ผลของการใช้หมวกเก็บความเย็นต่อระดับอุณหภูมิกายในผู้ป่วยผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ช่องอก ขณะได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัว
คำสำคัญ:
หมวกเก็บความเย็น, อุณหภูมิกายทาง nasopharyngeal temperature, การผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ ช่องอก, การได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัวบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบ 2 กลุ่ม วัดผลหลายครั้งหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายทาง nasopharyngeal temperature ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ช่องอกขณะได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัวร่วมกับใช้เทคนิคหยุดการไหลเวียนโลหิตที่อุณหภูมิต่ำระหว่างการใช้หมวกเก็บความเย็นและถุงเจลเย็น และเปรียบเทียบความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลระหว่างการใช้หมวกเก็บความเย็น และถุงเจลเย็น กลุ่มตัวอย่าง คัดเลือกอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ช่องอกขณะได้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วตัวร่วมกับใช้เทคนิคหยุดการไหลเวียนโลหิตที่อุณหภูมิต่ำ จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและควบคุมกลุ่มละ 15 คน และวิสัญญีพยาบาลจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่หมวกเก็บความเย็น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย แบบบันทึก nasopharyngeal temperature และแบบสอบถามความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลด้วยสถิติบรรยายความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย nasopharyngeal temperature ระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม ใช้ Mann Whitney U test และเปรียบเทียบความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาล ใช้ Wilcoxon signed rank test
ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิกายทาง Nasopharyngeal temperature ระหว่างผู้ป่วยที่ใช้หมวกเก็บความเย็น และถุงเจลเย็น ในนาทีที่ 15 ไม่แตกต่างกัน ส่วนนาทีที่ 30, 45 และ 60 มีค่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) ความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลระหว่างการใช้หมวกเก็บความเย็น และถุงเจลเย็นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01)
References
ชลัช มิตรประชาปราณี, ชวลิต วงศ์พุทธะ, และฐิติ จันทร์เมฆา. (2562). การผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจร่วมกับการเปลี่ยนหลอดเลือดแดงใหญ่ส่วนต้น: ประสบการณ์ 5 ปี. ศรีนครินทร์เวชสาร, 34(2), 205-210.
ธนิกา หุตะกมล, อรพรรณ โพชนุกูล, และเพ็ญวิสาข์ พิสิฎฐศักดิ์. (2564). การพัฒนาหน้ากากผ้าสะท้อนน้ำทดแทนหน้ากากอนามัยสำหรับบุคลากรทางการแพทย์. วารสารศิลปกรรมบูรพา, 24(1), 41-52.
นิตยา กรายทอง, พิทักษ์ พิมพ์พันธ์, สุวิมล จิณดาศรี, และนุสรา ประเสริฐศรี. (2564). ผลการใช้นวัตกรรมถุงเจลประคบต่อการลดอุณหภูมิร่างกายผู้ป่วยเลือดออกในสมองในหอผู้ป่วยหนักศัลยกรรมประสาท. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิ์ประสงค์, 5(2), 115-123.
นฤเบศร์ โกศล, นิภาพร จันทราทิพย์, และปิยธิดา บวรสุธาศิน. (2564). ภาวะอัมพาตท่อนล่างในผู้ป่วยผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ช่องอก : บทบาทพยาบาลวิกฤตในการประเมิน เฝ้าระวัง และป้องกัน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 32(2), 16-27.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราภรณ์ สมวงษ์, เอกมณี พัฒนพิพิธไพศาล, และปานจิต โพธิ์ทอง. (2564). การศึกษากระติกบรรจุส่วนประกอบของโลหิตชนิดเม็ดเลือดแดงเพื่อการขนส่ง. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 8(1), 21-33.
เวชระเบียนและสถิติ กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลพุทธชินราช. (2565). รายงานสถิติประจำปี. งานเวชระเบียน โรงพยาบาลพุทธชินราช.
