะเวลาการมาของน้ำนมเต็มเต้า และการรับรู้ความสามารถในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในมารดาหลังผ่าตัดคลอดบุตรทางหน้าท้อง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(1), 13-26.

นิตยา พันธ์งาม, ปราณี ธีรโสภณ, และสุพรรณี อึ้งปัญสัตวงศ์. (2558). ผลของการประคบเต้านมด้วยลูกประคบเจลโพลิเมอร์แบบอุ่นชื้นต่อระยะเวลาการหลั่งน้ำนมครั้งแรกในมารดาหลังคลอดครรภ์แรก. https://gsbooks.gs.kku.ac.th/58/the34th/pdf/MMO12.pdf

นิรัตน์ชฎา ไชยงาม, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, และวรรณา พาหุวัฒนกร. (2562). ปัจจัยทำนายการเริ่มหลั่งน้ำนมในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 52-59.

ปิติมา ฉายโอกาส, นิตยา โรจนนิรันดร์กิจ และชมภูนุช บุญประเสริฐ. (2550). ผลของการเสริมนมผสมในมารดาต่อปริมาณน้ำนมใน 48 ชั่วโมงหลังคลอดในโรงพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 15(1), 25-35.

มารียา มะแซ, ศศิกานต์ กาละ, และวรางคณา ชัชเวช. (2562) ผลของโปรแกรมการนวดเต้านมด้วยตนเองต่อการไหลของน้ำนมในมารดาครรภ์แรก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนคินทร์, 11(3), 1-14.

ลาวัลย์ ใบมณฑา, มยุรี นิรัตธราดร, และสุดาพร กมลวารินทร์. (2558). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อความสามารถในการให้นมและการไหลของน้ำนมในมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. พยาบาลสาร, 42(4), 65-75.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. (2563). โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562, รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย: สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย.

อมรินทร์ ชะเนติยัง. (2561). ผลการนวดและประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอด โรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีษะเกษ. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 4(1), 41-52.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1997). Essentials of nursing research: methods, appraisal, and utilization. USA: Lippincott.

Lawrence, R. A., & Lawrence, R. M. (2016). Breastfeeding: A Guide for the Medical Profession (8th ed.). United States of America: Elsevier.

Vittner, D., McGrath, J., Robinson, J., Lawhon, G., Cusson, R., Eisenfeld, L., Walsh, S., Young, E., & Cong, X. (2018). Increase in oxytocin from skin-to-skin contact enhances development of parent-infant relationship. Biological Research for Nursing, 20(1), 54-62. https://doi.org/10.1177/1099800417735633

World Health Organization. (2018). Implementation guidance: Protecting, promoting and supporting breastfeeding in facilities providing maternity and newborn services: the revised baby-friendly hospital initiative. https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/272943/9789241513807-eng.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-18