การพัฒนาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • รัชนีวรรณ อังกสิทธิ์ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง, ลำพูน

คำสำคัญ:

การพัฒนาคุณภาพ , การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน , งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน 1) ศึกษาและรวบรวมข้อมูลปัญหาการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน 2) พัฒนาแนวทาง BAN HONG MOPH Emergency Department Triage (BAN HONG MOPH ED. Triage) และ 3) ประเมินผลการคัดแยกตามแนวทางที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างได้จากการคัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 11 คน และเวชระเบียนใบคัดแยกผู้ป่วยจำนวน 340 ราย เครื่องมือที่ใช้ศึกษา คือ 1) แนวคำถามสอบถามปัญหาการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ค่าความตรงของเนื้อหา 0.92 ค่าความเชื่อมั่น 0.96 และ 2) แบบประเมินคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ค่าความตรงของเนื้อหา 0.93 ค่าความเชื่อมั่น 0.98 ดำเนินการวิจัยโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มพยาบาลวิชาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพผู้รับบริการเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบ 4 ประเด็นสำคัญในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน คือ 1) พยาบาลวิชาชีพมีจำนวนไม่เพียงพอ 2) พยาบาลวิชาชีพมีความสามารถในการคัดแยกต่างกัน 3) ไม่มีคู่มือการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน และ 4) ปัญหาการสื่อสาร นอกจากนี้ยังพบว่าสถานการณ์และปัญหาการคัดแยกผู้ป่วยตามแนวทาง MOPH ED. Triage มีเกณฑ์ไม่สอดคล้องกับบริบทผู้ป่วย และเมื่อพัฒนาแนวทาง BAN HONG MOPH ED. Triage และนำมาใช้ พบว่าคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินถูกต้อง ร้อยละ 94.71 คัดแยกไม่ถูกต้อง ร้อยละ 5.29 ซึ่งเป็นการคัดแยกผู้ป่วยต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งหมด

ข้อเสนอแนะ แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน สามารถนำไปปรับใช้ในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน  และนำไปพัฒนาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ในหน่วยงานอื่นได้

References

กัลยารัตน์ หล้าธรรม และชัจคเณค์ แพรขาว. (2560). การศึกษาคุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ. https://gsbooks.gs.kku.ac.th/60/nigrc2017/pdf/MMP27.pdf

ครองคาย ณ น่าน และเกษร ไชยวุฒิ (ม.ป.ป.). การพัฒนาแนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วย โดยพยาบาลของหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสันติสุข จังหวัดน่าน. wwwnno.moph.go.th/nanhealth/index.php/data-service/or-wor-chor/item/download/8081_1f56d8145246506c7d2f61d276e74a3e

งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช. (2566). สรุปผลการดำเนินงานของงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช ปีงบประมาณ 2566. โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน.

จงรัก ปัญญาพล. (2567). ผลการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน (MOPH ED Triage) งานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จ.แม่ฮ่องสอน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ล้านนา, 14(1). 18-29.

ฉวีวรรณ ตรีชมวารี. (2565).การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน สําหรับพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่จุดคัดแยกด่านหน้า โรงพยาบาลธวัชบุรี.วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 3(3). 37-48.

ณัฏฐิกา แซ่แต้ และพัชรินทร์ นะนุ้ย. (2565). การพัฒนารูปแบบการคัดกรองตาม MOPH ED Triage แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินในเครือข่าย โรงพยาบาลยะลา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 9(1). 149-161.

ณรงค์ศักดิ์ วันดี. (2557). ประสิทธิผลของการใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินสำหรับการคัดแยกผู้ป่วย โรงพยาบาลเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย. (การค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทัศนีย์ ภาคภูมิวินิจฉัย, โสพิศ เวียงโอสถ, และกฤตพัทธ์ ฝึกฝน. (2562). ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน ของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาล เชียงรายประชานุเคราะห์. วารสารวิจัยการพยาบาลและสุขภาพ, 20(1). 67–76.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.

ธัญรดี จิรสินธิปก, เพียงใจ เจิมวิวัฒน์กุล, สุวิภา นิตยางกูร, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ, และสารา วงษ์เจริญ. (2559). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

นุชนาถ ศรีสุวรรณ์, เยาวรัตน มัชฌิม และกิตติกร นิลมานัต (2557). สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการสื่อสารกับผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 34(3). 109-124.

นงค์เยาว์ อินทรวิเชียร. (2562). การศึกษาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา, 2(2). 43–53.

