ผลการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมแบบวันเดียวกลับ หอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • อารญา ธนานุวัตรพงษ์ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์
  • จีระกานต์ สุขเมือง โรงพยาบาลเพชรบูรณ์

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย, ผ่าตัดต้อกระจก, เปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียม

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความรู้เรื่องโรค การปฏิบัติตัว ความพึงพอใจของผู้ป่วยและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นระหว่างกลุ่มที่ใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมแบบวันเดียวกลับกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบเดิม และตรวจสอบความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติแบบใหม่ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 140 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงแบ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติเดิม ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจก เปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมแบบวันเดียวกลับ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้ในการปฏิบัติตัวผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียม 2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลที่ใช้แนวปฏิบัติแบบใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ และ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองที่ใช้แนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมแบบวันเดียวกลับ มีคะแนนความรู้เรื่องโรคและการปฏิบัติตัวมากกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) 2) คะแนนความพึงพอใจของผู้ป่วยกลุ่มทดลองมีคะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 3) คะแนนเฉลี่ยผลลัพธ์การเกิดความเสี่ยง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการเกิดความเสี่ยงที่พบโดยรวมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.045) และ 4) คะแนนความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพที่ใช้แนวปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด

ควรนำแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมแบบวันเดียวกลับไปใช้อย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกเปลี่ยนเลนส์แก้วตาเทียมแบบวันเดียวกลับ เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถดูแลตนเองในเรื่องการปฏิบัติตัวภายหลังการผ่าตัดเพื่อช่วยลดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อที่ตาภายหลังการกลับไปพักฟื้นที่บ้าน

References

ดุจดาว ทัพเบิก. (2564). ผลการใช้รูปแบบการเตรียมผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกใส่เลนส์แก้วตาเทียมหอผู้ป่วย ตา หู คอ จมูก. โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช: ตาก.

เบญจวรรณ พวงเพชร, อุษาวดี อัศดรวิเศษ, วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล, และกนกรัตน์ พรพาณิชย์. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการวางแผนจำหน่ายแบบผู้ป่วยนอกต่อความวิตกกังวลและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(2), 53-62.

เบญจวรรณ มนูญญา และสกาวเดือน ขำเจริญ. (2564). การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับแบบครบวงจร. วารสารวิจัยและเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิต, 1(1), 13-24.

เยาวเรศ ก้านมะลิ, ถนอมศิลป์ ก้านมะลิ, และสะคราญจิตร คงพันธ์. (2563). การพัฒนารูปแบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(2). 183-195.

โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. (2564). รายงานประจำปีหอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. โรงพยาบาลเพชรบูรณ์.

โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. (2565). รายงานประจำปีหอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. โรงพยาบาลเพชรบูรณ์.

โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. (2566). รายงานประจำปีหอผู้ป่วยตา หู คอ จมูก โรงพยาบาลเพชรบูรณ์. โรงพยาบาลเพชรบูรณ์.

ฤทัยวรรณ ทองงามขำ, จารุณี บัวกลม, และธัญณภัสร์ สัจจะนราภรณ์. (2566). การพัฒนารูปแบบการเตรียมความพร้อมผู้สูงอายุก่อนได้รับยาระงับความรู้สึกในการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ในระบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับของวิสัญญีพยาบาล. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และสาธารณสุข, 2(3), 50-65.

ละมิตร์ ปึกขาว, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, และกาญจนา หัถรังสี. (2563). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกแบบมีส่วนร่วมอย่างเอื้ออาทรตามทฤษฎี Swanson โรงพยาบาลปทุมธานี.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(5),35-49.

สุมาลินี ชุ่มชื่น. (2566). ผลของการใช้แนวปฏิบัติของพยาบาลต่อความรู้ ในการปฏิบัติตนในผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลพระอาจารย์ฝั้นอาจาโร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(1), 343-355.

อวยพร จงสกุล, นารีรัตน์ อยู่สมบูรณ์, และศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับแบบครบวงจรของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(1), 109-125.

อาภรณ์ พื้นดี. (2562). ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดต้อกระจกโรงพยาบาลแพร่. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 27(2), 30-45. American Academy of Ophthalmo-logy. (2011). Preferred practice pattern guideline: Cataract in the adult eye. http://www.aao.org/ppp.

Chan, C. W., Wong, J. C., Chan, K. S., Wong, W. K., Tam, K. C., Chau, P. S. (2003). Evaluation of quality of life in patients with cataract in Hong Kong. Journal of Cataract & Refractive Surgery, 29(9), 1753-1760.

Gagan, M., & Hewitt-Taylor, J. (2004). The issues for nurses involved in implementing evidence in practice. British Journal of Nursing, 13(20), 1216-1220.

Houde, S. C., & Huff, M. A. (2003). Age-related vision loss in older adults: A challenge for gerontological nurses. Journal of Gerontological Nursing, 29(4), 25-33.

Neuman, W. L. (1997). Social research method: Qualitative and quantitative approaches (3rd ed.). Allyn and Bacon.

World Health Organization. (2020). The Global Initiative for the Elimination of Avoidable Blindness. http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs213/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-04