ผลของการใช้สายรัดข้อมือเรสเทรนนิ่งเบลท์ต่ออุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดจากผู้ป่วยดึงออกเอง ในหอผู้ป่วยวิกฤต
คำสำคัญ:
สายรัดข้อมือ , ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดจากผู้ป่วยดึงออกเอง , หอผู้ป่วยวิกฤตบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบศึกษาสองกลุ่มวัดครั้งเดียวหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการเกิดอุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดจากผู้ป่วยดึงออกเองระหว่างกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการใช้ สายรัดข้อมือแบบเดิมกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการใช้สายรัดข้อมือเรสเทรนนิ่งเบลท์ในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการท่อช่วยหายใจ ที่เข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยหนักที่มีความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม แบ่งออกเป็น กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ สายรัดข้อมือเรสเทรนนิ่งเบลท์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยและผลลัพธ์อุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดจากผู้ป่วยดึงออกเอง และแบบประเมิน ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้สายรัดข้อมือเรสเทรนนิ่งเบลท์ วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติบรรยายความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของการเกิดอุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดจากผู้ป่วยดึงออกเองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยใช้สถิติ Mann Whitney U test และวิเคราะห์ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้สายรัดข้อมือเรสเทรนนิ่งเบลท์ ด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า อุบัติการณ์การเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดจากผู้ป่วยดึงออกเองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p < 0.05) ความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.21, S.D. = 0.74)
ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาเลือกอุปกรณ์ในการผูกยึดผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดจากผู้ป่วยดึงออกเอง และเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยและได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพต่อไป
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12). โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
จิรวัตน์ มูลศาสตร์. (2564). การควบคุมผู้ป่วยด้วยวิธีการทางกายภาพ (physical restraints) ในโรงพยาบาลทั่วไป – แนวทางปฏิบัติและขอพิจารณาทางคลินิก. สรรพสิทธิเวชสาร. 41(2), 79-89.
บังอร นาคฤทธิ์, อำภาพร นามวงศ์พรหม, และ น้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2558). การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารเกื้อการุณย์, 22(1), 129-143.
มณีนุช สุทธสนธิ์, ขนิษฐา แก้วกัลยา, และ วาสนา นัยพัฒน์. (2560). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดใน ผู้ป่วยอาการหนักที่ใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาล และการศึกษา, 10(2), 58-70.
สมพร นรขุน. (2559). ผลของการใช้แนวปฏิบัติ การพยาบาลต่ออัตราการเกิดการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 27(1), 72-84.
สุเพียร โภคทิพย์, พัชรวรรณ สลักคำ, ทิศากร สุทธิประภา, พิชญดา ดาทวี, ประภัสสร ควาญช้าง, และ นาฎอนงค์ เสนาพรหม. (2562). ความชุก ปัจจัยเสี่ยงและการพยาบาลผู้ป่วย ดึงท่อช่วยหายใจออกเองและท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด โดยไม่ได้วางแผน: การทบทวนวรรณกรรมแบบบูรณาการ. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์, 3(3), 53-67.
หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม 1 โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2565). สถิติบริการ รายงานความเสี่ยงของหอผู้ป่วยหนักอายุกรรม 1. ม.ป.ป.
Berkow, L., & Kanowitz, A. (2020). Unplanned extubation: A common and costly complication of airway management. Patient Safety, 3(1), 22-30. https://doi.org/10.33940/med/2020.3.2
Bernard, H.R. (2011). Research Methods in Anthropology: Qualitative and Quantitative Approaches. Rowman Altamira, Lanham, Maryland.
Cosentino, C., Fama, M., Foà, C., Bromuri, G., Giannini, S., Saraceno, M., Spagnoletta, A., Tenkue, M., Trevisi, E., Sarli, L. (2017). Unplanned extubations in intensive care unit: Evidences for risk factors. A literature review. Acta Biomed, 88(5S), 55-65. https://doi.org/10.1164/ajrccm.157.4.9702083
Kato, M., Fauziah, W., Yamashita, T., Nishijima, S., Kima, M., Iida, M., & Pham, H. T. T. (2021). Prevalence and prevention of unplanned removal of tubes and catheters among hospitalized patients. International Journal of Caring Sciences, 14(1), 385-391.
Plattner, H. (2010). An Introduction to design thinking PROCESS GUIDE. https://dschoolold.stanford.edu/sandbox/groups/designresources/wiki/36873/attachments/74b3d/ModeGuide/BOOTCAMP2010L.pdf
Suliman, M. (2018). Prevalence of physical restraint among ventilated intensive care unit patients. Journal of Clinical Nursing, 27 (19-20), 3490-3496. https://doi.org/10.1111/jocn.14588.
Tanios, M., Epstein, S., Grzeskowiak, M., Nguyen, HM., Park, H., & Leo, J. (2014). Influence of sedation strategies on unplanned extubation in a mixed intensive care unit. Journal of Critical Care, 23(4), 306–315. https://doi.org/10.4037/ajcc20144446
Zhang, C., Liu, D., & He, Q. (2021). The characteristics of ICU physical restraint use and related influencing factors in China: a multi-center study. Annals of Palliative Medicine, 10(2), 1198-1206. https://doi.org/10.21037/apm-20-563
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.