ผลของโปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมต่อทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะต้อง อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • กรวัลล์ หาญโนนแดง สาธารณสุขอำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก

คำสำคัญ:

โปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้, มะเร็งเต้านม , การตรวจเต้านมด้วยตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมต่อทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 ราย โดยกลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพ เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือดําเนินการวิจัย คือ โปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพการป้องกันมะเร็งเต้านม และแบบประเมินทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.73 และ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติทดสอบ Paired t-test และสถิติทดสอบ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง ค่าคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ทางสุขภาพการป้องกันมะเร็งเต้านม สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05; p < 0.05 ตามลำดับ) และ ค่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05; p<.05 ตามลำดับ)

ข้อเสนอแนะ โปรแกรมการฝึกทักษะความรอบรู้เรื่องมะเร็งเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง สามารถพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพการป้องกันมะเร็งเต้านม และทักษะตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรีกลุ่มเสี่ยงได้ สามารถนำไปประยุกต์เป็นแนวทางหนึ่งในการเพิ่มอัตราการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมของสตรีในพื้นที่ต่อไป
 

References

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ: เข้าถึง เข้าใจ และการนำไปใช้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับบลิชชิ่ง จำกัด.

ทิพวรรณ สมควร, สินีนาฏ ชาวตระการ, และวรางคณา นาคเสน. (2565). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในจังหวัด ลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 18(1), 45-56.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะต้อง. (2566). รายงานผลการดำเนินงานการคัดกรองมะเร็งเต้านม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะต้อง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก.

พัชรา นาคถนอม, เดชา ทำดี, เนตรทอง นามพรหม, และอังคณา กิตติไชยากร. (2566). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองผ่านอีเลิร์นนิงต่อความรู้และการปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองของบุคลากรสุขภาพสตรีงานการพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยฉุกเฉิน. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(2), 351-364.

ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2567). อัตราป่วยมะเร็งเต้านมต่อประชากร. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&ca_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=825c7fbfdbde936cf821a9b16dc4189b

รัชนีพร วงศ์อนุ และณัฐกฤตา ศิริโสภณ. (2565). ประสิทธิผลของโปรแกรมการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยงเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 48(1), 208-217.

ลินยา เทสมุทร, พัชรินทร์ สังวาลย์, ธรรมวิทย์ ราญรอน, และประกายดาว สุทธิ. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการตรวจเต้านมด้วยตนเอง. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 34(2), 56-70.

วัชรีวงศ์ หวังมั่น, ดวงกมล ปนเฉลียว, และทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการตรวจเต้านมด้วยตนเองร่วมกับแอปพลิเคชั่นไลน์ของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดสุรินทร์. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์, 11(1), 1-14.

ศรัญญา งามนิมิตร, ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์, และอนามัย นาอุดม. (2565). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองต่อทักษะการตรวจเต้านมและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเต้านมของสตรีกลุ่มเสี่ยง อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. พยาบาลสาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 49(1), 148-159.

ศิริกาญจน์ ฉันทเฉลิมพงศ์, พิมผกา ปัญโญใหญ่, และณยฎา ธนกิจธรรมกุล. (2566). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งเต้านมของสตรีวัยทำงาน. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 39(2), 68-80.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). แนวทางการตรวจคัดกรองวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็งเต้านม. โฆษิตการพิมพ์ จำกัด.

สรารัตน์ ตระกูลรัมย์ และจารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการตรวจเต้านมด้วยตนเองของสตรีอายุ 45-54 ปี ในเขตชุมชนบ้านห้วยจระเข้ ตำบลหินลาด อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการสาธารณสุขชุมชน, 1(1), 41-52.

สายรุ้ง ประกอบจิตร และสุมัทนา กลางคาร. (2564). ประสิทธิผลของโปรแกรมพัฒนาความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันมะเร็งในญาติสายตรงของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 36(1), 82-89.

สุรีพร ชุมแดง และพิไลพร สุขเจริญ. (2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมความรอบรู้ทางสุขภาพต่อพฤติกรรมการใช้แพทย์ทางเลือกและการรักษาเสริมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมของโรงพยาบาลมะเร็งสุราษฎร์ธานี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 51(3), 204-213.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก. (2567). รายงานประจำปี 2566: 2023. https://cloud.plkhealth.go.th/index.php/s/9r9ycAWoN2D638s#pdfviewer

อรวรรณ นามมนตรี. (2561). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literacy). วารสารทันตภิบาล, 29(1), 122-128.

American Cancer Society. (2023). Breast Cancer Risk and Prevention. https://www.cancer.org/cancer/types/breast-cancer/risk-and-prevention.html

American Cancer Society. (2024). Key statistic for breast cancer. https://www.cancer.org/cancer/types/breast-cancer/about/how-common-is-breast-cancer.html

World Health Organization (WHO). (2022). Breast Cancer. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/breast-cancer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-07