ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เกณฑ์การคัดกรองเร่งด่วนต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย ความแม่นยำการคัดกรอง และการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลคัดกรอง งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ โต๊ะทอง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

การคัดกรองผู้ป่วย , ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย , ความแม่นยำของการคัดกรอง , การปฏิบัติบทบาทหน้าที่พยาบาลคัดกรอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วย โดยใช้เกณฑ์การคัดกรองเร่งด่วนต่อ 1) ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย 2) ความแม่นยำของการคัดกรอง และ 3) การปฏิบัติการคัดกรองของพยาบาลกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉินจำนวน 25 คน และเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉินจำนวน 320 ฉบับ ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ 1) คู่มือการคัดกรองและเกณฑ์คัดกรองเร่งด่วน  2) แบบสังเกตการณ์การคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เกณฑ์คัดกรองเร่งด่วน 3) แบบบันทึกระยะรอคอยของผู้ป่วย 4) แบบบันทึกความแม่นยำการคัดกรอง และ 5) แบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทพยาบาลคัดกรอง เครื่องมือทุกชุดผ่านการทดสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และวิเคราะห์ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทพยาบาลคัดกรองได้ค่าค่าสัมประสิทธิแอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ได้แก่ One Sample t-test, Chi-square test และ Paired t-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการทดลอง ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยวิกฤตและผู้ป่วยเจ็บป่วยรุนแรงมากกว่าเกณฑ์มาตรฐานของออสเตรียอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนผู้ป่วยเจ็บป่วยเล็กน้อยและเจ็บป่วยทั่วไปน้อยกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) ความแม่นยำของการคัดกรองหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (c2= 12.62, df= 1, p=.00) แต่การปฏิบัติบทบาทพยาบาลคัดกรองหลังทดลองทั้งรายด้านและรายรวม ไม่แตกต่างกันที่ระดับ .05 (t=-1.51, p=.15) ผลการวิจัยครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงการนำรูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เกณฑ์การคัดกรองเร่งด่วนสามารถลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย และทำให้การคัดกรองมีความแม่นยำมากขึ้น พยาบาลจึงควรนำรูปแบบการคัดกรองดังกล่าวไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยต่อไป

References

กฤษฎา สวมชัยภูมิ, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์, อรพรรณ โตสิงห์ และอภิชญา มั่นสมบูรณ์. (2563). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความถูกต้องในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินโดยการใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน. วารสารสภาการพยาบาล, 34(4), 34-47.

พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สินีนุช ชัยสิทธิ์, และ อนุชา เศรษฐเสถียร. (2559). การคัดแยกผู้ป่วยของแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2), 96-108.

สภาการพยาบาล. (2563). ประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง หลักการคัดแยกระดับความเร่งด่วนของผู้ป่วย พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 จาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/T_00344.PDF

สุคนธ์จิต อุปนันชัย. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย และการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกลาง (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2551). มาตรฐานการบริการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. (ปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). MOPH ED.TRIAGE (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). Guideline for ER Service Delivery คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉิน. กรุงเทพฯ: สามชัย 2017.

Australasian College for Emergency Medicine. (2016). Guidelines on the implementation of the Australasian triage scale in emergency departments. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563, จากhttps://acem.org.au/getmedia/51dc74f7-9ff0-42ce-872a-0437f3db640a/G24_04_Guidelines_on_Implementation_of_ATS_Jul-16.aspx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-05-30