สุวิมล ขัตติยะ, แคทธริน แซ่ว่าง, และวราภรณ์ จาวรัตนสกุล. (2564). ประสิทธิผลของการใช้นวัตกรรมเสื้อเย็นเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายในผู้ป่วยหลังผ่าตัดสมอง. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 36(2), 427-436.
สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย. (2563). สถิติผ่าตัดหัวใจในประเทศไทย. http://www.thaist.or.th
Cao, L., Guo, X., Jia, Y., Wang, H., & Yuan, S. (2020). Effect of deep hypothermic circulatory arrest versus moderate hypothermic circulatory arrest in aortic arch surgery on postoperative renal function: A systematic review. Journal of the American Heart Association, 9(19), 739-750. http://doi.org/10.1161/JAHA.126.017939
Downey, R. T., & Aron, R. A. (2022). Thoracic and thoracoabdominal aneurysm etiology, epidemiology and natural history. Journal of Anesthesiology Clinics, 40(4), 671-683. http://doi.org/10.1016/j.anclin.2022.08.011
Hodoodi, F., Tavakoli, M. A., Tajik, F., Fatemi, I., & Ahmadi, A. M. (2021). The effect of head cooling and remote ischemic conditioning on patients with traumatic brain injury. Journal of iScience, 24(6), 675-685. http://doi.org/10.1016/j.sci.2021.102472
Qiu, W., Shen, H., Zhang, Y., Wang, W., Lui, W., & Jiang, Q. (2016). Noninvasive selective brain cooling by head and neck cooling is protective in severe traumatic brain injury. Journal of Clinical Neuroscience, 13(10), 995-1000. http://doi.org/10.1016/j.jocn.2006.02.027
Qu, J. Z., Kao, L. W., Smith, J. E., Kuo, A., Xue, A., Layer, M. H., Essandoh, M. K., & Dalia, A. A. (2021), Brain protection in aortic arch surgery: An evolving field. Journal of Cardiothoracic and Vascular Anesthesia, 35(4), 1176-1188. http://doi.org:10.1053/j.jvca.2020.11035
Scharpf, D. T., Sharma, M., Deogaonkar, M., Rezai, A., & Bergese, S. D. (2015). Practical considerations and nuances in anesthesia for patients undergoing deep brain stimulation implantation surgery. Korean Journal Anesthesiology, 68(4), 332. http://doi.org.10.4097/kjae.2015.68.4.332
Senser, E. M., Misra, S., & Henkin, S., (2021). Thoracic aortic aneurysm: A clinical review. Journal of Science Direct, 39(4), 505-515. http://doi.org/10.1016/j.ccl.2021.06.003
Tien, M., Ba, k. A., Acero, N. M., Zvara, J., Sun, E. C., & Cheung, A. T. (2020). The penn classification predicts hospital mortality in acute Stanford type A and Stanford type B aortic dissections. Journal of Cardiothoracic and Vascular Anesthesia, 34(4), 867-873. http://doi.org/10.1053/j.jvca.2019.08.036
Westermaier, T., Nickl, R., Kochler, S., Christian P. F., & Mark, S. S., (2017). Selective brain cooling after traumatic brain injury: Effect of three different cooling methods – case report. Journal of Neurological Surgery Part A: Central European Neuro Surgery, 78(4), 397-402. http://doi.org.10.1055/s-0036-1596057
Wei, L., Bu, X., Wang, X., Lui, J., Ma, A., & Wang, T. (2021). Global burden of aortic aneurysm and attributable risk factors from 1990 to 2017. Journal of Glob Heart, 16(1), 35-43. http://doi.org.10.5334/gh.920
Xiuli, Y., Junyi, N., Peiyan, c., & Tiancheng, H. (2021). Thermal cloak: Theory, experiment and application. Journal of Molecular Sciences, 14(24), 783-791. http://doi.org/10.339/ma142478
Zainab, F., & Tariq, S. (2023). Thoracic aorta aneurysm. Statpearls Publishing. http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.