ผลของโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจ ต่อระดับน้ำตาลในเลือด และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสระโคล่ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
คำสำคัญ:
เบาหวานชนิดที่ 2, โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจ, ระดับน้ำตาลในเลือด, ระดับน้ำตาลสะสมในเลือด, คุณภาพชีวิตบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจต่อระดับ น้ำตาลในเลือด ระดับน้ำตาลสะสมในเลือดและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษา ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสระโคล่ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก โดยยารับประทาน จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการเสริมพลังอำนาจ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกระดับ น้ำตาลในเลือดและระดับน้ำตาลสะสมในเลือด และแบบวัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบจับคู่ผลการวิจัย พบว่าภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมการเสริมพลังอำนาจ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในเลือดและค่าเฉลี่ยระดับ น้ าตาลสะสมในเลือดลดลงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และมีระดับคุณภาพชีวิต สูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ดังนั้นบุคลากรสาธารณสุขจึงควรนำโปรแกรม การเสริมพลังอำนาจไปใช้กับผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆเพื่อเป็นการขยายผลการดำเนินงานต่อไป
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). รายงานสถานการณ์โรค NCDs (เบาหวาน ความดันโลหิตสูงและ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กองโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. (2562). จำนวนและอัตราผู้ป่วยใน ปี 2559 - 2561 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หลอดเลือดหัวใจ, หลอดเลือดสมอง, COPD). สืบค้นจาก http://www.thaincd.com/2016/mission/documentsdetail.php?id=13684&tid=32&gid=1-020
จีรนัทธิ์ โพธิพฤกษ์, วศิน โพธิพฤกษ์, และนฤ โพธิพฤกษ์. (2555). ผลของโปรแกรมสร้างเสริมพลังอำนาจต่อ พฤติกรรมดูแลสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. วารสารวิจัยทาง วิทยาศาสตร์สุขภาพ. 6(2), 47-55.
จุฑามาศ เกษศิลป์, พาณี วิรัชชกุล, และอรุณี หล่อนิล. (2556). การจัดการดูแลตนเอง ความรู้ คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ ก่อน–หลัง เข้าโปรแกรมการจัดการการดูแลตนเองในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขต อ.เมือง จ.อุทัยธานี. วารสารกองการพยาบาล, 40(1), 84-103.
จุฑารัตน์ รังษา, ยุวดี รอดจากภัย, และไพบูลย์ พงษ์แสงพันธ์. (2559). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอ านาจของ ผู้ดูแลและผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน อ าเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 31(6), 377-383.
ชนิษฎา สุรเดชาวุธ, เยาวลักษณ์ อำรำไพ, และเจริญ ตรีศักดิ์. (2554). กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วย เบาหวานแบบรายบุคคล. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน, 7(2), 60-69.
เยาวภา พรเวียง, วิภาพรรณ หมื่นมา, พิศมัย ศรีสุวรรณนพกุล, และวันทนา แก้วยองผาง. (2555). ผลของการเสริม สร้างพลังอ านาจแบบกลุ่มต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าและคุณภาพชีวิตในผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีแผลที่เท้า. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 22(2), 85-97.
ยุวนุช สัตยสมบูรณ์. (2555). ประสิทธิผลของโปรแกรมสนับสนุนการจัดการการดูแลตนเอง ส าหรับผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในศูนย์บริการสาธารณสุข ส านักอนามัย กรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยงยุทธ์ สุขพิทักษ์. (2557). เทคนิคการเสริมพลังในการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ที่สอดคล้องกับวิถีชุมชน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(4), 649-657.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดรกุล และคณะ. (2545). โครงการจัดทำโปรแกรมส าเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ ปี พ.ศ. 2545. เชียงใหม่: โรงพยาบาลสวนปรุง.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2554). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: บริษัทศรีเมืองการพิมพ์.
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสระโคล่. (2561). สถิติผู้ป่วยที่มารับบริการ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านสระโคล่. ในปี 2561. พิษณุโลก: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสระโคล่.
สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดพิษณุโลก. (2561). รายงานประจำปี 2561. สืบค้นจาก http://www.plkhealth.go.th/uploads/documents/pdf
American Diabetes Association. (2020). Standards of medical care in diabetes 2020 abridged for primary care providers. Retrieved from: https://clinical.diabetesjournals.org/content/diaclin/early/2019/12/18/cd20-as01.full.pdf
Chen, J., Mullins, C. D., Novak, P., & Thomas, S. B. (2016). Personalized strategies to activate and empower patients in health care and reduce health disparities. Health Education & Behavior, 43(1), 25–34. doi:10.1177/1090198115579415
Gibson, C. H. (1991). A concept analysis of empowerment. Journal of Advance Nursing, 16(3), 354-361. doi:10.1111/j.1365-2648.1991.tb01660.x
Gibson, C. H. (1995). The process of empowerment in mothers of chronically ill children. Journal of Advanced Nursing, 21(6), 1201-1210. doi:10.1046/j.1365-2648.1995.21061201.x
Ghaye, T., & Lillyman, S. (2012). Empowerment Through Reflection: A Guide for Practitioners and Healthcare Teams. London: Quay Books Division.
Jalil, A., Zakar, R., Zakar, M. Z., & Fischer, F. (2017). Patient satisfaction with doctor-patient interactions: A mixed methods study among diabetes mellitus patients in Pakistan. BMC Health Services Research, 17(1), 155. doi:10.1186/s12913-017-2094-6
Patient Empowerment Network. (2018). What does it mean to be an empowered patient? Retrieved from: https://powerfulpatients.org/2018/05/22/what-does-it-mean-to-be-an-empowered-patient/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial 4.0 International License.