ประสิทธิผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • ธัลฐภรณ์ วชิรรมณียกุล แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมสุขภาพ, โปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม, ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมสุขภาพและระดับน้ำตาลสะสมในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ โรงพยาบาลทุ่งเสลี่ยม จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คน ตามเกณฑ์การคัดเข้า กลุ่มทดลองเข้าร่วมกิจกรรมโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ระยะเวลา 12 สัปดาห์ จำนวน 4 กิจกรรม ได้แก่ การสนับสนุนทางอารมณ์ การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนด้านทรัพยากร และการสนับสนุนด้านการประเมินค่า กลุ่มควบคุมให้การพยาบาลตามปกติ ติดตามและประเมินผลเมื่อสิ้นสุดสัปดาห์ที่ 12 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีค่าความตรงของเนื้อหา เท่ากับ 0.87 และค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของคอร์นบาร์ช เท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบ paired simple t-test และ independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลอง มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม และดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) และ มีค่าเฉลี่ยของน้ำตาลเฉลี่ยสะสมลดลงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01)

ข้อเสนอแนะ ควรนำโปรแกรมแรงสนับสนุนทางสังคม ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ไปประยุกต์ใช้ในหน่วยงานให้บริการทางสุขภาพในพื้นที่ต่าง ๆ ต่อไป

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). อัตราป่วยด้วยโรคเบาหวาน. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11

เปรมฤดี ศรีสังข์ และ นุชวรา ดอนเกิด. (2562).ผลของการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ. วารสารทันตาภิบาล, 30(2), 105-120.

สุธิพร หรเพลิด, นิจฉรา ทูลธรรม, และ เสถียรพงษ์ ศิวินา. (2562). การประยุกต์ใช้โปรแกรมพฤติกรรมการดูแลตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเขวาตะคลอง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 5(02), 52-67.

สุนทรา พรายงาม, ฉันทนา จันทวงศ์, และ เพียงใจ สัตยุตม์. (2565). ผลการใช้กระบวการกลุ่มร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อความรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 18-27.

สำรวย กลยณี และ ศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม. (2562). ผลของการประยุกต์ใช้หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยงรายใหม่. วารสารราชพฤกษ์, 17(2), 95-10.

โสภณ จันทะโคตร. (2566). ผลของการมีส่วนร่วมและแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานของกลุ่มเสี่ยงในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลห้วยแดง ตำบลดอนจิกอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(1), 358-365.

Bloom, S. J. (1975). Taxonomy of education objective, handbook1: Cognitive domain. New York: David Mckay.

Global Burden of Disease Collaborative Network. (2019). Global Burden of Disease Study 2019: Results. https://vizhub.healthdata.org/gbd-results/

Glovaci, D., Fan, W., & Wong, N. D. (2019). Epidemiology of diabetes mellitus and cardiovascular disease. Current Cardiology Reports, 21(4). 21. https://doi.org/10.1007/s11886-019-1107-y

House, J. S, Landis, K. R. and Umberson, D. (1988). Social relationships and health. Science, 214 (4865), 540-545.

Tunsuchart, K., Lerttrakarnnon, P., Srithanaviboonchai, K., Likhitsathian, S., & Skulphan, S. (2020). Benefits of brief group cognitive behavioral therapy in reducing diabetes-related distress and HbA1c in uncontrolled Type 2 diabetes mellitus patients in Thailand. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17(15), 5564. https://doi.org/10.3390/ijerph17155564

World Health Organization. (2023). Diabetes key fact. https://www.who.int/news-room

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-26