การสร้างเครือข่ายวิชาการสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ วัฒนานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • ศักดิ์ขรินทร์ นรสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
  • วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

คำสำคัญ:

การสร้างเครือข่ายวิชาการ, สมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายวิชาการสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น 2) สร้างและทดลองใช้รูปแบบการสร้างเครือข่ายวิชาการฯ และ 3) ประเมินผลเชิงกลยุทธ์ของรูปแบบการสร้างเครือข่ายวิชาการฯ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ คือ สมาชิกสมาคมศิษย์เก่าวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น จำนวน 297 คน โดยใช้แบบสอบถาม และ การสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการสร้างเครือข่ายวิชาการฯ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เตรียมการ 2) ปฏิบัติการ และ 3) ประเมินผล ระยะที่ 2 การสร้างและทดลองใช้รูปแบบการสร้างเครือข่ายวิชาการฯ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การถอดบทเรียนและศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การสร้างรูปแบบฯ 3) การทดลองใช้รูปแบบฯ (รูปแบบปรับปรุง) และ 4) การประเมินประสิทธิผลรูปแบบฯ ระยะที่ 3 การประเมิลผลเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขการขยายเครือข่าย และ 2) ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์เพื่อขยายเครือข่าย

ผลการศึกษาพบว่า 1) ได้รูปแบบการสร้างเครือข่ายวิชาการฯ ที่เน้นการส่งเสริมศักยภาพของศิษย์เก่าที่มีผลงานเด่นในด้านต่าง ๆ มาร่วมเป็นทีมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งทำให้เกิดความเข้มแข็งในด้านวิชาการ 2) เกิดเครือข่ายวิชาการฯ ที่มีผลงานวิชาการของสมาชิกเครือข่าย และกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ของศิษย์เก่า จากการสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า เป็นรูปแบบที่เหมาะสมในระดับมาก ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคีของศิษย์เก่าและได้พบปะสังสรรค์กัน และ 3) ได้กลยุทธ์เพื่อขยายเครือข่าย ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างแรงบันดาลใจให้สมาชิกขององค์กร 2) การถ่ายทอดแนวทางการดำเนินงานให้กับสมาชิก 3) การจัดระบบการสร้างพันธะสัญญาเครือข่ายร่วมกันเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) การกำหนดกลไกการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้เกิดความต่อเนื่อง และ 5) การสนับสนุนการสร้างกระบวนการเรียนรู้และทีมแกนนำกระตุ้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครือข่ายในหน่วยงานหรือองค์กรวิชาชีพอื่นได้

References

กรรณิการ์ สุวรรณโคตร. (2557). องค์กรวิชาชีพทางการพยาบาลในประเทศไทย. วารสารพยาบาล, 63(4), 66-68.

จิรภัทร มหาวงศ์, วิทยา จันทร์ศิลา, และ ทำรงลักษณ์ เอื้อนครินทร์. (2559). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนในถิ่นธุรกันดารบนเขตพื้นที่สูง. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(4), 114-127.

ณัฐปาลิน นิลเป็ง. (2560). ผู้นำการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(1), 16-19.

เพลินตา พรหมบัวศรี, อรพิน สว่างวัฒนเศรษฐ์, จิราภรณ์ อนุชา, วิราวรรณ คล้ายหิรัญ, บุญทิพย์ ลิขิตพงษ์วิทย์, และรัศมี ศรีนนท์. (2560). รูปแบบการศึกษาบูรณาการชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ การโค้ช การสะท้อนคิดและการใช้พลังคำถาม วิทยาลัยพยาบาล สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(1), 60-72.

มกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2555). การสร้างเครือข่ายระบบสาธารณสุขในวิชาชีพพยาบาลภายใต้จิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์: ความร่วมมือระหว่างสถานศึกษาสู่สถานบริการเพื่อชุมชนเข้มเข็ง. คลังนานาวิทยา.

มกราพันธุ์ จูฑะรสก, วัชรี อมรโรจน์วรวุฒิ, และ ศักดิ์ขรินทร์ นรสาร. (2551). รายงานการวิจัย: การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นระบบสำหรับอาจารย์พยาบาล. (ม.ป.ท.)

มกราพันธุ์ จูฑะรสก และ อณิษฐา จูฑะรสก. (2559). การสะท้อนคิด: กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบเชิงสร้างสรรค์ด้วยตะกร้า 3 ใบ. โรงพิมพ์ บริษัท แดเน็กซ์ อินเตอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด.

เยาวดี สุวรรณนาคะ, บุญสืบ โสโสม, และ กนกอร ชาวเวียง. (2558). สมรรถนะทางวัฒนธรรมของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 33(1), 186-197.

ลิลลี่ ศิริพร, มกราพันธ์ จูฑะรสก, ศุกร์ใจ เจริญสุข, เฟื่องฟ้า นรพัลลภ, และ นิชดา สารถวัลย์แพศย์. (2557). รูปแบบการจัดการศึกษาแบบบูรณาการกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ในสังคมพหุวัฒนธรรม สถาบันพระบรมราชชนก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(1), 39-54.

ศักดิ์ขรินทร์ นรสาร และ วิไลวรรณ วัฒนานนท์. (2560). พยาบาลผู้จัดการรายกรณี: บทบาทการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพาในชุมชน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 40(2), 138-145.

ส่งศรี กิตติรักษ์ตระกูล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายจิตบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ของวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก. วารสารกองการพยาบาล, 38(1), 16-30.

สมควร หาญพัฒนชัยกูร, มกราพันธ์ จูฑะรสก, และ ลิลลี่ ศิริพร. (2557). การพัฒนาชุมชนสุขภาวะโดยใช้นวัตกรรมระบบครอบครัวเสมือน(หนึ่งวิทยาลัย หนึ่งชุมชน). วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 24(1), 67-79.

เสาวนีย์ ไกรอ่อน และ สาริณี วอนเก่าน้อย. (2558). การพัฒนาระบบเครือข่ายเพื่อดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงจากโรงพยาบาลสู่ชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครรราชสีมา, 21(1), 41-53.

Nicholson, K., Randhawa, J., & Steele, M. (2015). Establishing the South Western Academic Health Network (SWAHN): A survey exploring the needs of academic and community networks in South Western Ontario. Journal of Community Health, 40(5), 927-939. https://doi.org/10.1007/s10900-015-0015-3

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2017). Nursing research: Generating and assessing evidence for nursing practice (10th ed). Wolters Kluwer.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-04