ความรู้กับทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของนิสิตระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย
คำสำคัญ:
บุหรี่ไฟฟ้า, ความรู้, ทัศนคติ, นิสิตระดับอุดมศึกษาบทคัดย่อ
บุหรี่ไฟฟ้าส่งผลกระทบทางลบต่อสุขภาพ แต่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบันโดยเฉพาะในนิสิตหรือนักศึกษา ซึ่งเป็นวัยความอยากรู้อยากลอง การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ระดับทัศนคติ และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของนิสิตระดับอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี ณ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเขตภาคเหนือตอนล่าง ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 433 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และแบบสอบถามทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เท่ากับ 0.72 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเจตคติเกี่ยวกับไฟฟ้าเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Spearman correlation
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในระดับปานกลาง (Mean = 9.39, S.D = 7.07) คะแนนทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าระดับต่ำ (Mean = 20.36, S.D = 11.61) และความรู้มีความสัมพันธ์ทางลบกับทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ (r= -0.209, p<0.001) ผลการศึกษาทำให้เห็นความสำคัญของการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อช่วยสร้างความตระหนักถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า และความรู้เป็นพื้นฐานของการปรับเปลี่ยนทัศนคติ ซึ่งอาจนำสู่การป้องกันหรือลดพฤติกรรมการใช้บุหรี่ไฟฟ้า
References
กัลยา วิริยะ, ประภาพร ชูกำเหนิด, และอังศุมา อภิชาโต. (2562). ความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่กับพฤติกรรมการสัมผัสบุหรี่ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 30(1), 66-74.
กิตติมา อรุณพูลทรัพย์. (2566). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย. https://www.Senate.go.th/view/386/รายละเอียดข่าว/ThaiLaw/26/TH-TH
จิราภรณ์ จำปาจันทร์, สิริวิมล ทะวงศ์นา, นิธิพร ยะคำสี, ภัทรินทร์ เมืองคง, นริศรา ขันตี, ณีรนุช วรไธสง, วิบุลย์สุข ตาลกุล, ภูวสิทธิ์ ภูลวรรณ, และอนุวัฒน์ สุรินราช. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้และทัศนคติเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 17(2), 631-644.
ทิพยรัตน์ บุญมา, บุญวัฒน์ สว่างวงศ์, และวันจักร น้อยจันทร์. (2564). ทัศนคติของนักศึกษาต่อการสูบบุหรี่อิเลคทรอนิกซ์และบุหรี่มวน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยพะเยา, 9(1), 202-215.
ธนะวัฒน์ รวมสุก, สุรินธร กลัมพากร, ทัศนีย์ รวิวรกุล, ทัศนีย์ อรรถารส, อารยา ทิพย์วงศ์, นภิสสรา ธีระเนตร, และจิราภรณ์ อนุชา. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความรอบรู้ทางสุขภาพกับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษา กรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก, 23(2), 358.
ธีระภัทรา เอกผาชัยสวัสดิ์ และธีรภัทร กิจจารักษ์. (2565). แนวทางการพัฒนาผลงานทางวิชาการด้วยแนวคิดอนุกรมวิธานของบลูม. Lawarath Social E-Journal, 4(1), 183-201.
นุสบา เกษร, พรรณี เสน่ห์อนุรักษ์, วราวรรณ เจนวรพจน์, วิไลลักษณ์ ทับทิม, และพิมลพรรณ ดีเมฆ. (2560). ความรู้และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักเรียนชายวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4 สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร 22 ธันวาคม 2560.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย จำกัด.
ปริมประภา ก้อนแก้ว และกู้เกียรติ ก้อนแก้ว. (2565). การรับรู้ ทัศนคติ การเข้าถึงบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ และความตั้งใจที่จะใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของเยาวชนในระบบการศึกษา ภาคเหนือ ประเทศไทย. วารสารควบคุมโรค, 48(3), 560. https://doi.org/10.14456/dcj.2022.47
ปิยะวรรณ กุวลัยรัตน์, ระรินทร์ ษรเกตุ, สุณี เลิศสินอุดม, และวิน วินิจวัจนะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่และทัศนคติต่อการสูบบุหรี่ในชุมชนของตำบลปากน้ำชุมพร. ศรีนครินทร์เวชสาร, 38(1), 57-69.
พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย ชนุตา พาโพนงาม, นฤมล ลาวน้อย, อาทิตยา บัวเรือง, ธิรดา จันทร์รุ่งเรือง, และอัมพวัน บุญรอด. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชน จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 197-205.
พลากร สืบสำราญ, อนันต์ ไชยกุลวัฒนา, เมรีรัตน์ มั่นวงศ์, นิยม จันทร์นวล, และวันวิสา จันทาทร. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติต่ออันตรายของการสูบบุหรี่ กับการสูบบุหรี่ของนักเรียนชั้นมัธยมปลาย: กรณีศึกษาอำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 19(3), 12-20.
วิภารัตน์ สุวรรณไวพัฒนะ, น้ำฝน ไวทยวงศ์กร, และวิรุฬจิตรา อุ่นจางวาง. (2556) ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติของผู้สูบบุหรี่ในการป้องกันการสัมผัสควันบุหรี่มือสองให้กับสมาชิกในครอบครัว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 19(1), 31-41.
ศรัณญา เบญจกุล. (2565). อัตราการสูบบุหรี่่ไฟฟ้าในคนไทย. เจาะลึกระบบสุขภาพ. https://www.hfocus.org/content/2022/07/25460
ศรีรัช ลาภใหญ่. (2562). ผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่ในสื่อสังคมเครือข่ายและผลของการบังคับใช้กฎหมายผลิตภัณฑ์ยาสูบรูปแบบใหม่. วารสารกฎหมายและนโยบายสาธารณสุข, 5(1), 13-29.
สมตระกูล ราศิริ, ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์, และธิติรัตน์ ราศิริ. (2562). พฤติกรรมการใช้บุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาทันตสาธารณสุข. วารสารทันตาภิบาล, 30(2), 56-66.
สมเด็จ ภิมายกุล และกนกวรรณ คชสีห์. (2566). ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้ากับแนวทางการป้องกันการบริโภคบุหรี่ไฟฟ้าของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 16(3), 30-43.
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองควบคุมวัตถุเสพติด. (2564). นิโคติน (Nicotine). https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=6037
อารักษ์ มุ่งหมาย, สริญญา รอดพิพัฒน์, และจินตนา สรายุทธพิทักษ์.(2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับ ข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 15(3), 314.
Allport, G. (1975). Attitude and Psychology. Jossey Bass.
Bals, R., Boyd, J., Esposito, S., Foronjy, R., Hiemstra, P. S., Jiménez-Ruiz, C. A., Katsaounou, P., Lindberg, A., Metz, C., Schober, W., Spira, A., & Blasi, F. (2018). Electronic cigarettes: A task force report from the European Respiratory Society. European Respiratory Journal, 53(1), 9. https://doi.org/10.1183/13993003.01151-2018
Best, J. W., & Kahn, J. V. (2014). Pearson New International Edition. (10th ed.). Essex: Pearson Edition Limited.
Bloom, B. S. J. (1971). Taxonomy of Education Objective, HandBook 1: Congnitive Domain. David Mokey.
Gorukanti, A., Delucchi, K., Ling, P., Fisher-Travis, R., & Halpern-Felsher, B. (2017). Adolescents' attitudes towards e-cigarette ingredients, safety, addictive properties, social norms, and regulation. Preventive Medicine, 94, 65–71. https://doi.org/10.1016/j.ypmed.2016.10.019
Grana, R., Benowitz, N., & Glantz, S. A. (2014). E-cigarettes: A scientific review. Circulation, 129(19), 1972–1986. https://doi.org/10.1161/CIRCULATIONAHA.114.007667
Patel, U., Patel, N., Khurana, M., Parulekar, A., Patel, A., Ortiz, J. F., Patel, R., Urhoghide, E., Mistry, A., Bhriguvanshi, A., Abdulqader, M. A., Mehta, N., Arumaithurai, K., & Shah, S. (2022). Effect comparison of e-cigarette and traditional smoking and association with stroke—A cross-sectional study of NHANES. Neurology International, 14(2), 443-444. https://doi.org/10.3390/neurolint14020037
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.