ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลดอนมะโนรา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • นริศ เกียรติชูเจริญ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนมะโนรา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

ความรอบรู้ทางสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลส่วนบุคคล ความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ตำบลดอนมะโนรา อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งชายและหญิง มีอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 - 8 จำนวน 268 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกำหนดโควตาและการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นเครื่องมือของกองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของ ครอนบาค เท่ากับ .78 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 57.69, S.D. = 10.19) และค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก (Mean = 61.32, S.D. = 5.80) ความรอบรู้ด้านสุขภาพมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่การประเมินข้อมูลและบริการสุขภาพ การประยุกต์ใช้ข้อมูลและบริการสุขภาพ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นอกจากนี้ สถานะภาพสมรส การศึกษา รายได้/เดือน มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ควรนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ไปสู่การออกแบบกิจกรรมการส่งเสริมผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพ นําไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมและควบคุมโรคได้ดีป้องกันโรคแทรกซ้อน

References

กิติพงษ์ เรือนเพ็ชร, ยุวดี งอมสงัด, นิภา สุทธิพันธ์, ปิยะอร รุ่งธนเกียรติ, ปัณณทัต บนขุนทด, และ เมธา พันธ์รัมย์. (2566). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของประชาชน อำภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 17(2), 479-492.

กรรณิการ์ การีสรรพ์, พรทิพย์ มาลาธรรม, และ นุชนาฎ สุทธิ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 25(3), 280-295.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอ รู้เลข รู้เสี่ยง เลี่ยงโรคไม่ติดต่อ. https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?news=34117&deptcode=brc

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ พ.ศ. 2561. โรงพิมพ์กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2566). แบบประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพแลพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสำหรับหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในตำบลจัดการสุขภาพชีวิต ปี 2566. http://hed.go.th/linkHed/453

จิราภรณ์ อริยสิทธิ์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ด้านสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่3, 20(3), 117-123.

ณัฐสิทธิ์ สินโท, วิโรจน์ คำแก้ว, อิสรา จุมมาลี, และ ธารินี ศรีศักดิ์นอก. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 99-113.

ตวงพร พิกุลทอง. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของผู้ที่มีความเสี่ยงในอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปราณี ทัดศรี, ปรางค์ทิพย์ อุจะรัตน, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คา, จุฬาลักษณ์ อินทะนิลม, และ กนัยนา มีสารภี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้สุขภาพ และพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 29(2), 157-169.

ภฤดา แสงสินศร. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ของประชาชนที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในเขตจังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร, 2(2), 43-52.

วริศรา ปั่นทองหลาง, ปานจิต นามพลกรัง, และ วินัฐ ดวงแสนจันทร์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร, 38(4), 152-156.

วัชรา จันทร์กระจ่าง. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงในอำเภอแห่งหนึ่งของจังหวัดพิจิตร [วิทยานิพนธ์หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วันวิสา ยะเกี๋ยงงำ. (2565). ความรอบรู้และพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ตําบลทุ่งกระเชาะ อําเภอบ้านตาก จังหวัดตาก [สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]. อุตรดิตถ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

วานิช สุขสถาน. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงภายใต้นโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(3), 431-441.

วิชัย เอกพลากร, หทัยชนก พรรคเจริญ, และวราภรณ์ เสถียรนพเก้า. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 6 พ.ศ.2562 -2563. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ.2562. สำนักพิมพ์ทริคธิงค์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. (2566). ข้อมูลรายงานในระบบ (health data center : HDC) สถานการณ์ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. https://skm.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

อังศินันท์ อินทรกําแหง. (2560). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. กรุงเทพมหานคร: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

อัมภากร หาญณรงค์, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, และ สมสมัย รัตนกรีฑากุล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 25(3), 52-65.

อาภรณ์ คำก้อน, สุพัตรา บัวที, อัจฉรา ชัยชาญ, บุญญภัสร ภูมิภู, และ กัญจนณิชา เรืองชัยทวีสุข. (2565). ความรอบรูดานสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในการปองกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุในชุมชนเมืองและกึ่งเมือง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 28(2), 1-16.

Becker, M. H. (1974). The health belief model and preventive health behavior. Health Education Monographs, 2(4), 354-385.

Davis, J. A. (1971). Elementary survey analysis. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Nutbeam, D. (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

Parker, R. M. (2000). The health literacy: A challenge for American patients and their health care providers. Health Promotion, 15(17), 277-291.

World Health Organization. (2021, August25). More than 700 million people with untreated hypertension. www.who.int/news/item/25-08-2021-more-than-700-million-people-with-untreated-hypertension

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13