คุณภาพและอัตลักษณ์บัณฑิตที่สำเร็จปีการศึกษา 2562 จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

ผู้แต่ง

  • อินทิรา ปากันทะ -
  • กรกาญจน์ ปานสุวรรณ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

Quality of graduate, Identity of graduate, Nursing

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบัณฑิตและอัตลักษณ์บัณฑิต ที่สำเร็จปีการศึกษา 2562 จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประชากรคือ หัวหน้าหอผู้ป่วยหรือพยาบาลประจำการที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลเดียวกันกับบัณฑิต จำนวน 93 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบสอบถามคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ (6 ด้าน) และ 3) แบบสอบถามอัตลักษณ์บัณฑิตที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์นิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวรคือเป็นคนดี คนเก่ง มีวินัย และภูมิใจในชาติ โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ทำการปรับแก้ข้อคำถามที่ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence : IOC) ต่ำกว่า 0.50 ส่วนความเที่ยง (Reliability) ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคของเครื่องมือวิจัย 2 และ 3 เท่ากับ 0.92 และ 0.90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า บัณฑิตมีคุณภาพโดยรวมทั้ง 6 ด้านอยู่ในระดับมาก ( =3.95, S.D. = 0.55) ด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ( = 4.33, S.D. = 0.51) รองลงมาคือด้านคุณธรรม จริยธรรม ( = 4.29, S.D. = 0.52) ด้านความรู้ ( = 4.05, S.D. = 0.61) ด้านทักษะการปฏิบัติ ทางวิชาชีพ ( = 3.85, S.D. = 0.54) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ( = 3.81, S.D. = 0.54) ส่วนด้านที่มีคะแนนต่ำสุดคือด้านทักษะทางปัญญา ( = 3.39, S.D. = 0.56)

บัณฑิตมีอัตลักษณ์โดยรวมทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก ( = 4.18, S.D. = 0.57) ด้านที่มีคะแนนสูงสุดคือด้านเป็นคนดี ( = 4.33, S.D. = 0.57) รองลงมาคือด้านมีวินัย ( = 4.30, S.D. = 0.58) ด้านภูมิใจในชาติ ( = 4.27, S.D. = 0.62) ส่วนด้านที่มีคะแนนต่ำสุดคือด้านเป็นคนเก่ง ( = 3.81, S.D. = 0.50) ดังนั้น ควรพัฒนานิสิตคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพด้านทักษะทางปัญญาและมีอัตลักษณ์ด้านเป็นคนเก่งเพิ่มมากขึ้น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรกาญจน์ ปานสุวรรณ. (2564). รายงานการประเมินตนเองระดับหลักสูตร หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประจำปีการศึกษา 2563. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

กรกาญจน์ ปานสุวรรณ, กนกอร คล้ายจันทร์, ชนิกานต์ เสือสิงห์, และนิตยา ศรีบัวรมย์. (2563). คุณภาพและอัตลักษณ์ของนิสิตตามการรับรู้ของผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 14(1), 54-65.

กรกาญจน์ ปานสุวรรณ, อินทิรา ปากันทะ, ภัทรมนัส พงศ์รังสรรค์, และจรรยา มากโภคา. (2564). การประเมินหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 15(2), 136-149.

คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา และคณะอนุกรรมการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ภาพพิมพ์.

คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2559). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559). คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน และพนมพร จันทรปัญญา. (2558). การสร้างอัตลักษณ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(2), 267-280.

เติมศักดิ์ สุขวิบูลย์. (2552). ข้อคำนึงในการสร้างเครื่องมือประเภทมาตรประมาณค่า (Rating scale) เพื่องานวิจัย. https://www.ms.src.ku.ac.th › schedule › Files › Oct.

ปัทมาภรณ์ คงขุนทด, ฉัตรทอง จารุพิสิฐไพบูลย์, นุชมาศ แก้วกุลฑล, นฤมล เปรมาสวัสดิ์, และ มยุรี พางาม (2563). ความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณภาพบัณฑิตและอัตลักษณ์ของพยาบาลจบใหม่ที่สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ปีการศึกษา 2561. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(6), 1086-1094.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2555). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. อรุณการพิมพ์.

วิภาพร สิทธิสาตร์ และสมาภรณ์ เทียนขาว. (2560). คุณภาพบัณฑิตและอัตลักษณ์บัณฑิต หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(34), 49-61. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/nursingsiamjournal/article/view/140193/103956

สิรีวัฒน์ อายุวัฒน์, ชนกานต์ แสงคํากุล, และกีรติ กิจธีระวุฒวงษ์. (2562). ผลของการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(2), 87-97. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/nur-psu/article/view/199773/139598

สุภาพร แนวบุตร และสมาพร ฉิมนาค. (2562). อัตลักษณ์ 5 เก่งของนิสิตพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 17(2), 229-238. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/suedujournal/article/view/115788/160731

สำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2558 และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง. บริษัท วงศ์สว่างพับลิชชิ่ง แอนด์ พริ้นติ้ง จำกัด.

AlMekkawi, M., & Khalil, R.E. (2020). New graduate nurses’ readiness to practice : A narrative literature review. Health Professions Education, 6(3), 304-316. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2452301120300596

Dlamini, C.P., Mtshali, N.G., Dlamini, C.H., Mahanya, S., Shabangu, T., & Tsabedze, Z. (2014). New graduates’ readiness for practice in Swaziland: An exploration of stakeholders’ perspectives. Journal of Nursing Education and Practice, 4(5), 148-158.

Larson, J., Brady, M., Engelmann, L., Perkins, B.I., & Shultz, C. (2013). The formation of professional identity in nursing. Nursing Education Perspectives, 34(2), 138. https://journals.lww.com/neponline/Citation/2013/03000/The_Formation_of_Professional_Identity_in_Nursing.16.aspx?

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-04