การพัฒนาแนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจของห้องตรวจศัลยกรรม กลุ่มงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • วัชรีย์ ไกรสิงห์เดชา โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

คำสำคัญ:

แนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วย, ผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจ, ห้องตรวจศัลยกรรมผู้ปุวยนอก

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนาแนวทางการเฝูาระวังผู้ปุวย อาการทรุดระหว่างรอตรวจของห้องตรวจศัลยกรรม กลุ่มงานผู้ปุวยนอก โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ พยาบาลเทคนิคและผู้ช่วยเหลือคนไข้ จำนวน 15 คน และผู้ป่วยที่มารับการรักษา ที่ห้องตรวจศัลยกรรม โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2563 จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจของห้องตรวจศัลยกรรม แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่ได้รับการเฝ้าระวังผู้ป่วยทรุดลงระหว่างรอตรวจ แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการ เฝ้าระวัง ฯ ของพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อแนวทางการเฝูาระวัง ฯ วิเคราะห์ข้อมูล เชิงปริมาณโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการเฝูาระวังผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจของห้อง ตรวจศัลยกรรม ประกอบด้วย 1) การค้นหาโดยเร็ว 2) การติดตามต่อเนื่อง และ 3) การเฝ้าระวังดูแลตามสภาวะของผู้ป่วย และผลการใช้แนวทางการเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการทรุดลงฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยของระยะเวลารอคอยการตรวจน้อยลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) เจ้าหน้าที่สามารถใช้แนวทางการเฝ้าระวัง ฯ ร้อยละ 97.78 และมีความพึงพอใจต่อการใช้แนวทางการเฝูาระวัง ฯ ในระดับมาก

References

ทองทิพภา วิริยะพันธ์. (2551). การบริหารทีมงานและการแก้ปัญหา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก.

นันธิดา พันธุศาสตร์ และ ราตรี ทองยู. (2560). แนวปฏิบัติการพยาบาลตามมาตรฐานความปลอดภัย. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 10(2), 1-13.

ปนิฏฐา นาคช่วย, ละมัยพร อินประสงค์, วารินทร์ ตันตระกูล, ปดิวรัดา ทองใบ, และพิไลวรรณ จันต๊ะนุ. (2560). MEWS: Adult Pre-Arrest Sign กับบทบาทพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 10(3), 186-190.

วงเดือน ฦาชา, สุชัญญา เบญจวัฒนานนท์, กาญจนา เปสี และพนิตนาฏ รักษ์มณี. (2554). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารกองการพยาบาล, 38(1): 31-41.

วิสาร์กร มดทอง, พรรณนิภา รักพาณิชย์ และอุรชา อำไพพิศ. (2557). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ปุวยให้ปลอดภัย ห้องตรวจอายุรกรรมงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(6), 1043- 1050.

เวชสารสนเทศ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2560). รายงานสถิติจำนวนผู้ป่วยประจำปี 2560. พิษณุโลก: โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

เวชสารสนเทศ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2561). รายงานสถิติจำนวนผู้ป่วยประจำปี 2561. พิษณุโลก: โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

เวชสารสนเทศ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2562). รายงานสถิติจำนวนผู้ป่วยประจำปี 2562. พิษณุโลก: โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก.

ศูนย์คุณภาพ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก. (2562). สถิติผู้เสียชีวิต 2561-2562. พิษณุโลก: โรงพยาบาล พุทธชินราช

สัญญา ยือราน และศิวิไลซ์ วนรัตน์วิจิตร. (2561). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สู่ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงนโยบายในระบบสุขภาพ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(2), 288-300.

สำนักการพยาบาล. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The action research planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

The Royal College of Surgeons of England. (2017). Outpatient clinics: A guide to good practice. London: The Royal College of Surgeons of England.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31