การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 โรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • กัญญาณัฐ ใจกลาง แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพรหมพิราม, พิษณุโลก

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อ พัฒนาและประเมินผลโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 โรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจงโดยแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ 1) ผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกโรคไตเรื้อรังใช้แบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง โดยแบบสองกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มควบคุมจำนวน 15 คน กลุ่มทดลอง 15 คน และ 2) ผู้ป่วยที่นอนรักษาด้วยภาวะแทรกซ้อนโรคไตเรื้อรังระยะ 4 ในแผนกผู้ป่วยใน ใช้แผนการทดลองวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อน-หลัง จำนวน 15 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือน ตุลาคม 2566 - มีนาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ paired t-test และ independent t-test

ผลของการทดลองใช้โปรแกรมทั้งที่คลินิกโรคไตเรื้อรังแผนกผู้ป่วยนอกและแผนกผู้ป่วยใน พบว่าผู้ป่วย หลังได้รับโปรแกรม มีคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมโดยรวม รายด้าน และค่าอัตราการกรองของไตสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 ช่วยให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการจัดการตนเองเหมาะสมส่งผลให้ชะลอไตเสื่อมได้ดีขึ้น

References

กันตภารัตน์ อ้วนศรีเมือง, จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, และสุพัตรา บัวที. (2556). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้การจัดการตนเองและดัชนีชี้วัดทางสุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3. วารสารสมาคมพยาบาลฯสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(2), 95-96.

เกียรติพงษ์ อุดมธนะธีระ. (2561). PDCA Cycle วงจรการควบคุมคุณภาพหรือ วงจรเด็มมิ่ง. https://www.iok2u.com/article/innovation/pdca-cycle-deming-cycle

นิสากร วิบูลชัย และ รุ่งธิวา ศรีเดช. (2563). การพัฒนาโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารแพทย์นาวี, 47(2), 373-393.

ปพิชญา สิงห์ชา. (2566). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมระยะที่ 3-4 ต่อพฤติกรรมและผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลธวัชบุรี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(3), 157-167.

วนิดา อินรัสพงศ์. (2566). ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะตนเองของผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะ 3 และ 4 ในอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ, 3(2), 50-62.

วรรณชนก จันทร์ชุม. (2545). การวิจัยทางการพยาบาล: การเลือกตัวอย่างและการกำหนดขนาดตัวอย่าง. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. (2557). ผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(2), 17-24.

สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2563). ข้อมูลการบำบัดทดแทนไตในประเทศไทย พ.ศ.2563. https://www.nephrothai.org/wpcontent/uploads/2022/06/Final-TRT-report-2020.pdf

สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2555). สถิติเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.

สุรดา โพธิ์ตาทอง, ตวงพร พุ่มทองดี, และนงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. (2555). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและตัวชี้วัดทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 15(1), 31-39.

สำนักงานหลักประกันแห่งชาติ. (2565). รายงานการสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติประจำปี 2565. ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์การพิมพ์.

อติเทพ ผาติอภินันท์. (2560). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มี่โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 ต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและความดันโลหิตที่โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). จังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2551). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Bandura, A. (1977). Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review, 84(2), 191-215.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. https://www.utstat.toronto.edu/~brunner/oldclass/378f16/readings/CohenPower.pdf

Methakanjanasak, N. (2005). Self-Management of End-Stage Renal Disease Patient Receiving Hemodialysis (Doctor of Philosophy in Nursing). Chiang Mai. Chiang Mai University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-15

How to Cite

1.
ใจกลาง ก. การพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะ 4 โรงพยาบาลพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. NURS HEALTH & PUB J [อินเทอร์เน็ต]. 15 สิงหาคม 2024 [อ้างถึง 27 มกราคม 2025];3(3):27-45. available at: https://he03.tci-thaijo.org/index.php/nhphj/article/view/2406