พรทิพย์ วชิรดิลก, ธีระ ศิริสมุด, สินีนุช ชัยสิทธิ์, และอนุชา เศรษฐเสถียร. (2559). การคัดแยกผู้ป่วยของแผนกอุบัติเหตุ-ฉุกเฉินในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 31(2). 96-108.

พิมพา วีระคำ, คัคนนันท์ วิริยาภรณประภาส, ศิริพร จักรออม และพิชุตม ภิญโญ. (2562). ประสิทธิผลของการอบรมการคัดแยกผู้ป่วยตามระบบ MOPH ED. Triage ต่อความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วยโดยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สาย. วารสารกรมการแพทย์, 44(5). 70-74.

วัชราภรณ์ โต๊ะทอง. (2565). ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เกณฑ์การคัดกรองเร่งด่วนต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย ความแม่นยำการคัดกรอง และการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลคัดกรอง งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และสาธารณสุข, 1(2). 1-11.

ศิริพร ศิริวัฒนไพศาล, นาตยา คำสว่าง, รุ่งทิพย์ โตอิน, ชื่นมนัส จาดยางโทน, และเยาวรัตน์ ดุสิตกุล. (2566). รูปแบบการพัฒนาการประกันคุณภาพบริการพยาบาล: ถอดบทเรียนโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และสาธารณสุข, 2(1), 66-73.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (2547). การจัดการความรู้เพื่อคุณภาพที่สมดุล. นนทบุรี : ดีไซร์ จำกัด.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2565). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: ก.การพิมพ์เทียนกวง.

สภาการพยาบาล. (2561). สมรรถนะหลักของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก สาขาพยาบาลศาสตร์ หลักสูตรฝึกอบรมการพยาบาลขั้นสูงระดับวุฒิบัตรและได้รับวุฒิบัตร/หนังสืออนุมัติแสดงความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ และการพยาบาลเฉพาะทางสาขาพยาบาลศาสตร์. www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/004.pdf

สหัศถญา สุขจำนงค์, บัวบาน ปักการะโต, สายสกุล สิงห์หาญ, วิศรุต ศรีสว่าง และผดุงศิษฎ์ ชำนาญบริรักษ์. (2564) คุณภาพการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, 1(2). 123-133.

สุคนธ์จิต อุปนันชัย. (2559). ผลของการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย และการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกลาง. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุชาดา กองสิน. (2560). ปัจจัยทำนายสมรรถนะการสื่อสารของพยาบาลวิชาชีพในงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

สุไรยา รามาน, นุสรา ศรีศรัยมณี และชนากานต์ เกิดกลิ่นหอม (ม.ป.ป.). TRIAGE. www.si.mahidol.ac.th/Th/division/nursing/NDivision/N_OBS/ admin/knowledges_files/31_65_1.pdf

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2561). MOPH ED. TRIAGE. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

เอื้อมพร พิมดี, สุภาพิมพ์ พรหมพินิจ, ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน และปริวัฒน์ ภู่เงิน. (2558). ความสอดคล้องในการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก พยาบาลแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร, 30(6). 587-591.

อุไรวรรณ ประเสริฐสังข์, นันท์ชญาน์ นฤนาทธนาเสฏฐ์ และธนิศรา นามบุญเรือง. (2567). การพัฒนารูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยนอกตามระดับความรุนแรงฉุกเฉิน. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 21(1). 65-75.

อันธิกา คะระวานิช, ปรานีต อนันต์ และนิธิมา เหล่ารอด. (2563). พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลการคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลตราด. วารสารกองการพยาบาล, 47(3). 169-184.

Fekonja, Z., Kmetec, S., Fekonja, U., Mlinar Reljić, N., Pajnkihar, M., & Strnad, M. (2023). Factors contributing to patient safety during triage process in the emergency department: A systematic review. Journal of Clinical Nursing, 32(17-18), 5461–5477. https://doi.org/10.1111/jocn.16622

Kellett J. (2021). What is the ideal triage process and the resources it requires?. The Lancet Regional Health. Western Pacific, 13, 100203. https://doi.org/10.1016/j.lanwpc.2021.100203

Soontorn, T., Sitthimongkol, Y., Thosingha, O., & Viwatwongkasem, C. (2018). Factors influencing the accuracy of triage by registered nurses in trauma patients. Pacific Rim International Journal of Nursing Research, 22(2). 120-130.

Yurkova, I., & Wolf, L. (2011). Under-triage as a significant factor affecting transfer time between the emergency department and the intensive care unit. Journal of Emergency Nursing, 37(5), 491–496. https://doi.org/10.1016/j.jen.2011.01.016

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-13